Skip to main content

การเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ : บทบาทที่ห้าของมหาวิทยาลัย

คอลัมน์/ชุมชน


ถ้าจะปรุงอาหารต้มยำสักหม้อ


เราต้องใช้ ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด พริกขี้หนู มะนาว


เป็นเครื่องเทศที่ขาดไม่ได้


ถ้าจะนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว เราต้องใช้อะไรบ้าง ?


. คำนำ


ชาวมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เป็นบุคลากรประจำเกือบทุกคน คงจะท่องจำหน้าที่และบทบาทหลักของมหาวิทยาลัยและของตนเองได้จนขึ้นใจว่ามีอยู่ ๔ ประการคือ ( ๑) สอน ( ๒) วิจัย ( ๓) บริการวิชาการ และ ( ๔) บำรุงศิลปวัฒนธรรม


แต่ในช่วงสิบกว่าปีมานี้ ได้มีนักวิชาการที่เป็นที่รู้จักของคนในวงการทั่วโลกคือ ปีเตอร์ เซนเก้ (Peter Senge)ด้เสนอว่า มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทที่ห้าซึ่งสำคัญมากไม่แพ้กันคือ การนำองค์กรไปสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organisation) ซึ่งคำว่าองค์กรย่อมหมายรวมถึงบริษัทภาคธุรกิจ ส่วนราชการและสถาบันการศึกษาทั้งมวลด้วย บทบาทที่ห้านี้จะเป็นตัวที่คอยปรับปรุงให้สี่บทบาทแรกดำเนินไปอย่างถูกทิศทาง มีคุณภาพทางวิชาการและมีประสิทธิภาพทางการบริหารด้วย


บทความสั้น ๆ นี้ จะขอบอกเล่าถึง " หลักการ ๕ ข้อ" หรือ " เครื่องเทศ ๕ อย่าง" ที่จำเป็นในการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยในปัจจุบันไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และเพื่อให้เห็นความสำคัญของเรื่องราวนี้ เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้เสนอหลักการนี้สักเล็กน้อย



. ปีเตอร์ เซนเก้ : ๑ ใน ๒๔ ผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดของโลกในกลยุทธ์เชิงธุรกิจ


ถ้าเราค้นชื่อ Peter Senge ในอินเตอร์เน็ต จะพบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับชื่อเขาประมาณ ๒. ๕ แสนรายการ นี่เป็นการสะท้อนว่าเขามีชื่อเสียงกว้างขนาดไหน


เขาจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Stanford และจบปริญญาเอกด้าน " การสร้างแบบจำลองระบบทางสังคม" จาก MIT สหรัฐอเมริกา ในปี ๒๕๓๓ เขาได้เขียนหนังสือชื่อ " วินัย ๕ ประการ" เพื่อนำองค์กรเข้าสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ จนทำให้เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก


ในปี ๒๕๔๒ เขาได้รับการคัดเลือกจากวารสาร "Journal of Business Strategy" ให้เป็น ๑ ใน ๒๔ ของผู้ที่มีอิทธิพลสูงสุดของโลกในกลยุทธ์เชิงธุรกิจ ในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเขาอายุ ๕๘ ปีเป็นอาจารย์อาวุโสในสถาบัน MIT


หลักการของเขาไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีอะไรใหม่ แต่เขาสามารถนำมารวมเข้าด้วยกันและสร้างสิ่งง่าย ๆ แต่เป็นแนวความคิดที่มีพลังมาก หลักการคือ องค์กรที่จะเป็นแห่งการเรียนรู้ได้ต้องให้คุณค่าและมีความเชื่อว่า ความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นขับเคลื่อนด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องของทั้งจากปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลในองค์กรเอง


 


. องค์กรแห่งการเรียนรู้คืออะไร


ในทัศนะของ Senge แล้ว องค์กรแห่งการเรียนรู้มีคุณสมบัติ ๔ อย่างคือ " เป็นองค์กรที่ ( ๑) ประกอบด้วยกลุ่มบุคคลที่ขยายความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะสร้าง ผลงานที่กลุ่มมีความปรารถนาอย่างแท้จริง ( ๒) เป็นที่ซึ่งรูปแบบความคิดใหม่ได้รับการเพาะเลี้ยงและปลูกฝัง ( ๓) เป็นที่ซึ่งชุดของความมุ่งหวังได้ถูกสร้างและจัดตั้งขึ้นอย่างเสรี และ ( ๔) เป็นที่ซึ่งพนักงานอยู่ใน กระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดด้วยกัน"


 


" เครื่องเทศ ๕ อย่าง" ขององค์กรแห่งการเรียนรู้


ถ้าจะปรุงอาหารต้มยำ เราต้องใช้ ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด พริกขี้หนู มะนาว เป็นเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้ ถ้าจะนำองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว ต้องใช้อะไรบ้าง ? Senge แนะนำว่าต้องใช้ " หลักการ ๕ ประการ" ซึ่งจะขอกล่าวโดยย่อดังต่อไปนี้ คือ


