Skip to main content

พระธาตุสีสองรัก: สัญญาลักษณ์สองเผ่าพันธุ์

คอลัมน์/ชุมชน


 


ด้วยเหตุว่าเมื่อผมเขียนเรื่องนมัสการพระธาตุหลวงลงในเว็บประชาไท แล้วก็มีคนสนใจอยากให้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้า ผมก็เลยนำมาเสนอโดยสังเขปให้ฟังว่า มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง


 


ตามหนังสือประวัติศาสาตร์ลาวแต่โบรานถึงปี ค.ศ. 1946 ซึ่งรจนาโดย อาจารย์มะหาสีลา วีระวงค์ได้ระบุไว้ว่า เดิมที พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้ามีพระนามเดิมชื่อว่า เจ้าเชษวังโส เป็นพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าโพธิสาระราช พระมารดาเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินแห่งนครเชียงใหม่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้าประสูติเมื่อปีมะเมีย เดือนอ้าย แรม 9 ค่ำ เวลาเที่ยง จุลศักราช 896 (ค.ศ. 1534)


 


เมื่อพระองค์มีพระชนมายุได้ 14 ปี พระราชบิดาได้ทรงอภิเษกให้เพื่อเป็นเจ้าแผ่นดินในนครเชียงใหม่ ตามคำขอของเสนามนตรีเมืองเชียงใหม่ในปี ค.ศ 1548 (จุลสักราช 910) ต่อมาถึงปี ค.ศ 1550 (จุลสักราช 912) พระราชบิดาเสด็จสวรรคตแล้ว เสนาอำมาตย์ทั้งหลายฝ่ายนครเชียงทองได้แต่งให้พญาอยดลืเกียนขื้นไปอันเชิญลงมานครเชียงทอง ให้พญาสรีสัตธรรมมะไตยโลกขื้นไปคอยรับอยู่เมืองเชียงของ เพื่อถวายพระเพลิงศพพระราชบิดา เมื่อพระองค์ทราบข่าวดังนั้นแล้วก็มีพระทัยโศกาอาดูรเป็นอันมาก พระองค์ได้มอบบ้านเมืองให้ "พญากงกาง" ผู้เป็นลุง (พี่ของนางยอดคำทิบผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าเชษวังโส พญากงกางนี้เป็นเสนามนตรีผู้ใหญ่ 1 ใน 9 คนของล้านช้างที่ตามสะเด็จไปประจำที่เชียงใหม่) แล้วอพยพโยกย้ายมานครเชียงทอง ครั้นมาถึงก็เข้าไปถวายบังคมพระบรมศพของพระราชบิดา.


           


ในคราวนั้นพวกเสนาฝ่ายใต้ อันมีพญาเวียง 1 แสนมะโลง 1 มารดาของพระล้านช้าง 1 กว้านด้ามพร้า 1 เป็นหัวหน้า พอทราบว่า พระโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคตแล้วก็พร้อมกันคิดว่า จะเอาพระล้านช้างขื้นเป็นเจ้าแผ่นดิน จึงรออยู่เมืองปากห้วยหลวง.


           


สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้า ทรงทราบดั่งนั้น จึงมีพระราชอาญาแต่งตั้งให้พระยาสรีสัตธรรมมะไตโลก อพยพลงมากำจัดทหารของพญาล้านช้าง เวลานั้นรบกันอยู่ที่แก้งสา พญาเวียง, กวานด้ามพ้า และแสนมะโรงเห็นจะต้านทานไม่ไหว จึงเอาพญาล้านช้างหลบหนีลงไปอยู่เมืองพญานครที่เมืองกระบอง (ท่าแขก).


 


จุดที่กล่าวข้างบนนี้ นำเสนอเพียงสั้นๆว่า สมเด็จเจ้าไชยเชษฐาธิราชเจ้านั้นมีที่มาอย่างไรบ้าง ถ้ามีความสนใจจริงก็หาอ่านได้จากหนังสือประวัติศาสตร์ลาวแต่บูรานถึงปี 1946 ของมะหาสีลาวีระวงค์จะชัดเจนมาก.


