Skip to main content

ความเชื่อและเรื่องเล่าชนเผ่าลาหู่

คอลัมน์/ชุมชน

 


                                                                                                                                                   หญ้าป่า


 


 



 


ชนเผ่า"ลาหู่" หรือ "มูเซอ" เป็นอีกหนึ่งชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยผืนนี้


 


ส่วนใหญ่แล้วชนเผ่าลาหู่ ยังคงมีความเชื่อ นับถือผี นับถือพระเจ้ากันอยู่ (พระเจ้าของลาหู่เรียกกันว่า อื่อซา)
ซึ่งเป็นการสื่อสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและวิถีความเป็นอยู่ ทั้งที่เกี่ยวกับผืนดิน ผืนป่า สัตว์ป่า หรือสายน้ำ


 


ในธรรมชาติ ทุกสรรพสิ่งล้วนเกี่ยวโยงกันและกัน


 


ยกตัวอย่างเช่น ข้อห้ามในเขตพื้นที่ป่า "แย้เขาะ" หรือป่าดงดิบที่อยู่บนภูเขาสูง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่หนาแน่น
ป่าผืนนี้มีความชุ่มชื้น อากาศเย็น  สัตว์ป่านานาชนิดจะอาศัยอยู่ที่นี่  เพราะเป็นแหล่งหาอาหาร มีผลไม้ป่ามากมาย 
ผู้คนชนเผ่าลาหู่จึงช่วยกันรักษาเอาไว้ คนเฒ่าคนแก่จึงมีคำสอนและข้อห้ามให้ลูกหลานยึดถือสืบต่อกันมาหลาย
ชั่วอายุคน


 


แหละนี่เป็นบางบทบางคำสอนของชนเผ่าลาหู่...


 


ห้ามโยนก้อนหินในบริเวณป่านั้น ห้ามร้องตะโกน


ห้ามพูดเสียงดัง อย่าตัดไม้แล้วลากกลับบ้าน 


ถ้าไม่เชื่อจะถูกผีป่าเล่นงาน หรือจะถูกเสือขบกัด


เมื่อดูยอดไม้หรือแหงนมองท้องฟ้าแล้วอย่าหัวเราะเยาะ 


ห้ามร้องไห้ในป่า ถ้าไม่อย่างนั้นปากจะเบี้ยว 


ห้ามอุจจาระหรือปัสสาวะลงในแม่น้ำ 


ห้ามเอาผ้าที่เปื้อนเลือดเมื่อคลอดลูกไปซักในลำน้ำ 


เพราะอาจทำให้เลือดนั้นไหลไม่ยอมหยุด


เมื่อเข้าไปในป่า ห้ามสามีภรรยาหรือหนุ่มสาวมีเพศสัมพันธ์กัน 


มิฉะนั้นจะถูกเสือกัด


 


ว่ากันว่า สมัยก่อนนั้นในป่าจะมีเสือเยอะมาก ถ้าใครทำผิดเสือจะเข้ามาในหมู่บ้าน กัดกินสัตว์เลี้ยงของ


คนที่ทำผิด  หรือคนที่ฝ่าฝืนอาจทำให้เจ็บป่วยไม่สบาย


 


นอกจากนั้น ยังมีป่าต้องห้ามอีกมากมาย เช่น ป่าชอ ตู่  กือ  หรือ ป่าช้า  ป่าอิ๊กะ หล่อ อุ๊ หรือป่าต้นน้ำ


ที่มีน้ำไหลออกมา จะห้ามมีการตัดไม้หรือเข้ามาทำไร่ในบริเวณนี้


 


ป่า "แม กุ แจ" หรือป่าผีดุ หมายถึงป่าที่มีต้นไทร ต้นโพธิ์ขึ้นแถวนั้น ลาหู่มีความเชื่อว่า ต้นโพธิ์ ต้นไทร


นั้นเป็นบ้านของรุกขเทวดา เทพาอารักษ์ ถ้าใครลักลอบตัดจะมีอันเป็นไป กระดูกผุเปื่อยง่าย เป็นโรค


เรื้อน ใกล้ตาย


 


"โตโบ" หรือผู้นำศาสนาและพิธีกรรม จะคอยสั่งสอนให้ลูกหลานได้รับรู้ว่า "อื่อซา"  พระเจ้าผู้เป็น


ใหญ่ของชนเผ่าลาหู่  เป็นผู้ที่ทำให้เรามีความสุข  และดลบันดาลทุกสรรพสิ่งให้เรา ถ้าหากเราทำ


อะไรไม่ดี ก็สามารถจะลงโทษเราได้


 


"...ให้นับถือศาสนาของเรา 


แม้ว่าเขาจะเอาดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์มาวางให้


ก็ไม่ใช่ ขอให้นับถือศาสนาดั้งเดิมของเรา..."


