Skip to main content

ฟังเสียงคน ‘เอา’ ม.นอกระบบ VS ม.ของนอก : ข้อเสนอจินตนาการใหม่ !

คอลัมน์/ชุมชน

...


 


 


ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่หายไป !


 


"พวกเราเอามหาวิทยาลัยนอกระบบ! พวกเราเอามหาวิทยาลัยนอกระบบ! " คงไม่มีใคร ที่ใส่เสื้อสีเหลืองในมหาวิทยาลัยได้ รวมพลออกมาส่งเสียงเรียกร้องแบบนี้เลย ในสภาวการณ์ปัจจุบัน


 


...ทำไมพวกเขาไม่ออกมาเรียกร้องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ออกเดินขบวนกันอย่างคึกคักเหมือนกับสถานการณ์ทางการเมือง หลังรัฐประหารกันบ้างหนอ...


 


ทำไม? จึงเป็นเช่นนั้น ทำไมกระแสการต้านทานการแปรรูปมหาวิทยาลัย มันถึงคึกคัก (ในระดับหนึ่ง) มากกว่า พวกเอามหาวิทยาลัยนอกระบบ ที่เป็นกระแสหนุนนำเหมือนกับมีเพียงแต่กลุ่มคนที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้ (ข้าราชการแก่ๆ) แต่พวกไม่เอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่กำลังจะจัดตั้งกลุ่มเคลื่อนขบวนเรียกร้องให้เขาจัดมวลชนออกมาโดยดึงเอาผลประโยชน์ของนักศึกษาเป็นแรงกระตุ้น ในการตั้งโจทย์ให้นักศึกษาบางกลุ่มลุกขึ้นมาต่อสู้ กับพวกที่เอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ


 


แต่แล้วนักศึกษาและอาจารย์ที่ยังนิ่งเงียบอยู่ล่ะ! พวกเขาจะคิดอย่างไร --- เป็นความสงสัยส่วนตัวของผู้เขียน อันเป็นเหตุให้ได้ลงมือเก็บข้อมูล เพื่อสังเคราะห์บทความชิ้นนี้ออกมา


 


โดยการสำรวจข้อมูลดูว่า พวกเขาจะคิดเห็นกันอย่างไร? --- และขอนำมาสรุปย่นย่อดังต่อไปนี้ ...


 


O เก็บความจาก : นานาทัศนะมหาวิทยาลัยไทยออกนอกระบบราชการ O


 "...การที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบจะช่วยลดภาระของรัฐในการจัดหางบประมาณมาสนับสนุนมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการได้มาก จึงมีการอ้างเงื่อนไขเงินกู้ ADB ตามมติคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2541 ว่าต้องเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐเพียงอย่างเดียว"  --- นี่คือข้ออ้างในการนำมหาวิทยาลัยเข้าสู้ระบบกลไกตลาด ตามที่เราได้รับรู้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมันสอดคล้องกับความหมายตามกรอบความคิดของ WTO ที่ว่า ‘การศึกษา คือ อุตสาหกรรมการบริการ(Industrial Services)’ ... "


" ...จากการสำรวจมุมมองจากการข้อมูลด้านการศึกษาว่ากระแสชาตินิยมไทย ไม่มีทางสู้กับมหาวิทยาลัยต่างชาติได้ และส่วนท่าทีของมหาวิทยาลัยไทย ที่กำลังต้องการออกนอกระบบราชการ และคาดหวังก้าวเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาตินั้นว่า คงจะเป็นเพียงความฝันลมๆแล้งๆเท่านั้นเองหรือเปล่า? ฉะนั้นเราควรต้องออกนอกระบบราชการ เพื่อการพัฒนาการศึกษาของเรา  ส่วนพวกต่อต้านมันเป็นแค่พวกมองโลกในแง่ร้าย และมองโลกคับแคบไม่ทันโลก ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแห่งแรกออกนอกระบบราชการ มีคล่องตัวของผู้มีความรู้ อาจารย์ และนักศึกษานานาชาติด้วย(แต่ลืมไปว่าเคยมีนักศึกษาประท้วงไม่เอาวิทยานิพนธ์เขียนภาษาอังกฤษ) ก็ความเป็นมหาวิทยาลัยแบบภายใต้รัฐราชการ ที่การศึกษาในมหาวิทยาลัยไทย อย่าไปเทียบกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่เปิดสอนมากกว่าร้อยปี !... "


