Skip to main content

ศักดิ์ศรีและสิทธิ ประชาชน ควรเป็นจริงได้แล้ว ในรัฐธรรมนูญ 2550

คอลัมน์/ชุมชน

ภายในเดือนสองเดือนนี้ เราคงได้เห็นร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ในปี 2550 กันแล้ว และเป็นสิทธิของเราที่จะไปลงมติรับไม่รับ  ภายในไม่เกินเดือนกันยา ตุลา ปี 50 นี้  เลยขอถือโอกาสเสนอแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ในเรื่องที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนในฐานะมนุษย์  และเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน


 


เริ่มตั้งแต่แนวคิดที่รัฐไทยต้องเปลี่ยนไปคือ การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หมายถึงความเสมอภาคกัน ไม่ใช่เลือกปฏิบัติโดยเฉพาะเลือกปฏิบัติเพราะยากจน ยากไร้  จึงสมควรต้องสงเคราะห์ช่วยเหลือ แต่ต้องดำเนินการให้เป็นรัฐสวัสดิการ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนจนคนรวย และการดำเนินการให้เกิดการเฉลี่ยรายได้อย่างเป็นธรรม นำมาจัดสวัสดิการให้ทุกคน การจัดระบบภาษีใหม่ให้คนที่มีผลประโยชน์มากต้องจ่ายมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทั้งจากผลกำไรจากตลาดเงิน ตลาดทุน การเก็งกำไรที่ดิน การสะสมที่ดินโดยไม่ใช้ประโยชน์ การได้รับประโยชน์จากโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ  จึงใคร่ขอเสนอ การปรับปรุงรัฐธรรมนูญรายมาตรา ดังนี้  (หมายเหตุ  ขีดทับคือตัดออก ตัวเอียงคือสิ่งที่เพิ่มเข้าไป)


 


มาตรา…            ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ และคุณภาพชีวิต ของบุคคลย่อมได้รับความ


                       คุ้มครอง


ที่มา                  แก้ไข มาตรา 4 รัฐธรรมนูญ ปี 2540


เหตุผล              คุณภาพชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมากที่ควรบัญญัติให้คุ้มครองในบททั่วไป


 


หมวด....            สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยประชาชน


ที่มา                  แก้ไขหมวด 3 รัฐธรรมนูญปี 2540


เหตุผล              รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มีผลบังคับทุกตารางนิ้วของราชอาณาจักรไทยกับทุกบุคคล ไม่ใช่เฉพาะปวงชนชาวไทย


 


มาตรา...           บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายโดยเท่าเทียมกัน


                        ชายและหญิงการมีสิทธิเท่าเทียมกันระหว่างเพศ


การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายความพิการหรือสุขภาพ สถานะบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้


มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ


ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยเป็นธรรมตามวรรคสาม


การละเว้นหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่รัฐกำหนดตามวรรคสี่ ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม


ที่มา                  เพิ่มเติมมาตรา 30 รัฐธรรมนูญปี2540


เหตุผล              ไม่ต้องการให้ระบุเฉพาะหญิงชาย เพราะสถานการณ์เรื่องเพศ มีมากกว่าหญิงและชาย แต่


                        ควรให้ความสำคัญว่า ไม่ว่าเพศใด หรือการแสดงตัวตนด้วยสภาพเพศใด ควรได้รับการ


คุ้มครองเท่าเทียมกัน  ผู้พิการต้องการให้ระบุให้ชัดว่าสภาพร่างกาย หมายถึงความพิการ  เพื่อส่งเสริมมาตรการที่รัฐส่งเสริมตามวรรคสี่


 


มาตรา...           บุคคลต้องได้รับสิทธิเสมอกันในการรับสวัสดิการจากรัฐ ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา  การ


สาธารณสุข  การเลี้ยงดูบุตรกรณีเป็นครอบครัวเดี่ยว การมีงานทำ   การยังชีพอย่างมี


คุณภาพของผู้พิการ/ทุพพลภาพและผู้มีอายุเกินห้าสิบห้าปี  การจัดสรรที่ดินทำกิน การมีที่


อยู่อาศัย ทั้งนี้รวมถึงการบรรเทาทุกข์อย่างเร่งด่วน ในกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง 


เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูจากรัฐ ทั้งนี้คำนึงถึงการดำเนินการที่มีส่วนร่วมของชุมชนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับท้องถิ่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนา


ที่มา                  ไม่มีบัญญัติไว้เดิม เป็นการเพิ่มขึ้นมาเพื่อรับรองสิทธิ ในหมวดที่ 3 ของรัฐธรรมนูญปี 2540


เหตุผล              เพื่อเป็นมาตรารับรองสิทธิบุคคลในการได้รับ สวัสดิการจากรัฐ ที่ครอบคลุมในการมีคุณภาพ


ชีวิตที่ดี  ก่อนที่จะทำการแก้ไขปรับปรุง มาตราอื่นๆในหมวด 3 นี้ให้ลงรายละเอียดให้


ชัดเจนในสวัสดิการแต่ละเรื่องต่อไป


 


มาตรา...           บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี และการศึกษาขั้นสูงกว่าตามความต้องการและความสามารถของบุคคล ทั้งนี้ ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใดใด


การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ


เอกชน โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย


บัญญัติ


การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับ


การคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ที่มา                  ปรับปรุงจากมาตรา 43 จากรัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              เป็นการจัดสวัสดิการการศึกษาให้ทุกคนอย่างเสมอภาค โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย


 


มาตรา...           บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิ


ได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


การบริการและการจัดสวัสดิการทางสาธารณสุขของรัฐต้องครอบคลุมทุกโรคและเป็นไปอย่างเท่าเทียม ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้ การกระจายทรัพยากรในการจัดบริการสาธารณสุข ต้องให้มีความสอดคล้อง เหมาะสมกับจำนวนประชากรในพื้นที่


การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ โดยรัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และชุมชนมีส่วนร่วมด้วย ตามที่กฎหมายบัญญัติ


ที่มา                  ปรับปรุงแก้ไข มาตรา 52  จากรัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนต้องได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล และ


ป้องกันโรค จากรัฐ  โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติสำหรับคนจน คนด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้ยากไร้  ควรเป็นการจัดระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อย่างแท้จริง ที่ทุกคนเข้าถึง เท่าเทียม และครอบคลุม


                        ทั้งนี้  เนื่องจากปัจจุบันมี กฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 แล้ว และ


                        มีการให้เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมเป็นผู้ดำเนินการในระบบ


หลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้ว


 


มาตรา...           บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีห้าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิ


ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ บริการการช่วยเหลือด้านการยังชีพอย่างมีคุณภาพ สมศักดิ์ศรี ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ   ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ


ที่มา                  ปรับปรุงจากมาตรา 54 รัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              เป็นการรับรองสิทธิผู้สูงอายุให้ได้รับสวัสดิการ ด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรี  ตลอดจน


เป็นบริการที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม  การกำหนดอายุที่ห้าสิบห้าปี เนื่องจากสังคมปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่ออกจากงานเร็วขึ้น  และในชนบทผู้มีอายุเกิน 45 ปี ก็เริ่มเข้าสู่ภาวะทุกข์ยากในเรื่องโรคภัย การขาดคนเลี้ยงดู และการต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน ที่กำพร้า หรือ ทุกข์ยาก โดยไม่มีรายได้ประจำ


 


มาตรา...           บุคคลที่พิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิเข้าถึงการสื่อสารสาธารณะ  ได้รับสิ่งอำนวยความ


                        สะดวก อันเป็นสาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ


ที่มา                  แก้ไขมาตรา 55 รัฐธรรมนูญปี2540


เหตุผล              เพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลที่พิการหรือทุพพลภาพ


 


หมวด....            หน้าที่ของรัฐ


ที่มา                  แก้ไขหมวด 5 รัฐธรรมนูญปี 2540


เหตุผล              เพื่อให้ชัดเจนว่าเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องปฏิบัติ และจะได้สอดคล้องกับหมวด...... หน้าที่


                        ของประชาชน


 


มาตรา...           รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย ทาง


เพศ เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย และความเข้มแข็งของชุมชน


ที่มา                  แก้ไขมาตรา 80 วรรค 2 รัฐธรรมนูญปี2540


เหตุผล              สถานการณ์ปัจจุบันความเป็นเพศมีหลายหลายสภาพ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าหญิงหรือชาย จึง


