Skip to main content

เบื้องหลังการคอรัปชั่น : สิ่งที่สังคมไม่รู้

คอลัมน์/ชุมชน

































































































































































ไม่นานนี้เอง หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้ลงข่าวคราวที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชั่นที่น่าสนใจอย่างยิ่งด้วยกันสองข่าว

 

ข่าวแรกเป็นการปาฐกถาของ ดร . สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เนื่องในงานรัฐศาสตร์สนทนาเรื่อง " บ้านเมือง ใสสะอาด ต้องปราบคอร์รัปชั่น" ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 กันยายน ศกนี้โดยสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย

 

ในตอนหนึ่ง ดร . สุเมธได้กล่าวถึง ผลการสำรวจทัศนคติของเยาวชนต่อการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ได้รวบรวมจากโรงเรียนทั้งสิ้น 38 แห่ง ว่าเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก

 

การสำรวจนี้พบว่า เยาวชนกว่า 34 % เชื่อว่า การคอร์รัปชั่นเป็นวัฒนธรรมที่ไม่อาจแก้ไขได้ 45% เชื่อว่า การให้ค่าตอบแทนเล็กๆน้อยๆแก่ข้าราชการเพื่อแลกกับความสะดวกในการติดต่อไม่ใช่เรื่องเสียหายและจำนวนมากถึง 51% เชื่อว่าจะโกงก็ได้ แต่ต้องมีผลงานและทำประโยชน์ให้แก่สังคม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 ก.ย.2547  หน้า 2

 

อีกข่าวเป็นความเห็นของผู้จัดการกองทุนรวมผู้หนึ่งเกี่ยวกับทัศนคติของนักลงทุนที่มีต่อกรณีที่นายเอกยุทธ อัญชันบุตร ได้รับคำสั่งจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( กลต.) ให้แสดงข้อมูลหลักฐานการปั่นหุ้น การฟอกเงินและการยักยอกเงินออกจากบริษัทจดทะเบียนของนักการเมืองในรัฐบาลชุดนี้

 

โดยผู้จัดการกองทุนท่านนี้ ได้ลงความเห็นว่า นักลงทุนทั่วไปนั้นรับรู้ถึงพฤติกรรมการทุจริตดังกล่าวของนักการเมืองชุดนี้มานานแล้ว ดังนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนแต่อย่างใด มีแต่เพียงผลกระทบระยะสั้นเฉพาะกับหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องเท่านั้น หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจฉบับวันที่ 13 ก.ย.2547 www. Bangkok biznew.com

 
ข่าวทั้งสองชิ้นนี้ล้วนสะท้อนความเป็นจริงที่เราท่านต่างก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สังคมไทยยอมรับพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นของผู้มีอำนาจ ตราบใดที่ยังรู้สึกว่าพวกเขายังคงมีผลงานและสามารถสร้างผลประโยชน์ให้ส่วนรวมได้ 
 

และในเมื่อผู้มีอำนาจเองก็ทราบดีถึงค่านิยมนี้ พวกเขาจึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทุจริตของพวกเขาแต่ประการใด พวกเขาเพียงอาศัยการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารต่อไป เพื่อตอกย้ำความเชื่อว่า ผู้มีอำนาจและประชาชนยังคงสามารถร่วมมือและแบ่งปันผลประโยชน์กันได้ โดยที่ต่างผ่ายต่างได้รับส่วนแบ่งด้วยกันดังเช่นที่เคยเป็นมา เพียงเท่านี้ก็เป็นการเพียงพอ

 

ดังนี้แล้ว เรายังจะคาดหวังว่าตัวผู้มีอำนาจจะเอาจริงกับการปราบปรามการทุจริตที่พวกเขาเองเป็นผู้กระทำได้หรือ ในฐานะประชาชนผู้ไร้ซึ่งอำนาจ มิหนำซ้ำกลับมีค่านิยมที่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นเสียเอง เราจะต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่นกันได้อย่างไร

 

โลกนี้เปลี่ยนไป !
แท้จริง การที่ผู้มีอำนาจจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองและพวกพ้องพร้อมๆไปกับการแบ่งปันผลประโยชน์ให้สังคมนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกยุคปัจจุบัน เพราะโลกได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิงแล้ว ( ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1: การเปรียบเทียบสภาวะของโลกในอดีตกับ ปัจจุบัน

