Skip to main content

นมัสการพระธาตุหลวงในสายตาของนักวัฒนธรรม

คอลัมน์/ชุมชน


 


"จะทำอย่างไรถึงจะรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ในชาติ?..."


เป็นคำถามที่ยากมากที่จะตอบให้ได้ชัดเจน...แล้วใครจะเป็นคนตอบคำถามนี้เล่า


 


หลายคนตอบว่ามีคนตอบได้ แล้วถ้าตอบได้ จะทำได้ไหม? ภาษิตโบราณว่าไว้ "พูดง่าย ทำยาก" แล้วที่จะทำนี้มันยากนักหรือ ยากแต่น่าจะทำได้ ที่ยากลำบากในการทำเพราะว่าเรามองแค่จุดเดียวเท่านั้นคือ การมองวัฒนธรรมเป็นสินค้า หากไม่เช่นนั้นแล้วการทำงานนี้คงง่ายขึ้นเป็นกอง


 


"จริงหรือเปล่าล่ะ...?" นักวัฒนธรรมพูดอย่างนี้ออกมา


"ไม่จริงหรอกครับ..." นักธุรกิจพูด


 


นักวัฒนธรรมเข้าใจว่าเพื่อเชื่อมรอยต่อวัฒนธรรมดั้งเดิมของบรรพบุรุษนั้น นอกจากการจัดการกิจกรรมที่มีมาแล้วเช่น การแข่งม้า ตีคลี ไก่ชน การแห่ปราสาทผึ้ง และอื่นๆ แล้ว ดีไม่ที่จะนำเอาผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเข้ามาวางแสดงหรือขายก็ได้ในสนามพระธาตุหลวง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องนำเอาสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาวางขาย


 


ในครั้งยุคของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เวลานั้นการนมัสการพระธาตุหลวง เป็นการมารวมตัวกันของบรรดาเจ้าของหัวเมืองต่างๆ เพื่อเป็นการน้อมเคารพ แสดงความซื่อสัตย์ต่อพระองค์ท่าน ถ้ามีใครไม่มาร่วมในงานนี้ก็แสดงว่าเจ้าองค์นั้นไม่มีความเลื่อมใสในการปกครองของพระองค์ ทำตัวออกห่างเสียเวลานั้น ก็จะรู้ว่าจะจัดการอย่างไรกับการปกครองเพื่อทำให้แผ่นดินล้านช้างแดนนี้มีความเป็นอันเดียวกัน


 


การมารวมตัวกันของบรรดาเจ้าหัวเมืองต่างๆ นั้น จะได้นำเอาสิ่งที่ตนสามารถผลิตมาได้วางแสดงในงาน. เป็นการแสดงให้พระองค์ท่านได้เห็นว่า แต่ละหัวเมืองนั้นมีการปกครองกันอย่างไรบ้าง. หัวเมืองใดที่มีผลิตผลมากหลายมาในงานก็หมายถึงว่า หัวเมืองนั้นบริหารปกครองกันดีและชอบธรรม จึงมีผลิตผลอย่างมากมาย แสดงถึงความร่มเย็นเป็นสุขของไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ หัวเมืองนั้นก็มีความชอบ


 


ส่วนการต้อนรับก็จะเป็นหน้าที่ของพระองค์ท่าน เลี้ยงข้าวปลาอาหารแก่บรรดาเจ้าหัวเมืองต่างๆ ตลอดถึงไพร่ฟ้าราษฎรที่มาร่วมงาน


 



ในงาน นอกจากที่วางแสดงผลิตผลจากหัวเมืองต่างๆ แล้ว ยังมีการแสดงเรื่องประเพณีวัฒนธรรมจากบรรดาหัวเมือง งานนมัสการนี้จะถูกจัดขึ้นปีละครั้งคือ 12 ค่ำเดือนธันวาคม


 


งานนมัสการพระธาตุหลวงทุกวันนี้มีความแตกต่างอย่างมากเลย เมื่อเราย้อนมองกลับไปอดีตเพราะทุกวันนี้เราจะมองเห็นสินค้า ผลิตผลจากต่างประเทศมาวางขายเกือบทั้งสี้น ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์มีน้อยมาก หรือแทบไม่มีเลย.นมัสการพระธาตุหลวง มีหลายอย่างแปลกตามาก


 


พูดอย่างนี้อาจมีคำถามว่า คนเขียนเคยเห็นยุคนั้นไหมล่ะ? ก็เห็นจะต้องตอบว่าไม่เห็นเหมือนกัน แต่ที่พูดเพราะว่าคนเฒ่าคนแก่พูดและเล่ากันมาอย่างนั้น อีกอย่างก็คือว่า ในประวัติศาสตร์ก็พูดอย่างนั้น


 



 


เมื่อเข้าไปในงานนมัสการพระธาตุหลวง หากว่ามีความต้องการที่จะซื้อข้าวหลามก็เห็นจะต้องออกไปหาซื้อด้านนอกสนามพระธาตุหลวงเพราะอยู่ข้างในสนามไม่มีขาย


 


"เราควรปรับไหมล่ะ ปรับให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ดั้งเดิมของชาติได้ไหม?"


 


จริงๆแล้ว ใช่.. งานนมัสการมีเพียงนานทีปีหน แสงสว่างวิบแวมกำแพงด้านซ้าย ขวา หน้า หลัง และเหนือ ใต้ในยามราตรี พระธาตุหลวงถูกตกแต่งด้วยไฟประดับ ผู้คนหลั่งไหลเข้าๆ ออกๆ เพื่อกราบไหว้พระธาตุหลวง โดยเดินด้านหน้ารูปปั้นของพระองค์เจ้าไชยเชษฐาธิราช