Skip to main content

หลักคิดและวิธีการคิด ส.ส.บัญชีรายชื่อใหม่ : ทิศทางหนึ่งปฏิรูปการเมือง

คอลัมน์/ชุมชน

คำนำ


 


แม้ว่าการเลือกตั้งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  แต่ในกระบวนการเลือกตั้งเองก็มีความสำคัญต่อระบอบประชาธิปไตยไม่น้อย ที่เราจำเป็นต้องช่วยกันปรับปรุงหรือช่วยกันปฏิรูปให้ดีขึ้น


 


รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดให้มี ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อจำนวน ๑๐๐ คน วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้พรรคการเมืองเข้มแข็งและเป็นปึกแผ่น แต่ถ้าอ่านจากกระแสสังคมในตอนนั้นก็คงจะเพื่อไม่ให้มีพรรคการเมืองมากเกินไปเหมือนในอดีตด้วย


 


วิธีการคิดคะแนนในกลุ่ม ส.ส. บัญชีรายชื่อที่กำหนดว่า พรรคใดที่ได้เสียงไม่ถึง ๕% ของผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมดจะไม่ได้ ส.ส.ในกลุ่มนี้เลย  จากนั้นก็นำคะแนนของพรรคที่ได้เกิน ๕% ขึ้นไปมาจัดสรรที่นั่งกันตามสัดส่วนของคะแนนที่ได้รับ


 


ปัญหาของวิธีการเดิม


 


ผมเห็นว่าวิธีการคิดคะแนนดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดปัญหา ๒ ประการ คือ


 


หนึ่ง เป็นการละเมิดสิทธิ์ของเสียงส่วนน้อยอย่างสิ้นเชิง  ระบอบประชาธิปไตยแม้จะปฏิบัติตามมติของเสียงส่วนใหญ่ แต่ต้องเคารพต่อเสียงส่วนน้อยด้วย เพื่อให้โอกาสเสียงส่วนน้อยได้พูด


 


สอง เป็นหลักการที่ขัดแย้งกับหลักการในกลุ่ม ส.ส. เขต ที่กำหนดว่า พื้นที่ใดที่มีประชากรจำนวน ๑ แสน ๕ หมื่นคน(โดยประมาณ) จะมีผู้แทนได้หนึ่งคน เราเรียกว่า ส.ส. เขตพื้นที่


 


คำถามก็คือว่า ทำไมเราไม่อนุญาตให้คนที่มีความคิดคล้ายๆกันในขอบเขตทั่วประเทศไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ใดของประเทศจำนวน ๑ แสนห้า ๕ คนสามารถมีผู้แทนของตนเองได้สัก ๑ คนด้วยเล่า


 


ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารสามารถแพร่หลายได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางเช่นปัจจุบันนี้ เป็นเรื่องไม่ยากเลยที่กลุ่มคนที่มีความคิดหรืออุดมการณ์ที่คล้ายๆกันจะสื่อสารถึงกัน รวมตัวกัน หรือเรียกร้องสิทธิของตนเอง


 


แล้วทำไม เราจึงไม่ให้สิทธิกับพวกเขาเหมือนกับกลุ่ม ส.ส. เขตด้วยเล่า


 


ที่กล่าวมาแล้ว ผมเข้าใจว่าเป็นหลักการที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตยที่เราจะต้องยึดถือ ต่อไปนี้ผมจะนำเสนอวิธีการคิดคะแนนใหม่ เป็นวิธีการที่ง่าย ไม่ซับซ้อนเลย


 


และรับรองว่า ความเป็นปึกแผ่นของพรรคการเมืองยังคงอยู่ โดยที่พรรคใหญ่ยังคงได้จำนวน ส.ส. ลดลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ในแง่จำนวน ส.ส. ยังคงเป็นพรรคที่มีเสียงข้างมากอยู่ ที่สำคัญเราได้เปิดโอกาสให้พรรคเล็กที่ได้เสียงเกิน ๑ แสน ๕ หมื่นคนขึ้นไปได้มีที่ยืนในสภาผู้แทน ได้มีโอกาสแสดงอุดมการณ์ทางการเมืองของตนเอง แต่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ที่ดีหรือไม่ ประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินเอง อย่าลืมว่าในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติอุดมการณ์ดีๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประชาธิปไตย หรือเรื่องแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกย่อมเกิดมาจากคนกลุ่มเล็กๆ ก่อน แล้วค่อยขยายออกไปทั้งสิ้น


           


เปรียบเทียบวิธีการเก่าและใหม่


 


ก่อนที่จะเสนอวิธีการคิดคะแนนของผม ผมขอนำเสนอเปรียบเทียบผลการเลือกตั้งก่อนว่า ถ้าคิดแบบเดิมกับคิดแบบใหม่ แล้วจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคจะแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน  ผมขอใช้คะแนนจริงๆจากการเลือกตั้งปี  ๒๕๔๘  มาเปรียบเทียบ ดังตาราง


 



























































พรรค


คะแนนที่ได้(ล้าน)