 




































อดีต


ปัจจุบัน


ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ


ภาคผลิต

ภาคการเงิน

ผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ ทุนทางการผลิต ทุนเก็งกำไร
เป้าหมายทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิต ลดการผลิต เพิ่มการเก็งกำไร
การกระจายรายได้ กระจายลง ถ่ายเทสู่นักเก็งกำไร ( ซีอีโอ)
ผู้มีอำนาจสูงสุดทางการเมือง รัฐ ซีอีโอ
ฐานะของประชาชาน หุ้นส่วนในผลผลิตคู่แข่งในการแย่งชิงเงินลงทุน

การแบ่งปันผลประโยชน์


ทุกผ่ายได้ (win-win)


ซีอีโอได้ ประชาชนเสีย ผู้ผลิตเสีย(zero –sum game)

 

ภาวะผลผลิตล้นเกินตลาดโลกที่เริ่มต้นขึ้นเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้วได้ผลักดันให้ธุรกิจหันเหเข้าสู่การเก็งกำไรในมูลค่าทรัพย์สินทางการเงิน ( หุ้น ตราสาร อนุพันธ์ ฯลฯ) และด้วยผลตอบแทนที่สูงกว่าภาคการผลิตหลายเท่าตัว เพียงไม่นานนัก ซีอีโอยุคใหม่ที่สร้างความมั่งคั่งจากการเก็งกำไรก็ได้กลายเป็นกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และในหลายประเทศพวกเขาก็ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำสูงสุดทางการเมืองอีกด้วย

 

กระแสการควบรวมบริษัท (Merger and Acquisition) และการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการที่เรียกกันว่า รีเอ็นจิเนียริ่ง ที่บังเกิดขี้นทั่วโลกตลอด 30 ปีมานี้ แท้จริงคือการทำให้ภาคการผลิตเล็กลงเพื่อโยกย้ายการลงทุนไปสู่การเก็งกำไรในภาคการเงินให้ได้มากที่สุด

 

ในเวลาเพียง 7 ปีจาก พ. ศ.2535-2542 มูลค่าทรัพย์สินที่เกิดจาการควบรวมบริษัททั่วโลกเพิ่มขึ้นถึงกว่า 21 เท่า ในขณะที่ผลผลิตของทั้งโลกยกเว้นประเทศจีนลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง 65% ของกำลังการผลิตรวม 

 

ในโลกใหม่ที่ระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินนี้ ประชากรแทบทั้งหมดบนโลกจึงไม่มีโอกาสได้รับส่วนแบ่งแต่อย่างใด ซ้ำร้ายยังกลายเป็นคู่แข่งตัวสำคัญในการแย่งชิงเงินลงทุนที่จำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความมั่งคั่งจากการเก็งกำไร และจำต้องตกเป็นผู้แพ้ตลอดมา

 

รายงานการพัฒนาของมนุษย์ประจำปี พ . ศ.2539 ขององค์กรสหประชาชาติระบุว่า จากปี พ. ศ.2533 เป็นต้นมา ประเทศกำลังพัฒนากว่า 100 ประเทศต้องประสบกับภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ หนึ่งในสี่ของประชากรโลกหรือ 1.6 พันล้านคนมีรายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง 

 

ไม่เพียงแต่ประชาชนในประเทศโลกที่สามเท่านั้นที่ต้องสูญเสียและตกเป็นผู้แพ้ แม้แต่ผู้คนของประเทศกลุ่มผู้นำทุนนิยมเองก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงชะตากรรมเดียวกันนี้ไปได้

 

สถาบันเศรษฐศาสตร์แนวใหม่ (New Economics Foundation) ได้พัฒนาดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขที่ยั่งยืนขึ้นเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับประชาชนในหลายประเทศทั่วโลกย้อนกลับไปตั้งแต่ประมาณพ.ศ.2493 เป็นต้นมา และพบว่าประชาชนในประเทศผู้นำทุนนิยมส่วนใหญ่ก็มีคุณภาพชีวิตที่เลวลงเช่นกัน ( ตารางที่ 2)

