Skip to main content

แนวโน้มปัญหาพลังงานของไทยในอีก ๔ ปีข้างหน้า ตอน ๑

คอลัมน์/ชุมชน

















































๑. คำนำ

 
จากการติดตาม "ปัญหาพลังงาน" มาเพียง ๖-๗ ปี ผมคิดว่ามีอยู่ ๓ ประเด็นหลัก ๆ ที่จะขอร่วมแลกเปลี่ยนในที่นี้คือ (๑) ความเข้าใจของสังคมไทยเรื่อง "พลังงาน" ทั้งภาครัฐและภาคประชาชนยังมีความลึกซึ้งไม่เพียงพอ (๒) ปัญหาที่เกิดจากการดำเนินการของรัฐที่ "ดูดี" ในระดับยุทธศาสตร์ แต่ "แย่มาก" ในระดับการจัดทำแผนพัฒนาและการดำเนินโครงการ และ (๓) ปัญหาการ "เคลื่อนไหว" ของภาคประชาชนที่ดูออกจะ "เบลอๆ" ไม่ชัดเจนและไม่เข็มแข็งเพียงพอเมื่อเทียบกับการเคลื่อนไหว "ปัญหาสุขภาพ" และ "เกษตรทางเลือก"
 

๒. ความเข้าใจเรื่องพลังงานและกระบวนการนโยบายพลังงาน

 


ในปี ๒๕๔๕ คนไทยทั้งประเทศได้จ่ายเงินไปกับพลังงานมากถึง ๑๔.๓% ของรายได้ประชาชาติ www.bot.or.th/BOT homepage/databank/EconData/Thai_Key/Thai_Key.asp มีการคาดกันว่าในปี ๒๕๔๗ ตัวเลขนี้น่าจะเพิ่มเป็น ๑๕% โดยมีมูลค่าประมาณ ๑ ล้านล้านบาทด้วยขนาดธุรกิจขนาดนี้ได้ทำกำไรให้กับเฉพาะบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างเดียวประมาณ ๑ แสนล้านบาท ผมประมาณการคร่าวๆจากข้อมูลในบทความ


กล่าวเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเมื่อคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้แล้วอาจจะเพิ่มขึ้นสูงถึง ๓๐-๕๐% ดังนั้น "ปัญหาพลังงาน" จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ทั้งต่อผู้บริโภคที่มีรายได้น้อย (ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก) และต่อผู้เป็นเจ้าของธุรกิจพลังงาน (ซึ่งมีจำนวนน้อย)

การผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านพลังงานของรัฐจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายมากต่อการทำงานของภาคประชาชน นั่นคือเราต้องมีความเข้าใจ "ปัญหาพลังงาน" ให้เป็นระบบและรอบด้าน

"พลังงาน" ไม่ใช่คำที่มีความหมายเพียงแค่จบอยู่ในตัวเองตามที่เข้าใจกันทั่วไปเท่านั้น แต่มันคือ "เส้นทาง" หรือ "สื่อ" ที่นำไปสู่การตอบสนอง "ความจำเป็น" ของมนุษย์ทั้งรายบุคคลและชุมชน


"ปัญหาพลังงาน" มีความเกี่ยวพันอย่างแนบแน่นกับ ๗ ปัญหาสำคัญของมนุษย์ คือ


๑. ปัญหาประชาธิปไตย การกระจายอำนาจ กระจายรายได้ การคอรัปชั่น ถ้าเราเน้นเชื้อเพลิงที่มาจาก "ฟอสซิล" (ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน) รวมทั้งนิวเคลียร์ อำนาจในการจัดการก็จะตกอยู่กับกลุ่มนายทุนที่ผูกขาด เพราะแหล่งเชื้อเพลิงเหล่านี้มีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติคือใช้ทุนสูงและรวมศูนย์ แต่ถ้าเราขยับมาที่ "พลังงานหมุนเวียน" (ได้แก่ ลม แสงแดด ชีวมวล พลังน้ำขนาดเล็ก) อำนาจในการจัดการก็ต้องถูกกระจายออกโดยธรรมชาติ รายได้ก็จะกระจายไปสู่ชุมชน อบต. รวมทั้งรายบุคคล การคอรัปชั่นก็อาจจะทำได้ยากขึ้น


