Skip to main content

อย่าลืมเที่ยวหลวงพระบางคราสงกรานต์

คอลัมน์/ชุมชน

ก่อนที่ผมจะเล่าถึงวันสงกรานต์, ผมขอกล่าวย่อๆ ถึงเรื่องราวของการเดินทางที่สุดแสนไกลโพ้นของหลวงพระบางว่าเคยเดินทางไปที่แห่งใดบ้าง


 


เมื่อถึงปี คศ.1560 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สถาปนานครเวียงจันท์ขื้นเป็นนครหลวง และได้นำเอาพระแก้วมรกตและพระแซกคำจากหลวงพระบางมาประดิษฐานที่นครเวียงจันท์, ส่วนพระบางนั้นยังคงไว้เพื่อเป็นมิ่งขวัญเมืองที่นครเชียงทองและนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมานครแห่งนี้ก็มีชื่อว่า "นครหลวงพระบาง"  แต่คนส่วนมากชอบพูดว่า "หลวงพระบาง" ดังที่เป็นอยู่ทุกวันนี้


 


เมื่อถึง คศ.1714 พระบางได้ถูกนำมาประดิษฐานที่นครหลวงเวียงจันท์ร่วมกับพระแซกคำและพระแก้วมรกต


 


คศ. 1778 พระบางได้ถูกกองทัพสยามนำไปบางกอกพร้อมกับพระแซกคำและพระแก้วมรกต


คศ. 1812 สยามได้ส่งพระบางคืนมาประดิษฐานที่นครเวียงจันท์


คศ. 1827 กองทัพสยามได้นำเอาพระบางไปบางกอกอีกครั้ง (เป็นครั้งที่สอง)


คศ. 1887 สยามส่งพระบางคืนให้หลวงพระบาง


 


เพราะฉะนั้น, หลวงพระบางถึงมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายหลายอย่างให้เรียนรู้  ทุกอย่างกล่าวมานั้น ล้วนสัมพันธ์กันและเกี่ยวดองกับงานประเพณีทางวัฒนธรรมของคนหลวงพระบาง เช่นในงานประเพณีสงกรานต์ ถึงแม้ว่าจะฉลองกันในทุกแห่งหนของประเทศลาว แต่งานสงกรานต์ที่หลวงพระบางก็ยิ่งใหญ่กว่าที่ใดๆ ในประเทศ ถ้าหากศึกษาให้ดีก็จะเห็นความสำคัญ เช่น:


 


การแห่วอ


คือขบวนแห่พระสงฆ์ที่นั่งอยู่บนพาหนะ (พาสนา) จากวัดที่อยู่ทางใต้ของเมือง (เริ่มต้นจากวัดทาส) เพื่อขึ้นไปนมัสการพระสงฆ์ที่มี (บรรดาศักดิ์หรือว่าบวชหลายพรรษา) ที่ประจำอยู่วัดด้านเหนือซึ่งรวมตัวกันอยู่ที่เชียงทองวรมหาวิหาร (วอ คือ พาหนะแบบโบราณสำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือผู้มีเกียรติยศ เช่น เจ้านาย หรือพระสงฆ์เป็นต้น. 


 


"วอ"  มีหลังคาคลุมด้วยคือเรือน ด้วยการใช้คนหาม (ทุกวันนี้พระสงฆ์ไม่มีวอให้ใช้ แต่นั่งรถแทน) ในภาษาไทยพูดว่า "คางคกขื้นวอ ในความเปรียบเทียบไว้ว่า คนชั้นต่ำได้มีโอกาสขึ้นไปนั่งที่ทรงเกียรติแล้วหลงตัวเองว่า เป็นผู้สูงส่ง"


 


ปู่เยอ ย่าเยอ หมายถึงผู้เสียสละ


จากขบวนพระสงฆ์แล้วก็เป็นขบวนปู่เยอ ย่าเยอ พร้อมด้วยสิงแก้ว – สิงคำ การที่ขบวนปู่เยอ ย่าเยอเข้าร่วมแห่นี้ช่างมีความหมายสูงส่งเสียเหลือเกิน เพราะคือการเตือนให้อนุชนลาวทุกคนจงมีสติและระลึกถึงคุณความดีของผู้เป็นพ่อแม่, ครูบาอาจารย์, บรรพบุรุษที่มีต่อชาติและแผ่นดิน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้บุญรู้คุณ


 


นิทานเล่าว่า : ในยุคที่อาณาจักรลาวอยู่ที่เมืองแถงมีเครือเขาเกิดขึ้น, เครือเขานั้นสูงใหญ่จนบังแสงตะวัน ทำให้โลกมืดครึ้ม, อากาศหนาวเย็น ปู่เยอ ย่าเยอ ก็ขันอาสาไปตัดเครือเขานั้นทิ้ง, เมื่อสำเร็จแล้วก็สิ้นชีพ  เมืองลาวก็คือทั้งโลกถึงมีแสงสว่างจ้าเท่าทุกวันนี้สืบมา.


