Skip to main content

ปีใหม่ปวาเก่อญอ

คอลัมน์/ชุมชน

1 มกราคมของทุกปี  เป็นที่รู้กันดีว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่สากลนอกจากวันขึ้นปีใหม่สากลแล้ว ยังมีวันขึ้นปีใหม่ของแต่
ละวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป
ปีใหม่คนล้านนา หมายถึง วันสงกรานต์  ตรุษจีน หมายถึงปีใหม่ของคนจีน กินวอ
คือปีใหม่ของชาวม้ง ฯลฯ 

เห็นชัดเจนเลยว่า วันเวลานั้นจะต่างห่างกันโดยสิ้นเชิงชนเผ่าปวาเก่อญอ หรือกะเหรี่ยง ก็เป็นอีกชนเผ่าหนึ่ง ที่มีวัน
ขึ้นปีใหม่
แน่นอน ย่อมมีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์เฉพาะตน วันขึ้นปีใหม่ คนปวาเก่อญอเรียกว่าวัน "หนี่ธ่อซอ

วันหนี่ธ่อซอหรือวันขึ้นปีใหม่ของคนปวาเก่อญอนั้นจะไม่กำหนดวันที่ตามปฏิทินตายตัวว่าต้องเป็นวันที่เท่าไรเหมือน
ทั่วไปเช่น วันที่
1 มกราคมของทุกปี หรือวันที่ 13-14 เมษายนของทุกปี
         

 "หนี่ธ่อซอของปวาเก่อญอนั้น ปวาเก่อญอจะเรียกเต็ม ๆ ว่า ลาธ่อซอ หนี่ธ่อซอ ซึ่งแปลว่า เดือนใหม่ ปีใหม่ ฉะนั้น 
หนี่ธ่อซอของปวาเก่อญอ จะต้องดูที่เดือน คือ ขึ้น
1 ค่ำ ของเดือนเต่อเล ในระหว่างกลางเดือนธันวาคมจนถึงกลาง
เดือนมกราคม จะเป็นเดือนเริ่มต้นของปีของคนปวาเก่อญอ วันนั้นแหละ ถือว่าเป็นหนี่ธ่อซอที่แท้ของคนปวาเก่อญอ
"
 
พาตี่เผ่ลู แห่งบ้านโหน่เดะลอ อ.แม่แจ่ม เล่าให้ฟัง

พาตี่เผ่ลูยังได้อธิบายถึงการนับเดือนของปวาเก่อญอว่ามีทั้งหมด 12 เดือนเช่นกัน เริ่มจากเดือนแรกคือ 1.เต่อเล
2.ทีคู่ 3.ทีแพะ 4.ลาเซอ 5.เดะญา 6.ลานูย 7.ลาเคาะ 8.ลาคุ 9.ชิหมื่อ 10.ชิฉ่า 11.ลานอ 12.ลาปลือ

ซึ่งการนับวันที่ของคนปวาเก่อญอนั้น จะดูที่ขนาดของดวงจันทร์เป็นหลัก 

หากดวงจันทร์ขึ้นหนึ่งค่ำนั้น คนปวาเก่อญอมีความเชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดมองเห็นพระจันทร์ได้นอกจากไก่เพราะ
ไก่เป็นสัตว์ตาทิพย์
ขึ้นสองค่ำ สัตว์ที่มองเห็นคือ สุนัข 
ขึ้นสามค่ำ สัตว์ที่มองเห็นคือหมู 
ขึ้นสี่ค่ำ คนเริ่มจะมองเห็น        

สำหรับปี 2549 นี้ ปีใหม่ของคนปวาเก่อญอตรงกับวันที่ 9 มกราคม  ซึ่งตามหมู่บ้านปวาเก่อญอเกือบทุกที่จัดงาน
หนี่ธ่อซอ  ไม่เว้นแม้กระทั่งบริเวณชายแดนตามตะเข็บชายแดนไทย
– พม่า 
ที่นั่นจะมีคนปวาเก่อญออยู่อย่าง
ค่อนข้างหนาแน่น  โดยเฉพาะทางฝั่งพม่า ซึ่งมีกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู อยู่ในบริเวณนั้น  ทุกคนที่นั่นต่างมี
การจัดงานหนี่ธ่อซอทุกปี

