Skip to main content

รากเหง้า

คอลัมน์/ชุมชน

ตั้งแต่เริ่มงานพืชสวนโลกเป็นต้นมา ผมได้รับคำถามว่า "ไปเที่ยวงานพืชสวนโลกมาหรือยัง?"


หรือ"ไปงานพืชสวนโลกมากี่ครั้งแล้ว?" ค่อนข้างจะบ่อย จนเริ่มชินที่จะต้องตอบว่า "ยังไม่ได้ไป


เลยครับ" เพราะตั้งใจว่า ถ้าจะไปก็อยากจะไปเดินให้เต็มวัน ไปหลังเลิกงานมีเวลาแค่ไม่กี่ชั่ว


โมงคงไม่ได้ชมอะไรมากนัก แต่ในความเป็นจริงของทุกๆ วันหยุดที่ผ่านมา ผมกลับไม่มีเรี่ยวแรง


จะไปไหนได้ อะไรหลายอย่างในร่างกายมันบอกว่า วันหยุด มันอยากจะพักมากกว่าจะไปเที่ยว


ผมเลยยังไม่มีโอกาสได้บอกใครๆ ว่า "ไปมาแล้ว" สักที


 


คิดดูแล้วก็แปลก เพราะคนอยู่ใกล้ๆ อย่างผม (และอีกหลายคน) ที่น่าจะได้ไปงานพืชสวนโลกก่อน


ใครๆ กลับไม่ได้ไป แต่คนที่อยู่ไกลๆ อย่างกรุงเทพฯ อุบลราชธานี กาญจนบุรี สงขลา (สังเกต


จากป้ายทะเบียนรถ) เขากลับมาเที่ยวกันเป็นล้านคนแล้ว แต่ก็ด้วยเหตุดังว่านี่ละครับ ที่ทำให้ผม


พลอยได้อานิสงส์จากงานพืชสวนโลกไปด้วยประการหนึ่ง นั่นคือ ได้เจอกับเพื่อนฝูงและญาติ


มิตรที่ไม่ได้เจอกันหลายปี


 


ตอนที่งานพืชสวนโลกเริ่มขึ้น เพื่อนรุ่นน้องคนหนึ่งที่ไม่ได้เจอกันร่วม 4-5 ปี จู่ๆ มันก็โทรมาบอก


ว่าจะมาก็เลยได้เจอกัน  เมื่อตอนต้นเดือน น้องสาวกับน้องเขยของภรรยาก็มาเยี่ยมและเมื่อ


สัปดาห์ที่แล้วนี่เอง ผมก็ได้เจอกับอา (ลูกคนที่สามของปุ่กับย่า) และอาสะใภ้ของผมที่เดินทางมา


จากกรุงเทพฯ จำได้ว่าเราเจอกัน ครั้งสุดท้ายตั้งแต่งานแต่งงานของผมเมื่อ 3 ปีก่อน ทั้งสอง


ท่านนับได้ว่าเป็นผู้มีพระคุณต่อผมอย่างมาก เพราะช่วงที่ผมมาเรียนกรุงเทพฯ จนถึงช่วงที่


ทำงาน ก็ได้ทั้งสองท่านช่วยดูแลมาโดยตลอด


 


ระหว่างอาหารกลางวัน เราได้พูดคุยกันหลายต่อหลายเรื่อง ทั้งสารทุกข์สุขดิบล่วงเลยไปถึง


วงศ์ศาคณาญาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดสิงห์บุรี ทำให้ผมหวนคิดถึงผู้คนและเรื่องราวอีกมาก


มายที่ผมลืมเลือนไปนานแล้ว


 


ต้นตระกูลทางพ่อผมเป็นชาวสิงห์บุรีครับ เมื่อครั้งยังเด็ก ผมเคยถามพ่อเรื่องความเป็นมาของนาม