 


ที่นี้อยากเสนอให้รู้ว่าทำไมพระธาตุสีสองรักจึงถูกสร้างขื้น. พระธาตสีสองรักถูกสร้างขื้นเมื่อครั้งพระองค์ตั้งนครเวียงจันเป็นราชธานี ในปี ค.ศ 1560 (จุลศักราช 922) เพราะมองเห็นว่านครเชียงทองแคบไป นครเวียงจันท์เหมาะกว่า เพราะว่าก้วางใหญ่. ให้พระนามนครเวียงจันว่า "พระนครจันทะบูรีสีสัตนาคะนะหุดอุดตะมะราชธานี".  ในปีเดียวกันนั้นก็ได้มีการร่วมมือกันกับพระเจ้าแผ่นดินอยุธยาสร้างพระธาตสีสองรักขื้นที่เมืองด่านช้าย.


 


พระธาตสีสองรักนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างสองประเทศ ดั่งมีใจความกล่าวไว้ว่า "สมเด็ดพระมหากษัตริย์เจ้าฝ่ายกรุงสีสัตนาค สมเด็ดพระมหากษัตริย์เจ้าฝ่ายกรุงอยุธยามหาดิลกจึงมีพระราชวงค์สากับนางอัคมเหสีเทวี ทั้งสองฝ่ายให้เป็นพระราชไมตรีโดยประเพณีเพื่อสืบเชื้อสุริยวงค์ และญาติวงสัมพันทุมิตะสุสาอัมมะนะเพื่อจะให้เป็นบรมสุขสวัดดี เป็นประโยชน์แก่สมณะ พราหมาจารย์ อาจายร์เจ้า ชาวประชาราษฐทั้งหลายตราบต่อเท้าถ้วนกันนั้นเป็นเค้า เป็นประทานสาละคะดีในมหาปฐพีคีริตะ ในฮ่อมห้วยฮาวเขาระกะวะสีระวร์ ขอจงเป็นเอกะสีมามนทนอันเดียวกัน ให้เกลี้ยงกลมงามเท้าถึงพงษ์พันธุ์ ลูกหลานเหลนอย่าได้ชิงซวงล่วงแดนแผ่นเหย้า อย่าได้กระทำโลภเลี้ยวแก่กัน จนเสี่ยงพระอาทิตย์เจ้าตกลงสู่เหนือแผ่นดินอันนี้เทอญ".


           


เมื่อมาถึงจุลศักราช 924 (ค.ศ 1562) พระองค์ท่านจึงทราบว่า พระนางเทบกษัตริย์ตรี อันเป็นพระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยามีพระสรีรโสพางามเลิศ ทั้งเป็นแนวผู้กล้า จึงได้มีพระราชสาน์นไปขอมาเป็นอัครมเหสีของพระองค์. ตามประวัติสาตร์แล้ว หากเราๆประพฤติตัวตามคำสั่งสอนของพระองค์แล้ว เชื่อเหลือเกินว่าคงเป็นสุขไม่น้อยเลยทีเดียว.


 


เมื่อปี ค.ศ 1566 (จุลศักราช 928) พระองค์ได้ทรงสร้างพระธาตุหลวงขื้น ในสวนอุทยานด้านตะวันออกแห่งพระนคร โดยก่อเจดีย์เก่าลูกหนึ่งอันมีอยู่ที่นั้น ลงแรงก่อสร้างครั้งแรกเมื่อเดือนอ้ายเพ็ญ จุลศักราช 928 (ค.ศ 1566). เมื่อสร้างแล้วบริบูรณ์จึงให้นามว่า (พระธาตเจดีย์โลกจุลามนี) และมีหลายๆ วัดที่พระองค์สร้างขื้นในยุคนั้น.


 


หมายเหตุ ผู้เขียนขออนุญาตคงชื่อตามแบบฉบับเดิมของภาษาลาว...