 


โตโบเล่าให้ฟังว่า ถ้าอื่อซา พระเจ้าของลาหู่ มาหาเรา จะได้ยินเสียงเดิน เสียงเคาะไม้เท้า


เดินทางเจ็ดวัน ทุกสรรพสิ่ง ทั้งคน ทั้งสัตว์ ตัวหนอน แมลง


ทั้งต้นไม้ใบหญ้า ต่างพากันโน้มตัวน้อมคารวะให้ทั้งหมด


 


หลายคนคงแปลกใจ ว่าทำไมชาวลาหู่ ถึงไม่ฆ่าชะนีสีดำ หรือลิงดำ!? 


 


เมื่อผู้เขียนถาม "เอียก้วย" หนุ่มลาหู่ที่ทำงานอยู่ร่วมกับพี่น้องชนเผ่านตามดงดอย จึงพอรู้และเข้าใจ


ว่าเป็นความเชื่อเรื่องเล่าของชนเผ่าลาหู่ 


 


เขาบอกว่า…


 


ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว…มีสองผัวเมียลาหู่ ชายชื่อ ซะจ๊ะป่า หญิงชื่อ นาเหมาะมา อาศัยอยู่ด้วยกันใน


กระท่อมกลางป่าลึก ทำสวนทำไร่กันตามประสา อยู่มาคืนหนึ่ง พระเจ้าลงมาบอกซะจ๊ะป่า บอกว่า


พรุ่งนี้จะลงมาหา ห้ามไปไหน จะพาไปอยู่บนสวรรค์ 


 


รุ่งเช้า ผัวเมียคู่นี้ก็นั่งรอพระเจ้า นานหลายนาน จนเมียบ่นพ้อต่อว่า รอตั้งนานไม่เห็นมาสักที จนรอ


ต่อไปไม่ไหว นาเหมาะมาจึงบอกผัวว่า จะออกไปหาปลาในลำห้วย  ปล่อยให้ผัวนั่งรอคนเดียว


 


พอนางออกไปไม่นาน พระเจ้าก็ลงมาเพื่อจะรับซะจ๊ะป่าขึ้นไปบนสวรรค์ ก่อนจะไป ซะจ๊ะป่ายังห่วง


อาลัยหาเมียอยู่  จึงทำน้ำมนต์เอาไว้แก้วหนึ่ง  เผื่อว่าถ้านางกลับมา ให้ดื่มน้ำมนต์นี้แล้ว จะได้ตาม


ขึ้นไปหา 


 


เมื่อนางนาเหมาะมา กลับมาถึงบ้าน ด้วยความรีบร้อนนางทำน้ำมนต์หกลงพื้นดิน ไก่ที่เลี้ยงไว้


ตรงเข้ามาจิกกินน้ำมนต์  ไก่จึงได้ขึ้นสวรรค์  นางเห็นดังนั้น  จึงรีบยกดื่มน้ำมนต์ที่เหลือเพียงนิด


เดียว  เพื่อจะได้ตามผัวของนางไป แต่สุดท้ายนางก็ไปไม่ถึงสวรรค์ ขึ้นไปถึงแค่บนต้นไม้ยอดไม้


และได้กลายร่างเป็นลิงสีดำ


 


นับตั้งแต่นั้นมา ลาหู่จึงไม่เคยคิดฆ่าลิงสีดำอีกเลย  เพราะความสงสาร...


 


เมื่อฟังความเชื่อและเรื่องเล่าของชนเผ่าลาหู่นี้แล้ว จะเห็นว่าชีวิตของชนเผ่าพื้นเมืองนั้น ต่างก็มี


วิถีความเชื่อ การอาศัยอยู่กับป่า อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องสัมพันธ์และพึ่งพากันและกัน


ไม่ว่าผืนดิน ผืนป่า สายน้ำ  สรรพสัตว์ และผู้คน...


 


ซึ่งบอกได้ว่า ไม่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองใด ล้วนมีภูมิปัญญามีรากเหง้าของตัวเอง หาใช่เป็นเพียงแค่


ชนเผ่า ชาวเขา ที่สังคมไทยและรัฐไทยพยายามบอกย้ำว่าเป็นชนกลุ่มน้อย คนชายขอบ คนชายแดน


เป็นคนโง่ เป็นตัวก่อปัญหา ตัดไม้ทำลายป่า และถือว่าเป็นแนวคิดที่แฝงไว้ด้วยอคติทางชาติพันธุ์


อย่างยิ่ง!


 


"รัฐไทยจะต้องรีบปรับเปลี่ยนทัศนคติแบบเก่าแบบเดิมนั้นเสียใหม่" เสียงใครคนหนึ่งตะโกนบอก.