Skip to main content

" พลังงานหมุนเวียน" : พลังงานเพื่ออนาคตที่ใครก็ผูกขาดได้ยาก ตอนที่ 3

คอลัมน์/ชุมชน







































































































































7 . มาตรการทางการเมืองและการอุดหนุน

 

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2547 ได้มีการประชุมระดับโลก (Renewable Energies 2004) มีทั้งผู้แทนรัฐบาล นักวิชาการ นักการธนาคาร นักธุรกิจ เอ็นจีโอ และสื่อต่าง ๆ ทั้งหมดประมาณ 3,600 คน จาก 154 ประเทศ

 

ในการนี้ผู้แทนของหลายประเทศได้ประกาศเจตนารมณ์ว่า จะผลักดันให้ประเทศของตนมีนโยบายและสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน หลายประเทศในยุโรปประกาศว่า " จะใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ไม่น้อยกว่า 20% ของไฟฟ้าทั้งหมดภายในปี 2020"

 

เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมา ประเทศตุรกี ( ซึ่งได้เหรียญทองยกน้ำหนักในกีฬาโอลิมปิก- ขณะที่ผมเขียนบทความนี้) ก็ได้นำเสนอกฎหมายเข้าสู่สภา โดยบอกว่าจะมีการสนับสนุนแบบ Feed-in พลังงานหมุนเวียนจำนวน 4,000 ถึง 5,000 เมกะวัตต์ภายใน 5 ปี ( ดูภาพข้างล่าง)

 

ได้ฟังข่าวแบบนี้แล้วรู้สึกว่า " โลกนี้ยังมีสิ่งที่สวยงาม" อีกมาก

 

 

สำหรับการสนับสนุนด้านราคาโดยมีการทำสัญญาตกลงราคาไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่การชดเชย แต่เป็นการบังคับว่าบริษัทกิจการไฟฟ้าต้องรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากกังหันลมทั้งหมด

 

 

โดยสรุป มี 2 ประเด็นครับ
ผมได้สรุปใส่แผนภาพข้างล่างนี้ครับ เขาเรียกกฎหมายนี้ว่า Electricity Feed In Law

 

ประเด็นสำคัญมีอยู่ว่า

 

(1) ในช่วงแรก บริษัทต้องซื้อในราคาที่แพงกว่าในช่วงหลัง ทั้งนี้เพราะต้องการให้ได้ทุนบางส่วนคืนมาไวไว


(2) พื้นที่ใดที่ลมแรง ชื้อในราคาที่แพงน้อยหน่อย ที่ใดที่ลมไม่แรงนักต้องรับซื้อในราคาที่แพงขึ้นหน่อย

 

ฟังดูแล้วน่ารักเป็นบ้าเลย อย่างนี้มั๊งที่เขาเรียกว่า " เอื้ออาทร"

 

ภาพถัดมาเป็นการเพิ่มและมูลค่าตลาดของเซลแสงอาทิตย์ (PV)

 

 

ที่น่ารักกว่านี้ก็คือว่า ในประเทศเยอรมนี ทางบริษัทการไฟฟ้าจะรับซื้อไฟฟ้าจาก PV ในราคาตั้งแต่ 43 ถึง 57 เซนต์ยูโรต่อหน่วย ทั้ง ๆ ที่ราคาไฟฟ้าที่ขายให้กับผู้ใช้มีราคาเพียงประมาณ 17 เซนต์เท่านั้น

 

บริษัท Shell International พยากรณ์ว่า ในปี 2060 ตลาดของพลังงานหมุนเวียนจะเพิ่มเป็น 60 % ของพลังงานทั้งหมด ในขณะที่ธนาคารโลกคาดว่าในอีก 30 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดพลังงานแสงอาทิตย์จะประมาณ 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

8 . ปัญหาในประเทศไทย

 

ในแผนพีดีพี 2004 ได้ยึดเป็นหลักการว่า ผู้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ( ซึ่งมักจะเป็นพลังงานฟอสซิล ) ผู้นั้นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนด้วยไม่น้อยกว่า 5% ของที่ได้รับประมูลไป ( เขาเรียกว่า RPS )

 

9 . ลมในประเทศไทยใช้ทำไฟฟ้าได้ไหม?