เปอร์เซ็นต์


จำนวน ส.ส.แบบเดิม


จำนวน ส.ส.แบบใหม่


ไทยรักไทย


๑๘.๙๙๓


๖๑.๑๗


๖๗


๖๒


ประชาธิปัตย์


๗.๒๑๑


๒๓.๒๒


๒๖


๒๔


ชาติไทย


๒.๐๖๒


๖.๖๓




มหาชน


๑.๓๕๗


๔.๓๓




พลังเกษตรกร


๐.๒๙๙


๐.๙๖




คนขอปลดหนี้


๐.๒๙๔


๐.๙๔




แรงงาน


๐.๑๖๒


๐.๑๖




รวม


๓๐.๓๗๘


๙๗.๔


๑๐๐


๑๐๐


 


 


หมายเหตุ  พรรคเล็กๆ อีก ๑๒ พรรคซึ่งไม่ได้เอ่ยถึงในที่นี้ ไม่ว่าคิดคะแนนแบบเก่าหรือแบบใหม่ก็ยังคงไม่มี ส.ส. ในสภา ในจำนวนนี้ พรรคชาติประชาธิปไตย ได้คะแนนเกิน ๑ แสนเพียงเล็กน้อยก็ไม่มีที่นั้งในสภา


 


จากตารางเราจะเห็นว่า พรรคไทยรักไทย ได้ ส.ส.ลดลงจาก ๖๗ คนเหลือ ๖๒ คน  เมื่อรวมจำนวน ส.ส. ทั้งสองระบบ พรรคไทยรักไทยจะมีจำนวน ส.ส. ลดลงจาก ๓๗๗ คนลงเหลือ ๓๗๒ คน


 


คำถามก็คือว่า ด้วยจำนวน ส.ส. ที่เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยนี้จะทำให้พรรคไทยรักไทยสูญเสียอะไรไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเอกลักษณ์ การแพ้-ชนะกันด้วยมือในสภา โอกาสในการได้อภิปราย เพราะภายใต้ระบบพรรคทำให้ทั้ง ๓๗๗ คนก็มีสถานะคล้ายกับคนๆเดียว            คำตอบคือไม่มี


 


แต่ข้อดีก็คือ เราได้ให้พรรคเล็กจำนวนถึง ๔ พรรคมีโอกาสแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางการเมืองของตน  แม้จะมีจำนวน ส.ส. เพียง ๗ คนก็ตาม  


 


วิธีการใหม่ คืออย่างไร


 


วิธีการนี้ก็คล้ายกับวิธีการแบบเก่า ต่างกันตรงที่แบบเก่าได้ตัดพรรคที่ได้คะแนนต่ำกว่า ๕% ทิ้ง แล้วนำพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ๕% มาเฉลี่ยกันตามสัดส่วนที่แต่ละพรรคได้ ทำให้แต่ละพรรคที่ได้คะแนนประมาณเกือบ ๓ แสนคน สามารถมีที่นั่งได้ ๑ ที่


 


แต่วิธีการแบบใหม่นี้ ให้ตัดพรรคที่ได้คะแนนไม่ถึง ๑ แสน ๕ หมื่นเสียงทิ้ง แล้วนำคะแนนของพรรคที่ได้มากกว่าหรือเท่ากับ ๑ แสน ๕ หมื่นเสียงมาเฉลี่ยตามสัดส่วน  ส่งผลให้แต่ละพรรคที่มีคะแนนประมาณ ๓ แสน ๔ หมื่นคน สามารถมีที่นั่งเพิ่มขึ้น ๑ ที่นั่ง


 



ถ้าเขียนเป็นสมการคณิตศาสตร์จะได้ว่า  จำนวน ส.ส. ของพรรคใด จะเป็นไปตามสมการนี้ คือ


 


                           


                           

 


เมื่อ  Ni   คือ  จำนวนที่นั่งที่พรรค i จะได้รับ   Si  คือ คะแนนเสียงที่พรรค i ได้รับ(นับเป็นล้านคน)  และ  SSi   คือคะแนนรวมของทุกพรรคที่ได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ ๑ แสน ๕ หมื่นคน  (หมายเหตุ โดยวิธีนี้ จำนวนที่นั่งที่เป็นจำนวนทศนิยมให้ปัดทิ้ง  เช่น  Ni = 10.75 ให้ถือว่า Ni = 10 เป็นต้น)


 


สรุป


           


ผมเชื่อว่าวิธีการที่ผมได้นำเสนอมานี้ สามารถบรรลุหลักคิดที่ว่า พรรคใหญ่รวมทั้งพรรคขนาดกลางก็ไม่ได้สูญอะไรมาก (ดังตัวเลขในตารางที่แสดงแล้ว)  ในขณะเดียวกันพรรคเล็กๆ ก็สามารถมีที่ยืนในสภาเพื่อแสดงออกในอุดมการณ์ของตนเองได้ และถ้าเป็นอุดมการณ์ที่ดีก็สามารถขยายผลในการเลือกตั้งครั้งต่อๆไปได้


 


ปัญหามีอยู่ว่า หลักคิดนี้เป็นหลักคิดที่ถูกต้องตามหลักการในระบอบประชาธิปไตยหรือไม่   ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่าถูกต้อง กรุณาสนับสนุนและเผยแพร่ออกสู่วงกว้างด้วยครับ ทั้งนี้เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยของเราสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  นี่คือการเมืองส่วนหนึ่งที่จะต้องปฏิรูป