๑ . การคิดเป็นระบบ (Systems Thinking) ี่สิบกว่าปีมานี้ มหาวิทยาไทยได้ขยายจำนวนจำนวนนักศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้สัดส่วนของจำนวนผู้ศึกษามหาวิทยาลัยต่อผู้เรียนสายอาชีวะเป็น ๗๐ ต่อ ๓๐ แทนที่จะเป็น ๓๐ ต่อ ๗๐ ตามความจำเป็นของประเทศทั่วไป ส่งผลให้ประเทศเราขาดแรงงานฝีมือถึง ๔ แสน ๘ หมื่นคนในปัจจุบัน นี่คือตัวอย่างของ " ความคิดที่ไม่เป็นระบบ" และ เห็นแก่ได้ของชาวมหาวิทยาลัย เพื่อนคนไทยที่ทำงานในสิงคโปร์คนหนึ่ง ( ซึ่งเป็นอาจารย์) เล่าให้ผมฟังว่า " ลูกผมทำคะแนนได้ไม่ถึงระดับที่จะเรียนมหาวิทยาลัย รัฐบาลจึงจัดให้เรียนสายอาชีพแทน ผมจึงต้องอพยพไปอยู่ประเทศ อื่น"


การมุ่งภาระงานของมหาวิทยาลัยไปที่งานวิจัย ทั้ง ๆ ที่ผู้บริหารก็รู้อยู่เต็มอกว่าผลงานวิจัยเหล่านั้นมีไม่ถึง ๑ % ที่พอจะเป็นประโยชน์กับสังคมไทย บัณฑิตสายวิทยาศาสตร์บางคนยังเทียบบัญญัติไตรยางค์ไม่เป็นก็มีให้เห็น นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของการคิดที่ไม่เป็นระบบของชาวมหาวิทยาลัย


. เป็นผู้ใฝ่รู้และควบคุมตนเองของบุคคล (Personal Mastery) ถ้าปราศจากบุคคลที่เป็นผู้ใฝ่รู้องค์กรแห่งการเรียนก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ Senge เน้นถึงความสำคัญของบุคคลที่มีการเติบโตทางจิตวิญญาณในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จิตวิญญาณจะเปิดโอกาสให้คนนั้น ๆ ได้พบความความเป็นจริงที่ลึกซึ้งกว่า ช่วยให้เราเรียนรู้วิธีการมองความเป็นจริงในปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้น ความแตกต่างระหว่างวิสัยทัศน์กับความเป็นจริงในปัจจุบันจะก่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ บุคคลจำพวกที่มีความใฝ่รู้ไม่เคยอิ่มต่อการเรียนรู้


๓ . แบบจำลองความคิด (Mental Model) ็นความคิดที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนเรา แต่จะสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรม เช่น เมื่อคิดว่าแก่เกินที่จะเรียน ก็จะไม่ยอมเรียนอะไร ไม่กล้าแตะต้องคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าคิดว่าไม่มีใครแก่เกินเรียนก็จะมีพฤติกรรมไปอีกแบบหนึ่ง คนที่คิดว่าตนเป็นคนเล็ก ๆ ไม่มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น กับคนที่คิดว่าความคิดดี ๆ ของคนเล็ก ๆ ก็มีพลังที่เพียงพอได้ถ้ารู้จักสื่อสาร รู้จักสร้างเครือข่าย รู้จักใช้ " คานงัดที่เหมาะสม" ก็ย่อมมีพฤติกรรมที่ต่างกัน


๔ . การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Building Shared Vision)็นเรื่องของการ " รวมใจเป็นหนึ่งเดียว" ซึ่งจะทำให้องค์การมีพลังมากอย่างไม่น่าเชื่อ เกิดปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ทำให้สมาชิกขององค์กรทำงานในลักษณะ " ทุ่มเทใจ" วิสัยทัศน์ร่วมไม่ใช่ข้อตกลงที่กำหนดโดยผู้มีอำนาจ แล้วทำให้สมาชิกขององค์การยอมรับ แต่เป็นข้อตกลงที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจนทุกคนเห็นพ้องต้องกัน โดยที่วิสัยทัศน์ส่วนบุคคลของสมาชิกแต่ละคนไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันทั้งหมด


๕ . การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) เครื่องเทศชนิดนี้มีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว เพราะการทำงานร่วมกันเป็นทีมจึงจะทำให้วิสัยทัศน์เราได้ร่วมกันสร้างเป็นจริงขึ้นมาได้



. สรุป


ถ้าเราย้อนไปดูประวัติศาสตร์ในช่วง ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา จะพบว่า สถาบันหรือองค์กรที่เป็นแหล่งความรู้ในสมัยนั้นคือวัด ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การศึกษา ปรัชญาและจริยธรรม ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยต่างๆได้เกิดขึ้น ประกอบกับวัดไม่มีการปรับเปลี่ยนตนเอง แหล่งความรู้จึงได้เคลื่อนเข้ามาสู่มหาวิทยาลัย ปัจจุบันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและระบบการเมืองของโลกที่เปิดกว้างอย่างไม่มีพรหมแดน ผมเข้าใจว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทยได้ลดระดับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในความหมายของ Senge ไปมากทีเดียว คนเด่น ๆ ดัง ๆ จำนวนมากได้เดินออกจากมหาวิทยาลัย



ในอนาคต หากมหาวิทยาลัยไม่มีการปรับเปลี่ยนตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้แล้ว โอกาสที่จะสูญเสียความเป็นผู้นำสังคมก็คงจะหมดไปในเร็ววัน ถ้าไม่อยากสูญเสียตำแหน่งเครื่องเทศ ๕ อย่างของ Peter Senge เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ครับ