สกุลเรา พ่อเลยเอากระดาษมาวาดแผนผังตระกูลให้ผมดู ในตอนนั้นผมรุ้สึกทึ่งเอามากๆ ว่า


แม้ตระกูลของเราจะไม่ได้ร่ำรวยเป็นเชื้อเจ้ามีนามสกุลเก่าแก่ใหญ่โต แต่เราก็ยังนับญาติจดจำ


กันได้ตลอด 3-4 ชั่วอายุคน


 


ปู่ของปู่ผมเป็นคนจีนแท้ๆ มาจากเมืองจีนในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งผมไม่ทราบชื่อ ทวด(พ่อของปู่)


ชื่อ "ลุ้ย" มีลูก 9 คน ปู่ผมเป็นคนที่ 3 และทวดลุ้ยนี่เองเป็นคนที่ตั้งนามสกุลตามกฎหมายที่ออก


สมัยรัชกาลที่ 6 ทวดของผมเป็นชาวนา ทำนาทำสวน เลี้ยงสัตว์ตามแบบชาวนาสมัยก่อนนั่นละ


ครับ พอลูกๆ โตก็แยกย้ายกันไป แต่ก็ยังคงอยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี ส่วนทวดนั้นยังอยู่กับปู่ พ่อเล่า


ว่า ทวดเสียหลังจากที่ผมเกิดได้ไม่นาน ท่านเป็นคนใจดีและอายุยืนทีเดียว


 


และจากลูกของทวดทั้ง 9 คนนี่เอง ที่ทำให้ลูกหลานที่ใช้นามสกุลเดียวกันกระจายออกไปมาก


ประมาณคร่าวๆ ว่าคนในรุ่นลูกพี่ลูกน้องพ่อผม ก็คงจะหลายสิบแล้วละครับ พอมาถึงรุ่นผมซึ่ง


เป็นรุ่นที่ 4 ของนามสกุล ก็คงจะเป็นร้อย นอกจากนี้ ในแง่ของการเป็นที่รู้จัก ภายในจังหวัดเล็กๆ


แห่งหนึ่ง ก็นับได้ว่าพอสมควร เพราะลูกของปู่ทั้ง 5 คนซึ่งประกอบด้วย พ่อผมซึ่งเป็นคนโต กับ


อาอีก 4 คนนั้น เป็นครู-อาจารย์กันเสีย 3 คน ทั้งปู่ของผมก็เป็นครูใหญ่ของโรงเรียนประจำหมู่


บ้าน ผู้ที่รู้จักนับถือจึงมีมากมาย


 


เฉพาะนับญาติทางปู่ ผมสารภาพตามตรงว่า ไม่สามารถจดจำระดับ "พี่น้องปู่" หรือ "ลูกพี่ลูกน้อง


ของพ่อ" ได้ทั้งหมด มีเพียงบางคนที่สนิทสนมหรือไปมาหาสู่กันบ่อยหน่อยก็พอจะจำได้ แต่เรื่อง


ทำนองนี้ก็แปลกนะครับ เพราะคนรุ่นอาผมยังสามารถที่จะไล่นับญาติกันได้ครบถ้วนทุกสาแหรก


ขณะที่คนรุ่นผมนับไม่ถูกเสียแล้ว หรือมันจะเป็นเรื่องของความสนใจเฉพาะบุคคลก็ไม่ทราบได้


 


นอกจากนี้ ในละแวกบ้านปู่นั้น ก็มีญาติทางย่าอยู่อีกหลายคน ถ้าให้นับก็คงต้องลำดับญาติกันขึ้น


ไปอีก 2-3 ชั่วคน แล้วบางคนก็ซับซ้อนกว่านั้น คือเกี่ยวพันกันในลักษณะญาติของญาติอีกที แต่


เนื่องจากอาศัยอยู่ใน "คุ้ม" หรือในละแวกเดียวกัน หลายคนจึงเหมือนญาติสนิท


 


