Skip to main content

เมืองยอดนิยมแห่งหลวงพระบาง

คอลัมน์/ชุมชน


หลวงพระบาง


เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองเล็ก...แต่ทำไมถึงมีชื่อเสียงก้องโลก? แล้วไปหลวงพระบางจะไปดูอะไร? มีอะไรที่น่าสนใจ?. ถ้าถามอย่างนี้ก็คงมีคำตอบแล้ว...สำหรับผู้ที่จะไปเที่ยวเมืองหลวงพระ บางครั้งแรก. สำหรับผู้ที่เคยไปเที่ยวแล้ว ล้วนพบว่ามีหลายอย่างพิเศษและน่าสนใจ. ถ้าเป็นนักภูมิศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ก็คงถามว่าทำไมต้องมาสร้างเมืองในเขตนี้ด้วย?


 


ผืนแผ่นดินหลวงพระบาง


 


เดิมทีเมืองหลวงพระบางให้นามว่า นครเชียงทอง เป็นหนึ่งในจำนวนทั้งห้าหัวเมืองที่มีชื่อขื้นต้นด้วยคำว่า: "เชียง" เป็นดินแดนที่สำคัญในอดีตคือ : "เชียงรุ้ง" ในสิบสองปันนา (มณฑลยูนนานของจีน) "เชียงตุง" ในดินแดนพม่า, "เชียงใหม่" ในดินแดนประเทศ (ไทย)และอันสุดท้ายก็เห็นจะเป็น "เชียงขวาง" หลวงพระบางตั้งอยู่ใจกลางของบรรดาเมืองเหล่านี้, มันเป็นเรื่องบังเอิญ หรือด้วยความตั้งใจของผู้สร้าง ! มันเกี่ยวโยงอะไรกับ "บ้านเชียง" แหล่งมรดกโลกอายุ 5,000 – 7,000 ปีในจังหวัดอุดรธานี ภาคอีสานของไทย !


 


           


หลวงพระบางมีที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบและเป็นพื้นที่แคบ ๆ ริมฝั่งของ (โขง) มีแม่น้ำคานไหลมาประกบ โดยมีภูสีเป็นศูนย์กลาง (จุดเชื่อมต่อ) และมีภูท้าว ภูนางโอบกอดทั้งสองด้าน  น้ำคานเป็นแม่น้ำที่ไหลมาจากภูเลยเป็นที่ ๆ นักโบราณคดีได้ค้นพบกระดูกและร่องรอยมนุษย์โบราณเมื่อประมาณ 40,000 ปี กระดูกมนุษย์ซึ่งถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์


 



 


ทุกสายน้ำ ภูเขาที่ตั้งห้อมล้อมหลวงพระบาง ล้วนแต่มีเรื่องราวอันลึกซึ้งและน่าสนใจ


 


คนหลวงพระบาง


ผ่านการเวลาอันแสนยาวนาน แต่อดีตถึงปัจจุบัน,ถึงแม้ว่าบางเวลาสถานการณ์บ้านเมืองจะผันแปร แต่ผู้คนในเมืองนี้ก็ดำรงชีวิตอยู่ในความสงบสุข ในฐานะคนเมืองหลวงของประเทศ นับตั้งแต่อาณาจักรล้านช้างได้รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1353 เป็นต้นมา และถึงแม้ว่านครหลวงถูกโยกย้ายมาที่เวียงจันทน์ใน ค.ศ.1560 แต่เมืองนี้ก็ยังคงชื่อว่า "เมืองหลวง" และบอกคำว่า "พระบาง" เข้าเป็น "หลวงพระบาง" จนมาถึงเท่าทุกวันนี้


           


ชาวเมืองหลวงพระบางเป็นคนที่มีน้ำใจไมตรี เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ เมตตากรุณาและเชื่อถือศัรทธาสูงส่งในทางพระพุทธศาสนา. คนหลวงพระบางสืบทอดปกปักรักษาไว้ซื่งวัฒนธรรมอันดีงามของเผ่าพันธุ์ไว้เป็นอย่างดียิ่ง. หลวงพระบางมีแหล่งประวัติศาสตร์,ธรรมชาติและหลายอย่างที่สนใจ. คนอื่นคุยให้ฟังคงไม่เหมือนที่เรา ๆ ไปสัมผัสด้วยตัวเองแน่ ถ้างั้นก็ลองไปดูสิถึงจะรู้ว่ามันจริงหรือไม่ !