 

ตารางที่ 2 ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขที่ยั่งยืน

 


























ประเทศ ปีที่ขึ้นสูงสุดประมาณการลดลง
สหรัฐอเมริกา2511ลดลง 40% จนต่ำกว่าปี2493
อังกฤษ2517พ. ศ.2533 เหลือ 3% สูงกว่า ปี2493
เนเธอร์แลนด์ 2523  
เยอรมัน2524ลดลง 40% ในเวลาเพียง 7 ปีจากปี 2524
ออสเตรเลีย2524  

 


ที่มา : "The Post-Corporate World" โดย David C. Korten, หน้า 71

 

ซีอีโอกับประชาชน : ใครได้ใครเสีย?

 

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดว่า ในโลกทุกวันนี้นักเก็งกำไรมืออาชีพระดับโลกคือผู้ที่สามารถตักตวงผลประโยชน์มหาศาลจากการทุจริตคอร์รัปชั่นได้โดยไร้ความเสี่ยง และผู้คนส่วนใหญ่แทบทั้งหมดคือผู้ถูกเอาเปรียบโดยไม่รู้ตัว

 
การศึกษาข้อมูลของสำนักงบประมาณประจำรัฐสภาสหรัฐอเมริกา ( U.S. Congressional Budget Office ) พบว่า ในช่วง 27 ปี จากปี พ. ศ. 2516-43 นั้น 40% ของประชากรสหรัฐผู้เสียภาษีมีรายได้ที่แท้จริงลดลง 7 % ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงสุด 1 % มีรายได้เพิ่มขึ้น 148% เฉพาะผู้ที่รายได้มากที่สุด .1% มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 343% และที่น่าตกใจไปกว่านี้คือผู้ที่ร่ำรวยที่สุด .01% ของประเทศ พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 599 % เพิ่งอ้างหน้า21 ยิ่งกว่านี้ อภิมหาซีอีโอ 10 คนแรกของประเทศ พวกเขามีรายได้เพิ่มขึ้นอีก 44 เท่าตัว ภายในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 20 ปี เพิ่งอ้างหน้า25 ในขณะที่ผู้คนจำนวน 35.8 ล้านคน หรือ 12.5 % ของทั้งประเทศกลายเป็นคนยากจน
 
แม้แต่เหตุการณ์เศรษฐกิจฟองสบู่โลกแตกที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2543 ที่ทำให้มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีท หดหายไปถึง 28 ล้านล้านบาท และมูลค่าหุ้นของทั่วทั้งโลกลดฮวบลงถึงกว่า 50 ล้านล้านบาท ก็หาได้กระทบบรรดาซีอีโอนักเก็งกำไรได้ไม่
 

เพราะเช่นเดียวกับครั้งก่อนๆ พวกเขาเพียงแต่โยกเงินออกจากตลาดหุ้น ไปสู่การเก็งกำไรในตลาดตราสารหนี้ ตลาดอนุพันธ์ หรือตลาดซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เท่านี้ พวกเขาก็สามารถสร้างกำไรได้ต่อไปตามปกติ

 

ซีอีโอกับการทุจริตที่ไม่ต้องรับผิด

 

ข่าวคราวของการทุจริตโดยบรรดาซีอีโอของบรรษัทขนาดยักษ์ต่างๆ เช่น เอนรอน ซีรอกส์ ไทโค โกลบอล ครอสซิ่ง และเวิร์ลคอม ที่จนถึงทุกวันนี้ยังปราศจากผู้รับผิดชอบ ข่าวคราวเหล่านี้ล้วนเป็นหลักฐานยืนยันถึง อำนาจที่เหนือกฎหมายของพวกเขา นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันของสหรัฐก็ยังประกอบไปด้วยอดีตซีอีโอของบรรษัทยักษ์ใหญ่ถึง 6 คน มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ‘Special  Report Bush and Big Bussiness’นิตยสารThe Economist ฉบับ13-19 July 2002หน้า23 หลายคนเคยพัวพันกับการทุจริต

 