ในวัยเด็ก ผมมีโอกาสได้ไปสิงห์บุรีเพียงปีละครั้งคือช่วงเทศกาลสงกรานต์ ลูกหลานปู่กับย่าทุก


คนจะมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน มีการรดน้ำดำหัวคนแก่ เล่นสาดน้ำกับพี่ๆ น้องๆ พอตอนเย็น


พวกผู้ใหญ่ก็สังสรรค์กัน เราเด็กๆ ก็วิ่งเล่นกันสนุกสนาน แต่หลังจากพ่อของผม ซึ่งเป็นตัวตั้ง


ตัวตีในการจัดงานเฮฮา เสียชีวิตตอนที่ผมอยู่ ม.3 ก็ดูเหมือนว่า บรรยากาศแห่งความเศร้าจะ


ครอบคลุมสถานที่ๆ เคยมีแต่ความสุขความอบอุ่นเสียแล้ว ในช่วงผมอยู่มัธยมปลาย แม่พาผมกับ


น้องชายมาสิงห์บุรีครั้งใดก็จะต้องมานั่งร้องไห้กับย่าและอาผู้หญิงทุกครั้ง แม้งานสงกรานต์ยังคง


จัดอยู่ แต่มันก็ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว


 


มาคิดๆ ย้อนดู แม้ว่าผมจะมีโอกาสได้ไปสิงห์บุรีเพียงปีละครั้ง แต่ความรู้สึกผูกพันกับเครือ


ญาติทางพ่อค่อนข้างจะมีมาก อาจเป็นเพราะทุกๆ คนให้ความเอ็นดูและรักใคร่ผมเสมือนเราเป็น


ครอบครัวเดียวกัน เดินเข้าไปนั่งเล่นนอนเล่นกินข้าวบ้านไหนก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย่าท่านรัก


ผมมาก อยากได้อะไร อยากกินอะไรขอให้บอก ตอนที่ผมยังเด็ก ท่านเคยขอพ่อกับแม่ผมว่าถ้า


ผมขึ้น ป.4 เมื่อไรจะขอให้มาอยู่ที่สิงห์บุรี แต่แล้วพ่อกับแม่ก็ไม่ได้ให้ไป ผมเองก็เคยนึกสงสัย


เหมือนกันว่าถ้าผมไปอยู่สิงห์บุรี ผมจะเติบโตมาแบบไหน


 


อาทั้งสองท่าน ได้เล่าให้ผมฟังถึงความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้น ในช่วงเวลาหลายปี


คนแก่หลายคนก็เสียชีวิตไป ลูกหลานก็แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง ทุกวันนี้ บ้านปู่ ก็มีเพียงปู่


อาผู้หญิง(ลูกคนที่สี่) อาเขย กับลูกสาว โดยมีอาและอาสะใภ้ที่อยู่กรุงเทพฯ แวะไปเยี่ยมทุก


เดือน อาสะใภ้เล่าว่า มีอยู่ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งร่ำรวยมาจากยุคที่ราคาที่ดินกำลังบูม เขาขายที่ดิน


ได้เงินมาหลายสิบล้าน กลายเป็นเศรษฐีใหญ่ประจำจังหวัด แต่แล้วชีวิตก็พลิกผัน จากเงินทอง


มากมายกลายเป็นหนี้เป็นสิน พ่อแม่ตาย เหลือแต่ลูกชายที่กลายเป็นวัยรุ่นเกเร ซ้ำร้ายเมื่อไม่


นานมานี้ไฟไหม้บ้าน ทรัพย์สมบัติที่เก็บสะสมไว้ก็วายวอดไปกับกองเพลิง


 


ฟังแล้วก็เศร้าครับ ผมยังจำได้ว่า เด็กผู้ชายคนนั้นเป็นเด็กที่ฉลาดมากและพ่อแม่ก็รักมากเพราะมี


ลูกตอนแก่ บางครั้งชีวิตมันก็ไม่ปล่อยให้เราสบายนานเกินไปนัก


 