 


"... ส่วนฟากของมหาวิทยาลัยเอกชน ที่แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยรัฐโดยตรง แต่ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาและหากมหาวิทยาลัยของรัฐออกนอกระบบจริงๆ รูปแบบการบริหารจัดการจะต้องเปลี่ยนไปคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยเอกชน มีการ แสดงทัศนะกันว่า การออกนอกระบบจะทำให้มหาวิทยาลัยของรัฐได้เปรียบมหาวิทยาลัยเอกชนค่อนข้างมาก เพราะจะมีความยืดหยุ่นและสามารถบริหารจัดการได้เต็มที่ ขณะที่เดิมอยู่ในระบบราชการการบริหารงานต้องอยู่ในกรอบของราชการเท่านั้น ถ้าในทางกลับกันสิ่งที่มหาวิทยาลัยรัฐกับมหาวิทยาลัยเอกชน จะต้องเผชิญต่อไปข้างหน้า... "


"... มหาวิทยาลัยไทย ที่มีนักศึกษาจ้างทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาขายเรือนร่างแก่เสี่ยๆ  ฝันถึงการปฏิรูปการศึกษามานาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยในประเทศ และการจัดเอามหาวิทยาลัยไทยประกบคู่มหาวิทยาลัยต่างชาติ และสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ หรือฝันจะเข้าไปมีชื่ออยู่ในอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก แต่ว่ามีการสำรวจรายชื่อมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ที่เตรียมจะบุกเข้ามาในประเทศไทยมาก เท่าใด ที่คนไทยจะแห่ไปเข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่างชาติ และมีหลักสูตรของไทย แค่ไม่กี่หลักสูตร ที่พร้อมปรับตัวกับ การเปลี่ยนแปลงโดยที่มหาวิทยาลัยไทยออกไปเปิดสาขาต่างประเทศได้ ... "


"... มหาวิทยาลัยต่างประเทศบุกเข้ามาตีตลาดนักศึกษากับมหาวิทยาลัยไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด  ด้วยเขามีภาษีดีกว่าในการที่ว่า เรียนกับมหาวิทยาลัยเรา ได้ทั้งความรู้ และภาษาอังกฤษ รวมถึงใบปริญญารับรองว่า จบปริญญาจากมหาวิทยาลัยต่างประเทศ  อื่นๆ ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยอยู่ภายใต้รัฐไทย ในกระแสการพัฒนาของโลก ยุคเดินตามคำสั่ง WTO(องค์กรการค้าโลก) ด้วย และ การศึกษาของไทย ในยุคที่พยายามให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับอาจารย์เพื่ออุดมคติแก่สังคมไทย เราคิดว่าพร้อมแก่การเข้าใจสังคมไทย,วิถีเอเชีย และตามเท่าทันโลก ... "


 


ฯลฯ


 


0 คุยกับ ‘อาจารย์’ ประเด็น ข้อดี VS ข้อเสีย,เหตุผลของการออกนอกระบบราชการ 0


 


ทัศนคตินักศึกษาไทย ที่ควรตั้งข้อสังเกต ทำไมบางคน จึงเรียกมหาวิทยาลัยว่า ‘มหา’ลัย- ‘มหาประลัย’(หมาหาอะไร) มหาวิทยาลัยแห่งชาติพันธุ์ไทย เป็นต้น นี่เป็นถ้อยคำของนักศึกษาคนหนึ่งที่ไม่ยอมให้ชื่อไว้แก่การสัมภาษณ์เบื้องต้น ในยุคปัจจุบันของมหาวิทยาลัยไทย และด้วยข้อมูลที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ หรือข้าราชการ ภายใต้การกำกับของรัฐขึ้นมาแล้ว


 


ปัญหาต่อคำถามมีหลายประเด็นที่ถกเถียงกันมาตั้งนานแล้ว และด้วยว่าจะลองพินิจประเด็นปัญหารอบด้าน และคนที่ให้ข้อมูล ก็หายาก ที่มีความเป็นกลาง ซึ่งได้เก็บข้อมูลน่าที่น่าจะมีเหตุผลจากการสัมภาษณ์บางส่วนของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ แต่เป็น ‘พนักงานของรัฐ’ (ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม) สองท่าน พยายามตอบคำถามดังต่อไปนี้ ..