๒. ปัญหาความยากจน ถ้าอำนาจในการจัดการกับรายได้จำนวนถึง ๓๐-๕๐% ของคนจน ไม่ได้อยู่ในกำมือของพวกเขา (ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) การแก้ปัญหาคนจนจะเป็นไปได้อย่างไร

 

๓. ปัญหาการว่างงาน เฉพาะกิจการกังหันลมในประเทศเยอรมันนีเพียงอย่างเดียวสามารถสร้างงานได้ ๑.๔ แสนคน ในขณะที่โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียซึ่งเป็นโรงแยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเซีย จะมีคนทำงานเพียง ๑๕๐ คนเท่านั้น ถ้าเราคิดถึงว่ามีโรงไฟฟ้าที่ทำจากไม้ หรือการทำจากก๊าซโซฮอลจากพืช การกระจายงานจะแพร่ขยายออกไปสักแค่ไหน


๔. ปัญหาสิทธิหญิง-ชาย และความอบอุ่นในครอบครัว ในประเทศที่ยากจนมาก ๆ ผู้หญิงต้องถูกบังคับด้วยโซ่ตรวนทางวัฒนธรรมให้ใช้เวลาในการหาฟืนวันละ ๔-๕ ชั่วโมง แล้วใครจะดูแลลูกๆ

 


๕. ปัญหามลพิษ ปัญหาโลกร้อน ในช่วง ๒๐๐ ปีมานี้(๑๗๕๐ ถึง ๑๙๗๒) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (ซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้น) ได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ ๐.๐๖% แต่ในช่วง ๑๐ ปีสุดท้ายกลับเพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ ๐.๔% หรือเพิ่มขึ้น ๗ เท่าตัว

 

ปัจจุบัน (ไม่นับกรณีสึนามิวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗) จำนวนคนที่เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติมีสูงถึง ๔ เท่าของภัยจากสงครามและการจราจร จากหนังสือ เงินตราแห่งอนาคต สำนักพิมพ์สวนเงินมีนา ๒๕๔๗ ถ้าชาวโลกไม่ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซ ทางบริษัท ซี

 

จีเอ็นยู ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดของอังกฤษ ได้คาดว่า ในปี ค.ศ.๒๐๖๕ ค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดจากธรรมชาติจะสูงกว่าการผลิตสินค้าของโลก

ทั้ง ๆ ที่เรื่องนี้สังคมไทยมีแนวโน้มจะเข้าใจและเห็นแจ้งเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ผู้ประกอบการพลังงานฟอสซิลก็ยังพยายามหลอกสังคมว่าเป็น "พลังงานสะอาด" สำหรับรัฐบาลไทยเอง เมื่อได้ทำโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ในเขตห่างไกลก็อ้างเหตุผลแต่เพียงว่า "ให้คนมีไฟฟ้าใช้และลดต้นทุนค่าสายส่ง" แต่ก็พยายามจะไม่พูดถึง "ปัญหาโลกร้อน" ที่เป็นฆาตกรร่วมตัวฉกาจของคนทั้งโลก


 

๗. ปัญหาความเชื่อ คนส่วนมากถูกทำให้เชื่อว่า เรื่องพลังงาน เป็นเรื่องของ "นักเทคนิค" ของวิศวกรเท่านั้น คนธรรมดาอย่ามายุ่ง จนกลาย "เป็นวาทะแห่งปี" ที่หลุดออกมาจากปากของท่านนายกฯ ทักษิณเมื่อปี ๒๕๔๕ ว่า "คนรู้น้อยอย่าพูดมาก"


ทัศนะของผู้ที่มีอำนาจมักจะเป็นเช่นนี้เสมอ การทำงานของภาคประชาชน (ที่จะกล่าวถึงในตอนสุดท้าย) จะต้องพยายามฝ่า "ม่านหมอก" ที่เป็นศัตรูแห่งการเรียนรู้นี้ออกไปให้ได้ ทุกคนที่พอรู้ร้อนรู้หนาวก็สามารถเข้าใจเรื่องพลังงานได้ ไม่ยากอย่างที่เขาหลอกเรา