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย แต่มีใช้กันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

จากการที่ผมได้ศึกษาจากเอกสาร ( เว็บไซต์) กลุ่มประเทศในยุโรปวิจารณ์ว่า เป็นวิธีการที่ยุ่งยาก และในที่สุด ผู้ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ก็อาจจะต้องไป " ง้อ" พวกฟอสซิลในที่สุด และอาจจะได้เห็น การ " ชูสองนิ้ว" เหมือนกับกรณีกระทรวงสาธารณะสุขที่ผ่านมา

 

อนึ่ง มีสิ่งที่น่าคิดในเชิงตัวเลขเล็กน้อยคือ แผนพีดีพี 2004 ต้องการที่จะให้มีโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ไม่น้อยกว่า 5% ในปี 2554 คำถามก็คือว่าจะเป็นไปได้อย่างไรในเมื่อปัจจุบันเรามีโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานฟอสซิลเกือบทั้งหมด เมื่อมีการเพิ่มพลังงานหมุนเวียนเพียง 5% ของส่วนที่จะสร้างขึ้นใหม่ แล้วจะทำให้ทั้งหมดรวมกันแล้วมีพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่า 5% ได้อย่างไร?

 

ในปี 2545 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ศึกษาศักยภาพของพลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้า ผลการศึกษาพบว่าทางภาคใต้ของประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำได้ถึงกว่า 1,600 เมกะวัตต์

 

กระทรวงพลังงานเองได้เตรียมตั้งงบประมาณไว้ถึง 1 หมื่นล้านบาทเพื่อ " ส่งเสริม วิจัยและพัฒนา" พลังงานหมุนเวียน โดยได้นำเสนอเป็นเอกสารต่อคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมวุฒิสภา แต่อยู่ ๆ เรื่องนี้ก็เงียบหายไปเฉย ๆ เหลืออยู่แต่เพียงผลการศึกษาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงพลังงาน ซึ่งผมขอนำบางส่วนมาแสดงเป็นหลักฐานไว้ในที่นี้ด้วย (http://203.150.24.8/dede/renew/wind_p.htm)

 

ในภาพเป็นแผนที่ความเร็วลมเฉลี่ยทั้งปี ในจังหวัดสงขลา ที่ระดับความสูง 50 เมตรจากผิวดิน พบว่ามีความเร็วประมาณ 7.5 ถึง 8 เมตรต่อวินาทีซึ่งสามารถทำไฟฟ้าได้อย่างดี

 

แต่ทำไมการจัดทำแผนพีดีพีจึงไม่คิดถึงเรื่องกังหันลมอีกเลย และเมื่อผมเข้าในดูในเว็บไซต์ของ กฟผ . พบว่ามีการพูดถึง " พลังงานทดแทน" แต่ไม่มีการพูดถึงกังหันลมเลย

 

ทำไมกระทรวงพลังงานซึ่งมีรัฐมนตรีและข้าราชระดับสูงอีก 2 ท่านนั่งอยู่ในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( กพช.) จึงไม่ผลักดันแนวคิดและผลการศึกษาของตนออกมาให้เป็นนโยบาย หรือว่ามีอะไรมาบังตา บังใจ จึงมุ่งมั่นแต่โรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดเดิม

 

 

องค์กรที่สนใจเรื่องพลังงานและผู้บริโภคไฟฟ้า จะช่วยกันทำอย่างไรเพื่อให้คนไทยไม่ตกกระแส " พลังงานหมุนเวียน : พลังงานเพื่ออนาคต" ของทั้งคนและสรรพสิ่งทั้งหมดในโลกนี้

 

10. สรุป

 

มีผู้กล่าวว่า " แม้ว่าโลกเราดูบอบบางและอ่อนแอ จนถูกมนุษย์ทำลายลงไปให้เสียสมดุลมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จริง แต่ในอนาคตโลกใบนี้ก็จะแข็งแรงพอที่จะทำลายล้างมนุษย์ได้ และมันได้เริ่มต้นให้เราเห็นแล้วทั่วโลก"

 

 

พลังงานฟอสซิล นอกจากจะง่ายที่ใครจะผูกขาดได้แล้ว ยังง่ายที่ใครจะล้างสมองได้ด้วย