ก่อนที่ผมจะเรียนจบไม่นาน ย่าก็เสียชีวิต ตอนนั้นผมรู้สึกว่า คนที่รักเรามากๆ ไม่น้อยไปกว่าพ่อ


และแม่ได้จากเราไปแล้ว ความผูกพันต่อสถานที่นั้น ก็พลอยเจือจางไปด้วย หลังจากมีงานทำ


ผมไม่ได้ไปสิงห์บุรีอีกเลย ผมยังมีโอกาสได้เจออาและปู่บ้างที่กรุงเทพฯ แต่ด้วยชีวิตที่เคลื่อน


ไปตลอด การไปมาหาสู่กับเครือญาติที่สิงห์บุรีก็ห่างหายไป


 


อายังเล่าอีกว่า หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่า ความเครียดและความเศร้ายัง


ไม่คลายจากใจของทุกคนสักเท่าไร อาบอกขำๆ ว่า พอน้ำเริ่มลดเท่านั้นเอง ทุกคนก็พากันออก


ไปเที่ยว หรือไม่ก็ไปค้างบ้านญาติที่จังหวัดอื่น หลังจากที่ต้องทนจับเจ่าอยู่กับบ้านมานานร่วม


เดือน อาเลยต้องลางานไปเฝ้าบ้านให้ปู่อยู่คนเดียวตั้งหลายวัน


 


ถึงแม้อาทั้งสองจะดูมีความสุขที่ได้มาเที่ยวและได้เจอกับผม แต่ผมก็สังเกตว่า อาแก่ลงไปมาก


คงจะเป็นเพราะงาน และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามอายุ อาบอกว่า อาเตรียมจะกลับไปปลูก


บ้านที่สิงห์บุรี เอาไว้อยู่ตอนเกษียณ เพราะตอนนี้ก็ไม่มีอะไรต้องห่วง ลูกชายคนโตของอา เรียน


จบแล้ว และกำลังจะเป็นมือกลองของวงดนตรีวัยรุ่นชื่อดังวงหนึ่ง ลูกชายคนเล็กแม้จะยังเรียนอยู่


แต่ก็เป็นเด็กดีและไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง


 


การได้พูดคุยกับอาทั้งสองในวันนั้น ทำให้ผมหวนคิดถึงบรรยากาศการรวมญาติในสมัยก่อน เรา


เหมือนครอบครัวเดียวกันจริงๆ ทุกคนห่วงใยและเอื้ออาทรต่อกัน ไม่ใช่แค่ลูกๆ ของปู่กับย่า แต่


รวมถึงญาติคนอื่นๆ ที่อยู่ในละแวกเดียวกันด้วย ผมรู้สึกว่า แม้วันเวลาจะผ่านไป คนแก่จากไป


เด็กรุ่นใหม่เติบโตขึ้น แต่ความรู้สึกผูกพันนั้นยังคงอยู่ มันอาจจะไม่เคลื่อนไหว เพราะทุกๆ คน


ล้วนมีภาระการงานที่ต้องรับผิดชอบ และต้องห่างหายกันไป แต่หากวันใดที่เรารื้อฟื้นมันขึ้นมา


มันก็คงจะทำให้เราระลึกได้อีกครั้งว่า เรามีรากเหง้าเดียวกัน เป็นญาติพี่น้องที่มีแต่ความปรารถนา


ดีให้แก่กัน


 


ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่น่าเศร้า แต่บางที สถานที่ก็เปลี่ยนแปลงไปเฉพาะที่ตาเห็น เรารัก


มันเพราะมันเคยทำให้เรามีความสุข หากความสุขมันจะน้อยลงไปบ้าง นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของ


ใคร เพราะสิ่งสำคัญนั้นยังคงอยู่ในใจเรา


 


สำหรับผมแล้ว รากเหง้าทำให้ผมจดจำตัวเองได้เสมอ