ในช่วงที่มีการจัดงานเทศกาลหนี่ธ่อซอ ทหารเคเอ็นยูจะวางอาวุธไว้ชั่วคราว เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลหนี่ธ่อซอนี้
ทำให้กองกำลังรัฐบาลทหารพม่าได้ถือโอกาสเข้าโจมตีเกือบทุกปี ไม่เว้นแม้แต่ปีนี้ ดังที่ปรากฏเป็นข่าวทางโทรทัศน์
และหนังสือพิมพ์

ทำให้ผมหวนนึกไปถึงเมื่อครั้งได้มีโอกาสไปเข้าร่วมเทศกาลหนี่ธ่อซอเมื่อปีที่ผ่านมา ที่ชุมชนบ้านช่างเคี่ยน 
ไม่ใกล้ไม่ไกล นักจากเชิงดอยสุเทพ เชียงใหม่ ที่นั่นมีศูนย์พระคริสตธรรม ภาคภาษาปวาเก่อญอ

เป็นการรวมตัวของพี่น้องปวาเก่อญอที่อาศัยอยู่ในเขตตัวเมืองของเชียงใหม่  ทุกคนได้จัดเทศกาล หนี่ธ่อซอร่วมกัน
โดยภายในงาน มีการเชิญศิลปินปวาเก่อญอทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ มาหลายท่าน อาทิ พาตี่มงคล บรรเลงเตหน่า
 
ลีซะและครอบครัว  ทองดี ตุ๊โพ รวมทั้งตัวผมด้วย
         

จากนั้นวันที่ 20 มกราคม ผมเดินทางไปร่วมงานเทศกาลหนี่ธ่อซอ ที่บ้านแม่ขะปู อ.สะเมิง อำเภอเล็กๆ ในหุบเขา  
ปีนั้น,เยาวชนปวาเก่อญอแต่ละลุ่มน้ำเป็นเจ้าภาพจัดงาน มาจากลุ่มน้ำขาน อ.สะเมิง ลุ่มน้ำวาง อ.แม่วาง  ลุ่มน้ำแจ่ม
อ.แม่แจ่ม
  ลุ่มน้ำหินลาดใน จ.เชียงราย และเยาวชนจากแม่ฮ่องสอน 
     

กิจกรรมของงานนี้มีหลากหลาย  เริ่มจากการแสดงศิลปวัฒนธรรมของแต่ละลุ่มน้ำ อาทิ การขับขานอึธา การฟ้อนดาบ 
การบรรเลงเตหน่า การเล่านิทาน

และยังมีผู้เฒ่าผู้อาวุโสหลายท่านมาร่วมให้ข้อคิดและให้กำลังใจแก่เยาวชน เช่น พาตี่จอนิ  โอ่โดเชาผู้ที่สังคมเมือง
ให้การยอมรับและยกให้เป็นคนดีศรีสังคม ได้มาเล่าเรื่อง
"นกทรายที่เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับตัวเอง"

"ถึงแม้จะเป็นนกตัวเล็ก ๆ 
แต่ได้เพื่อนบ้านที่เป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยมารวมพลังกัน
จนได้รับความเป็นธรรมในที่สุดญาติพี่น้อง...
หากสามัคคี สร้างบันไดไปถึงสวรรค์
ญาติพี่น้องสร้างชุมชนให้แกร่ง                     
หากฟ้าล่มเราช่วยกันยก"



พาตี่จอนิ ฝากธาไว้บทหนึ่ง...ก่อนลงจากเวทีต่อจากนั้นก็มาถึงคิวผมขึ้นบรรเลงเตหน่า ให้พี่น้องร่วมชนเผ่าได้
รำลึกคืนวันเก่าเก่า
และเตรียมชีวิตวันนี้เพื่อ ก้าวสู่วันต่อไปอย่างรอบคอบ


 

…เราพี่น้องเก็บใจกองไว้รวมกัน


ช่วยกันยกเสาหลักแห่งชีวิต


เก็บรักษาพันธุ์เผือกเอาไว้ 


เก็บรักษาพันธุ์ข้าวเอาไว้


เก็บไว้จนเต็มสามสิบกระบุง


ถึงแร้นแค้นเราไม่กลัว...