                        ควรคุ้มครองให้ครอบคลุมไม่เลือกปฏิบัติ  และในปัจจุบันครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวมาก


                        ขึ้น จึงต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง


 


มาตรา...           รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม


จัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความ


เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม วิถีชีวิต จารีต ประเพณีท้องถิ่น สร้างเสริมความรู้


และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมี


พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัด


พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิ


ปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติที่มีความแตกต่างหลากหลายของชาติ


พันธุ์  รัฐต้องจัดตั้งสถาบันอิสระในการกำหนดแนวทาง จัดดำเนินการ ให้เกิดการพัฒนา


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่น ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาดังกล่าว


ที่มา                  ปรับปรุงจากมาตรา  81  รัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              เพื่อเคารพในศักดิ์ศรีของจารีต ประเพณีท้องถิ่น และความเป็นชาติพันธุ์  และการเน้นว่า


วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ปกป้องและคุ้มครอง


ตลอดจนสามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติให้มากที่สุดในรูปแบบของพลังงานหมุนเวียน การนำกลับมาใช้ใหม่ และการให้ชุมชนร่วมพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับตนเอง


 


มาตรา              ...รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ครอบคลุมทุกโรคได้


มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง การกระจายทรัพยากรทางสาธารณสุขต้องให้มีความสอดคล้อง เหมาะสมกับจำนวนประชากรในพื้นที่บริการ โดยรัฐต้องสนับสนุนให้องค์กรท้องถิ่น เอกชน และชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณสุข


ที่มา                  ปรับปรุงจากมาตรา 82  รัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              รัฐต้องแสดงเจตจำนงชัดเจน ว่าจะดำเนินการอย่างไร


 


มาตรา               รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ด้วยการจัดระบบภาษีอัตรา


                        ก้าวหน้า รวมถึงภาษีมรดก ภาษีจากการสะสมที่ดินโดยไม่ใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า การ


                        ได้รับผลประโยชน์จากตลาดหุ้น การเก็งกำไรจากการดำเนินโครงการขนาดใหญ่


                        ของรัฐ 


ที่มา                  ปรับปรุงจากมาตรา 83  รัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              รัฐต้องแสดงเจตจำนงชัดเจน ว่าจะดำเนินการอย่างไร


 


มาตรา...           รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงาน ดำเนินการขยาย


                        ประกันสังคมให้ครอบคลุมโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง แรงงานภาคการผลิต


                        ทั้งหมดทั้งที่เป็นแรงงานประจำ หรือแรงงานบางเวลา แรงงานตามฤดูการ  แรงงานย้ายถิ่น


                        จัดระบบแรงงานสัมพันธ์ การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม


ที่มา                  ปรับปรุงตามมาตรา 86 รัฐธรรมนูญ 2540


เหตุผล              มีแรงงานจำนวนมากเกินครึ่งของแรงงานทั้งหมดในประเทศ เป็นแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบ


                        จ้างงานประจำ เป็นแรงงานรับเหมาช่วง รับงานไปทำที่บ้าน รับจ้างตามฤดูกาล รับจ้างทำ


ฟาร์มผลิตรายย่อย  เช่น หาบเร่ แผงลอย คุ้ยขยะ  ประกันสังคม ซึ่งเป็นสวัสดิการของรัฐ ต้องครอบคลุมคนเหล่านี้ด้วย


 


 


มาตรา...           บทบัญญัติในหมวดนี้มีไว้เพื่อเป็นแนวทางทิศทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนด


นโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน  ซึ่งคณะรัฐมนตรีต้องจัดดำเนินการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว


                        ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาตามมาตรา ๒๑๑ คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการฃ                                              แผ่นดิน ต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้


                        เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งบทบาทหน้าที่ของรัฐตามที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้ และ


                        ต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการรวมทั้งปัญหาอุปสรรค เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่ง


                        ครั้ง หากประชาชนเห็นว่าคณะรัฐมนตรีไม่ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ของรัฐ หรือ


                        ดำเนินการล่าช้า หรือดำเนินการผิดไปจากทิศทาง  ประชาชนสามารถเข้าชื่อ


                        จำนวนหนึ่งหมื่นชื่อยื่นต่อรัฐสภาให้มีการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเปิด


                        อภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีได้


 


มาตรา...           รัฐต้องดำ