เช่นเดียวกับนายคลินตัน ประธานาธิบดีคนก่อนที่ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการทุจริตในคดีบริษัทไวท์วอเตอร์ บริษัทอสังหาริมทรัพย์แห่งหนึ่ง นายบุชก็เคยถูกสอบสวนในคดีที่ถูกกล่าวหาว่าอาศัยข้อมูลลับของบริษัทที่เขาเป็นกรรมการในการซื้อขายหุ้น (INSIDE TRADING)  เพิ่งอ้าง หน้า22

 
นายดิ๊ก เชนีย์ รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน อดีตรองประธานบริษัท ฮาลิเบอร์ตัน บรรษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ก็กำลังถูกดำเนินคดีในข้อหาที่บริษัทติดสินบนรัฐบาลไนจีเรียด้วยเงินจำนวน 7,380 ล้านบาท ในขณะที่เขายังเป็นผู้บริหาร www.thenation.org , Will the French Indict Cheney? Doug Izeland, December 27,2003
 

นอกจากนี้ หลายผ่ายได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับงบประมาณทางการทหารของรัฐบาลชุดนี้ ที่มีมูลค่าสูงถึง 16.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ว่ามีเงื่อนงำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้จ่ายงบประมาณในการฟื้นฟูประเทศอิรัก

 

ทั้งนี้บริษัทฮาลิเบอร์ตันเป็นผู้ได้รับสัมปทานรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่างานที่มากถึง 45 ,000 ล้านบาท และนอกจากนี้ บริษัทเวิร์ลคอมที่ถูกดำเนินคดีเนื่องมาจากการตกแต่งบัญชี ก็เป็นอีกรายที่ได้รับการว่าจ้าง ‘Pentagon Hands Major Iraq Deal to Scandal-Riden Worldcom’โดยAssociated Press, September 22, 2004

 

หากนำเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะพบว่าแทบไม่แตกต่างกันเลย นั่นก็คือ ซีอีโอผู้กุมอำนาจทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจไม่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของพวกเขาแต่ประการใด

 

สรุป

 

การจะต่อสู้กับการทุจริตคอร์รัปชั่น ก็คือการร่วมกันค้นหาและตีแผ่ความจริงที่เกิดขึ้นให้เป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คนว่า ในโลกปัจจุบันที่ผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จคือ ซีอีโอนักเก็งกำไรมืออาชีพ การทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกเขาที่มีจำนวนเพียงหยิบมือเดียว หมายถึงการสูญเสียอย่างใหญ่หลวงของผู้คนแทบทั้งหมด

 

แน่นอนสื่อมวลชนกระแสหลักอาจจะยังสามารถสื่อสารข้อเท็จจริงของการทุจริตคอร์รัปชั่นของพวกเขาออกสู่สาธารณะได้ แต่ก็ไม่เพียงพอ และรัฐในฐานะที่ต้องพึ่งพิงอำนาจของเหล่านักเก็งกำไรเหล่านี้ ก็ไม่ต้องการให้ประชาชนรับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ดังนั้น ภาระทั้งหมดจึงตกอยู่กับประชาชนด้วยกันเอง เท่านั้น

 

กระแสความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็วที่บังเกิดขึ้นแล้วทั่วโลก เป็นประจักษ์พยานถึงความสามารถของภาคประชาชนในการสื่อสารข้อเท็จจริงระหว่างกัน ผ่านวิธีการที่ศูนย์อำนาจไม่อาจควบคุมได้ อาทิเช่น การพูดคุยกันเอง สภากาแฟ ระบบอินเตอร์เน็ต การส่งผ่านข้อความทางโทรศัพท์มือถือ (SMS) เครือข่ายเทปผีซีดีเถื่อน ฯลฯ

 

วิธีการเหล่านี้ เมื่อบวกรวมกันแล้วก็กลายเป็นระบบเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพสูงเสียยิ่งกว่าการสื่อสารกระแสหลักเสียอีก ถึงเวลาแล้วที่ภาคประชาชนของไทยเรา สมควรจะหันมาให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่เป็นของประชาชนอย่างแท้จริงเหล่านี้ แทนที่จะคิดอาศัยสื่อกระแสหลักที่ไร้อิสระมากขึ้นทุกที

 

= เชิงอรรถ