Skip to main content

" พลังงานหมุนเวียน" : พลังงานเพื่ออนาคตที่ใครก็ผูกขาดได้ยาก ตอนที่ 2

คอลัมน์/ชุมชน

































































































































4 . ปัญหาของพลังงานนิวเคลียร์

 
ชาวโลกได้ชื่นชมกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อยู่ได้พักหนึ่ง เพราะมีราคาถูกและไม่ทำให้โลกร้อน แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุที่ประเทศยูเครนเมื่อปี 1986 ทำให้คนนับแสนคนต้องอพยพ ในจำนวนนี้มีนักเทนนิสสาว ( สวยมาก) ซึ่งได้แชมป์หญิงเดี่ยววิมเบอร์ดันปี 2547 นี้เอง
 

ผลกระทบยังคงตกค้างอยู่จนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ดิน รวมทั้งนมวัว

 

 

5 . ทางออกคือพลังงานหมุนเวียน

 

 

กราฟนี้แสดงแนวโน้มของต้นทุนและผลกระทบของพลังงานฟอสซิล ( รวมนิวเคลียร์) และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าในปี 2030 (26 ปีข้างหน้า) ต้นทุนของพลังงานฟอสซิลจะสูงกว่าพลังงานหมุนเวียน

 

ลองมาพิจารณาต้นทุนผลกระทบ (external cost) ของพลังงานชนิดต่าง ๆ จากกราฟครับ

 



ที่มา : World Energy Assessment: Overview2001 Update หมายเหตุ : PV หมายถึง โซลาร์เซล หรือ เซลแสงอาทิตย์ (Photovoltaic)

 

จากกราฟเราจะเห็นว่าต้นทุนผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหินสูงมากคือ 2 ถึง 15 เซนต์ยูโรต่อหน่วย ( 100 เซนต์ยูโรประมาณ 50 บาท) ซึ่งเท่า ๆ กับราคาค่ากระแสไฟฟ้าในประเทศเยอรมนีเลยทีเดียว มิน่าล่ะ ชาวแม่เมาะจึงเดือดร้อน และชาวบ่อนอก บ้านกรูดจึงคัดค้านแบบสุด ๆ

 

ข้างล่างนี้เป็นต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าในปี 2545 ( ปัจจุบันราคาถูกกว่านี้)

 

เป็นที่น่าแปลกใจนะครับว่า ต้นทุนจากกังหันลมชายฝั่ง (onshore wind) มีราคาใกล้เคียงกับต้นทุนจากก๊าซธรรมชาติเลยทีเดียว

 

สำหรับต้นทุนจากโซล่าร์เซล (PV) ยังคงสูงมาก แต่รัฐบาลมีวิธีการชดเชยซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป สำหรับที่มาของกราฟนี้จำไม่ได้ครับ แต่ยืนยันว่าไม่ใช่เอกสารปลอมแน่นอน

 

สังเกตอีกนิดครับว่า ต้นทุนจากลมชายฝั่งถูกกว่าต้นทุนจากถ่านหินเสียอีก

 

 

บทความนี้มีกราฟมากสักหน่อยครับ เพราะต้องการแสดงหลักฐานประกอบ กราฟข้างล่างเป็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วลมกับพลังงานไฟฟ้าที่จะได้จากกังหันลมขนาด 0.6 เมกะวัตต์ 1 ตัวในประเทศเดนมาร์ก ที่ความเร็วลม 7.5 เมตรต่อวินาที ( ซึ่งความเร็วเฉลี่ยทั้งปีในจังหวัดสงขลาก็ประมาณเท่านี้- จะแสดงเพิ่มเติมในภายหลัง)

 

กังหันลมขนาด 0.6 เมกะวัตต์สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1.75 ล้านหน่วย* ถ้าคิดเป็นค่าไฟฟ้าในประเทศไทยประมาณ 4.375 ล้านบาทหรือเพียงพอสำหรับคนไทย 1,200 คนใช้ได้ทั้งปี

 

 

กราฟต่อไปเป็นพัฒนาการของกังหันลมจากปี 1987 จนถึงปัจจุบันและอนาคตซึ่งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ โปรดสังเกตว่า พลังงานลมขึ้นกับความเร็วลมยกกำลังสาม ยิ่งเสาสูงความเร็วลมยิ่งมาก

 

 

6 . เศรษฐศาสตร์ของพลังงานลม

 

พลังงานลม ( และแสงอาทิตย์) เป็นเศรษฐกิจที่มีการกระจาย ไม่มีการผูกขาด สามารถลงทุนได้ในชุมชน สามารถสร้างงาน ( ในเยอรมนี ประมาณ 1.3 แสนคนในวงการพลังงานลม)

 

มีนักวิชาการบางคนกล่าวว่า " เราไม่อาจลดปัญหาความยากจนลงได้ ตราบเท่าที่เรายังไม่ใช้พลังงานหมุนเวียน" ภาพข้างล่างนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการค้นคว้าเพิ่มเติม

 

 

 

นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเมื่อได้เห็นว่า "FIRR (Financial Interest Rate of Return)" เท่ากับ 29% แล้วรู้สึกตาลุกวาวด้วยความตื่นเต้น ในตารางดังกล่าวบอกว่าจะได้ทุนคืนในเวลา 5-6 ปี แต่ที่ผมถามจากสมาคมลมในเยอรมนี เขาบอกว่า "8 ปี" รวมทั้งค่าดอกเบี้ยด้วย

 

ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง ค่าดำเนินการ ค่าบำรุงรักษาและค่าประกันภัยรวมแล้วเพียง ปีละ 1.5% ของต้นทุนเริ่มต้นเท่านั้น

 

ภาพข้างล่างนี้ เป็นข้อมูลจากอินเดีย (Rs หมายถึงรูปี) เราพบว่าชุดกังหันลมขนาด 15 เมกะวัตต์ ( หลายตัว) ราคาเพียง 14.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

นั่นคือ ต้นทุนพอ ๆ กับโรงไฟฟ้าฟอสซิล ที่ต่างกันคือไฟฟ้าจากกังหันลม ไม่ต้องเสียค่าเชื้อเพลิง ค่าบำรุงรักษาต่ำ แต่โรงไฟฟ้าฟอสซิล กลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม

 
...............................................................................................................................
* คนไทยทั้งประเทศใช้ไฟฟ้าประมาณ 1.16 แสนล้านหน่วย