 


ทัศนะของอาจารย์ท่านหนึ่งที่ไม่เห็นด้วย กับมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ


 


1. ค่าเล่าเรียนทางการศึกษาราคาแพง นักศึกษายากจนไม่มีโอกาสเรียน?


- ต้องแก้ปัญหานี้ เรื่องค่าเล่าเรียนของนักศึกษายากจน


 


2. ทำให้การศึกษาเข้าสู่รูปแบบทุนนิยม ระบบการตลาด อาจารย์ให้ความรู้ ที่เป็นสินค้าแก่ นักศึกษา?


- ผมเห็นด้วยว่า การทำให้การศึกษาเป็นระบบตลาดทำร้ายเรามาก


 


3. เมื่อเราต้องทำตามกรอบของการค้าเสรี การศึกษาเราจะไม่แพ้เขาไหม?


-ผมว่าเรายังปรับตัวไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงพนักงานในมหาวิทยาลัย และอาจารย์ ยังคงเคยชินกับระบบราชการ จะไปสู้ได้ไง


 


4. จะให้เรามั่นใจได้อย่างไร ในเมื่ออาจารย์บางคนก็ทำงานวิจัยออกมาเป็นเชิงปริมาณเพื่อให้สอดคล้องพร้อมรับกับการถูกตรวจสอบ?


            - มีปัญหาการทำงานเชิงปริมาณ เพราะถูกบังคับจากการตรวจสอบประเมินคุณภาพเลย ไม่ได้ผลงานคุณภาพอย่างแท้จริง


 


5. มหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว จะเป็นเช่นใด?


            -ไม่ต่างจากเดิม จริงๆแล้ว เราไม่เคยออกจากระบบข้าราชการ หรือระบบราชการเลย เพราะชื่อมหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์, นเรศวร, แม่ฟ้าหลวง อื่นๆ ก็ล้วนเป็นชื่อในมหาวิทยาลัยกำกับรัฐราชวงศ์ เรียกได้ว่าข้าราชการในใต้พระบรมโพธิสมภารของราชวงศ์ หรือกษัตริย์ ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ ก็พื้นที่ตั้งใกล้กับตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์อยู่บนดอยสุเทพ


 


 


ทัศนะของอาจารย์ท่านหนึ่งที่เห็นด้วย กับมหาวิทยาลัยออกนอกระบบราชการ


 


1.ค่าเล่าเรียนทางการศึกษาราคาแพง นักศึกษายากจนไม่มีโอกาสเรียน 


- อ้าวแล้ว! นักศึกษายากจนไม่กู้เงินเรียน กองทุนต่างๆ และทำไมบางคนยากจน แต่มีเงินเรียนมหาวิทยาลัยเอกชนได้


 


2. ปัญหาการศึกษาเข้าสู่รูปแบบทุนนิยม ระบบการตลาด อาจารย์ให้ความรู้ ที่เป็นสินค้าแก่นักศึกษา


-โธ่! มันตั้งแต่ยุคเพลโตแล้ว เขาก็เหมือนเซลล์แมน ขายความรู้แก่ลูกศิษย์ ถ้างั้นเราก็อยู่ในยุคโลกาภิวัตน์ ที่ต้องจัดการการศึกษาในการบริหารให้อาจารย์ ทันสมัยให้ความรู้แก่ลูกศิษย์ได้ และในระดับมหาวิทยาลัยไทยๆ ก้าวสู่ระดับนานาชาติ


 


3. เมื่อเราต้องทำตามกรอบของการค้าเสรี การศึกษาเราจะไม่แพ้เขาไหม


- แน่นอน เราก็ต้องแข่งขัน ลงมือเพิ่มศักยภาพเทคโนโลยีทางการศึกษา มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ ค้นคว้า ทดลองกัน ในที่สุดแล้วเราจะเป็นฝ่ายชนะได้


 


4. จะให้เรามั่นใจได้อย่างไร ในเมื่ออาจารย์บางคนก็ทำงานวิจัยออกมาเป็นเชิงปริมาณเพื่อให้สอดคล้องพร้อมรับกับการถูกตรวจสอบ