 


ปีใหม่ลาวที่หลวงพระบาง


 



 


แม้กระทั่งคนลาวด้วยกันก็หลงร้อง โอ... เมื่อได้เห็นงานประเพณีที่หลวงพระบาง. งานประเพณีเป็นงานสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ (คาดกันว่าลาวได้รับวัฒนธรรมอย่างนี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ.638) แต่ก่อนโน้น ลาวถือเอาแรม 1 ค่ำเดือนเจียง เป็นวันขื้นปีใหม่และเรียกชื่อเดือนแรกนี้ว่า "เดือนอ้าย" และคำๆ หนื่งเนื่องด้วยว่ามีบุญกินเจียงเพื่อเป็นการฉลองเทศกาลเช่นเดียวกับเผ่าม้งในปัจจุบัน. ต่อมาได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขื้นปีใหม่. ประเพณีนี้ได้ถูกกำหนดอย่างเป็นทางการ ในจารีตประเพณี (ฮีตสิบสอง) ของลาวมาตั้งแต่ยุคเจ้าสุริยะวงสา.


 


ทำไมถึงเรียกว่า "หลวงพระบาง"


เดิมที เมืองนี้มีชื่อว่า "เชียงดง เชียงทอง" และ "เมืองซวา" และต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลาวล้านช้างแต่ปี ค.ศ.1353 เมื่อครั้งพระเจ้าฟ้างุ่มรวบรวมหัวเมืองลาวเป็นอาณาจักรสำเร็จ.


 


การที่เรียกว่า "หลวงพระบาง" ที่เรา ๆ เรียกกันทุกวันนี้มาจากชื่ ที่เป็นสิริมงคลของ พระพุทธรูป "พะบาง" หรือ "พระบาง"อย่างในรูปนี้. งานประติมากรรมนี้หล่อด้วยโลหะประสม เป็นพระพุทธรูป ปางห้ามญาติ(ขออนุญาตอธิบายว่า "ปาง" คือยุคสมัย) มีความสูง 85 เซนติเมตร หนัก 53, 400 กิโลกรัม.


 


แต่เหตุที่คนลาวเรียกว่า "พะบาง" นั้น มหาสีลาวีระวงศ์อธิบายไว้ในตำนานพระบางว่า "พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระปางห้ามญาติแท้ๆ แต่คนทั้งหลายชอบเรียกเพียงว่า "พะปาง" จากนั้นมาคำว่า "ปาง" ก็เพี้ยนมาเป็น "บาง"  ด้วยเหตุผลของตัวอักษร ระวาง "" และ "" เพราะว่า ในหนังสือธรรมมีการสะกดคำ หรือรูปเขียนที่คล้ายกันมาก...


 


ตำนานเล่าว่า : พระบางได้รับการหล่อหลอมขื้นที่ประเทศลังกาในปี พุทธสมัย พ.ศ.436 (ก่อนปี ค.ศ.107 ) และประดิษฐานอยู่ที่นั่นจนถึงปี พ.ศ.1500 (ค.ศ.957) บางตำนานกล่าวว่า (พ.ศ.654) จึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐานที่ประเทศเขมรถึงปี พ.ศ.1902 (ค.ศ.1359) จากนั้นพระเจ้ามหาชีวิตของเขมร จึงพระราชทานพระบางให้พระเจ้าฟ้างุ่มมหาราช พระเจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรล้านช้างตามคำทูลขอ.


 


พระเจ้าฟ้างุ่มมหาราช มีพระราชประสงค์จะนำเอาพระบางขื้นไปประดิษฐานที่นครหลวง, แต่ในเวลาที่นำพระบางขื้นมาจากเขมรนั้น เมื่อมาถึงเมืองเวียงคำ(เมืองทุละคมแขวงเวียงจันทน์ทุกวันนี้)ก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขื้น คือไม่สามารถโยกย้ายได้ เพราะว่าโดยปกติแล้วใช้คนหามถึง 8 คน แต่ให้หามถึง 24 คนก็ไม่ได้


 



 


ดังนั้น พระบางจึงได้ประดิษฐานไว้ที่นี้ได้นานถึง 153 ปี. จนถึง พ.ศ. 2055 (ค.ศ.1512) อันเป็นสมัยของเจ้าวิซุนนะราด ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าเมืองเวียงคำมาก่อน จึงสามารถนำเอาพระบางขึ้นไปประดิษฐานไว้ที่วัดวิซุนนะราดในนครเชียงทอง.


 


มีนักประวัติศาสตร์ลาวบางท่านสันนิษฐานไว้ว่า : พระบาง อาจถูกหล่อหลอมขื้นที่เมืองเวียงคำ ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีหลักฐานปรากฎในบันทึกของพระราชวังเขมรเกี่ยวกับพระบางนี้เลย, แต่ก็พบว่าที่เมืองเวียงคำนี้มี หอพระบางและพระบางก็ประดิษฐานอยู่ที่นี้นานถึง 153 ปี.