 



 


นางสังขาร


นางสังขาร คือบุตรสาวของ พญากะบินละพม ทั้ง 7 คนมีชื่อดังนี้ :


 


1.นางทุงสะเทวี นางคนนี้ทัดดอกพิลา ประดับด้วยอาภรณ์แก้วปัดภะมะราด รับประทานหมากเดือเป็นอาหาร, มือขวาถือจักร มือซ้ายถือหอยสังข์ มีพญาครุฑเป็นพาหนะ


 


2.นางโคราคะ คนนี้ทัดดอกกลางของ ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วมุกดา รับประทานน้ำมันงาเป็นอาหาร มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือไม้เท้า มีเสือเป็นพาหนะ


 


3.นางรากสะ ทัดดอกบัวหลวง ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วโมรา รับประทานเลือดเป็นอาหาร มือขวาถือตรีสูร(หอกสามเหลี่ยม) มือซ้ายถือธนู มีหนูเป็นพาหนะ


 


4.นางสุมนทา ทัดดอกจำปา ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วพิทูน รับประทานนมเป็นอาหาร มือขวาถือเข็ม มือซ้ายถือไม้เท้า มีลาเป็นพาหนะ


 


5.นางกิรินี  ทัดดอกจำปา ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วมรกต รับประทานถั่วและงาเป็นอาหาร มือขวาถือขอ มือซ้ายถืออาวุธปืน มีช้างเป็นพาหนะ


 


6.นางกิมิทา ทัดดอกจังกอน (บัวแดง) ประดับอาภรณ์แก้วขาว รับประทานกล้วยทะนีออง มือขวาถือพระขรรค์ มือซ้ายถือพิณ มีควายเป็นพาหนะ


 


7.นางมะโหทอน ทัดดอกผักตบ ประดับอาภรณ์ ด้วยแก้วนิล รับประทานเนื้อชายเป็นอาหาร มือขวาถือจักร มือซ้ายถือตรีสูร มีนกยูงเป็นพาหนะ


 


นางสังขารที่หลวงพระบาง คือ นางสาวที่ได้รับชนะจากการประกวดโดยมีคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติเป็นผู้ตัดสิน การประกวดนี้จัดขึ้นทุกปีก่อนวันเข้าร่วมขบวนแห่ "วอ"


 



 


จุดประสงค์ของการประกวด คือ เพื่อเลือกสรรนางสาวที่มีมารยาทอันดีงาม เหมาะสมในการปฏิบัติเป็นนางสังขาร มิได้มุ่งหมายเพื่อหาความงามทางกาย เหมือนกับนางงามในต่างประเทศ  พิธีการประกวดก็มิได้ใหญ่โตอะไรและก็ไม่มีรางวัลเป็นสิ่งตอบแทนผู้เข้าประกวดแต่อย่างใดเลย


 


นางสาวที่เข้าประกวดก็ไม่ใช่คนที่มาจากท้องถิ่นอื่น ไม่ใช่ตัวแทนที่มาจากบริษัทผู้แสวงหาผลประโยชน์ทางการค้า  ไม่ใช่ตัวแทนขององค์กรใดๆ แต่หากเป็นตัวแทนของชาวบ้านชาวเมือง  ตัวแทนของหนุ่มสาวผู้ที่เตรียมพร้อมที่จะรับใช้พ่อแม่  ประเทศชาติและสังคม ด้วยการสืบสายวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม


 


การประกวดจะเริ่มจากสายตาของชาวบ้านที่สรรหาลูกหลาน ภายในบ้านของตน ก่อนจะนำไปสู่การตัดสินของคณะกรรมการ


 


เราสามารถพูดได้ว่า หญิงสาวชาวหลวงพระบางทุกๆ คนล้วนได้ผ่านการประกวดนางสังขารมาแล้วทั้งนั้น


 


ภารกิจสำคัญของนางสังขาร ก็คือ เป็นลูกที่ดี ด้วยการนำเอาหัวของท้าวมหาพรหมผู้เป็นพ่อออกมาร่วมขบวนแห่ไปรดสรงเพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ตามที่พ่อได้สั่งก่อนสิ้นใจ ภายหลังที่ได้ปฏิบัติหน้าที่แล้ว นางสังขารก็เสร็จสิ้นภารกิจของตน


 


อย่างไรก็ดี คนหลายคนให้ความสนใจนางงามทางกายกันมากหลายขึ้นและยกย่องบทบาทนางสังขารจนเกินฐานะ