- เหตุผลของเรา เน้นการตรวจสอบเรื่อยๆ เช่น ให้แบบประเมินโดยนักศึกษาเพื่อกระตุ้นอาจารย์ ส่วนพวกที่ตามไม่ทันก็ควรลาออก


 


5.จริงๆแล้ว เราไม่เคยออกจากระบบข้าราชการ หรือระบบราชการเลย เพราะชื่อมหาวิทยาลัยมหิดล,จุฬาลงกรณ์,นเรศวร,แม่ฟ้าหลวง อื่นๆ ก็ล้วนเป็นชื่อ มหาวิทยาลัยเรียกได้ว่าข้าราชการในใต้พระบรมโพธิสมภารของราชวงศ์ หรือกษัตริย์ ส่วนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ ซึ่งมีทำเลพื้นที่ตั้งใกล้กับตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์อยู่บนดอยสุเทพ และเมื่อก่อนก็เคยมีตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ก็ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์


-เรื่องนี้ ไม่เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ผมไม่ตอบ


 


บทสัมภาษณ์สิ้นสุดลง ทันทีกับปัญหาที่ยังไม่ได้รับการตอบคำถามทั้งหมด.


           


ผู้เขียนไม่ได้หวังให้บทความชิ้นนี้เป็นไปมากกว่าข้อเขียนธรรมดาๆ ข้อเขียนหนึ่ง เนื่องจากข้อจำกัดของผู้ที่ให้ทำการสัมภาษณ์ที่ไม่ประสงค์จะแสดงตัวตน ซึ่งคงจะลดทอนความน่าเชื่อถือของบทความลงไป


 


แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนอยากจะเสนอสำหรับ ‘ขบวนการเคลื่อนไหวสังคมใหม่’ ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต คือ เปิดพื้นที่การสนทนาสำหรับการจินตนาการถึงข้อเสนอใหม่เพื่อการศึกษาในสังคมไทย ที่ไปให้พ้นจากความกลัวโดยในที่เปิดเผยจินตนาการใหม่ ในการศึกษากับสังคมไทย ไม่ว่าเรื่อง ‘รัฐ’ชาติ และสถาบันกษัตริย์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 8 กับรัชกาลที่ 9 ในปัจจุบัน น่าจะเป็นการศึกษาตั้งแต่วิชาสังคมโดยปูพื้นฐานเพื่อเด็ก ในระดับประถม จนถึงวิชา ‘รัฐศาสตร์’ ในมหาวิทยาลัยได้แล้ว


 


และการแสดงออกทางความเห็นที่ขัดแย้งในเรื่องมหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบนั้น สะท้อนว่าความขัดแย้งที่พื้นฐานตั้งแต่รากของระบบการศึกษาแบบราชการ ในระดับประถม-มัธยมปลาย ที่บ่มเพาะเด็กนักเรียน ส่งต่อความคิดของเด็กเป็นนิสิต นักศึกษา จนถึงกระบวนการ ในมหาวิทยาลัย ที่จะออกนอกระบบราชการ เพื่อจะเป็นทุนใหม่ ในโลกของการพัฒนาทุน คือ ทรัพยากรมนุษย์ ณ ปัจจุบัน และความขัดแย้งมีได้ โดยไม่ใช่เป็นเพียงเสียงกระซิบ หรือนินทาลับหลังภายใต้ความขัดแย้งกัน


 


ดังนั้นสมควรมีการเปิดประเด็นในวงกว้าง เพื่อให้สังคมได้ประโยชน์จากความขัดแย้งนั้นสูงสุด.           


 


ข้อมูลเพิ่มเติม


 


มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ผลกระทบเกิดกับใคร?


http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q4/article2004nov25p7.htm


 


มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ "คลางแคลง" และ "คลุมเครือ"


http://ftawatch.org/news/view.phpMid=1499-37k


 


เมื่อวิทยานิพนธ์ถูกบังคับให้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ


http://www.sarakadee.com/feature/1999/11/vote.htm


 


... ใครๆก็กลัว จริงหรือไม่ : ว่าด้วยอาการหวาดผวาใน"บริบท"
ประวัติศาสตร์กรณีตัวอย่างคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและ
การโต้ตอบวาทกรรมอนุรักษ์สถาบันฯ


http://www.geocities.com/smallmagazine/fearking.html