Skip to main content

บทความที่ 100

คอลัมน์/ชุมชน

Don't Give Up On Us Baby


By David Soul


 


Don't give up on us, baby


Don't make the wrong seem right


The future isn't just one night


It's written in the moonlight


Painted on the stars


We can't change ours


 


Don't give up on us, baby                                      


We're still worth one more try


I know we put a last one by


Just for a rainy evening


When maybe stars are few


Don't give up on us, I know


We can still come through


 


I really lost my head last night


You've got a right to start believing


There's still a little love left, even so


 


Don't give up on us, baby


Lord knows we've come this far


Can't we stay the way we are?


The angel and the dreamer


Who sometimes plays a fool


 


http://www.ex-designz.net/englishlyrics/displaysong.asp?lid=620


http://www.geocities.com/bjaes.geo/lyrics/dsoul.htm


 


รายละเอียดเพลงนี้หาได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Don't_Give_Up_On_Us


 


เพลงนี้เป็นเพลงที่ผู้เขียนชอบมากอีกเพลงสมัยเรียนหนังสือที่สหรัฐฯ เป็นเพลงที่ผู้เขียนถามตัวเองตลอดเรื่องจะเรียนจบหรือไม่จบ ถามตัวเองว่าจะทำไงดี โดยเฉพาะตอนที่หมดกำลังใจยิ่งทำวิทยานิพนธ์แบบไม่เห็นวี่แววจะเสร็จนี่ มันกดดันมาก แถมเวลามีใครมาถามว่าเมื่อไรจะจบนี่ นอนไม่หลับไปหลายคืน เพราะมัวแต่เป็น "ไทยเดินเล่น" เพราะคิดไม่ออกว่าจะแก้งานส่งอาจารย์อย่างไร ดีที่ว่าพ่อแม่ที่เป็นเจ้าของทุนไม่บีบบังคับ เลยใช้เวลาเป็นไทยเดินเล่นและทำวิทยานิพนธ์สิริรวมเกือบสามปี เป็นช่วงที่สนุกแบบกดดันในใจอย่างที่สุด ทำงานหนักส่งแล้วส่งอีกไม่ได้เรื่องสักที เรียกว่าคลำเองทุกอย่าง คลำผิดจนระอาตนเอง


 


เพลงนี้จริงๆ เป็นเพลงรักที่บอกว่าอย่าเพิ่งท้อเมื่อมีปัญหาในการใช้ชีวิตร่วมกัน การที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันต้องอดทน พร้อมที่จะยอมรับปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยกันแก้ไข  จึงนำมาเป็นเพลงประกอบสำหรับบทความที่ 100 สำหรับ "ประชาไท" ตรงนี้ชอบฝรั่งที่มีเพลงที่ไม่หลอกคนฟังจนเกินไปว่าความรักจะต้องราบเรียบ หรือไม่งั้นก็มีแต่ปัญหาไปหมด เหมือนเพลงไทยทั่วไป คงเป็นความแยบยลในระบบความคิดของเขา ดังนั้น เพลงของเขาเลยมีแง่มุมมากกว่าก็ได้ แต่ก็มีเพลงไทยหลายเพลงที่ให้ความหมายดีๆ แต่ไม่ค่อยจะเจอนัก


 


ไม่กี่วันมานี้ ผลสอบไม่ว่าจะเป็น เอ-เน็ท และ โอ-เน็ท ออกมาให้เห็นกันแล้ว หลายคนก็พอใจหลายคนก็ไม่พอใจ ที่ตลกคือมีคนได้คะแนนศูนย์ในวิชาที่สอบที่แยกกันออกไป ทำให้รมว. ศึกษาถึงกับหัวเสีย แต่ก็น่าหัวเสียอยู่หรอกเพราะทำอย่างไรที่ว่าคะแนนออกมาได้แบบนี้ คงมีอะไรในกอไผ่ ที่สำคัญมีคนหนึ่งที่ได้ศูนย์นี้เป็นคนใกล้ตัวของคนใกล้ตัวผู้เขียน รู้แล้วอยากขำแต่ขำไม่ออกเพราะอนาคตของเด็กคนนี้คงไม่แจ่มใสเสียแล้ว เป็นเพราะผลการสอบนี้ ถ้าผลสอบนี้ไม่เป็นความจริงก็คงจะดี ได้ข่าวว่าเจ้าของเรื่องจะไปเช็คกับต้นสังกัดอีกทีว่าคะแนนนี้ถูกต้องจริง


 


เรื่องสอบเอ็นทร้านซ์แบบใหม่นี้เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวกับคนรุ่นเก่าแบบผู้เขียน ทั้งที่ระบบนี้ก็เลียนแบบสหรัฐฯ มา แต่กลับเป็นว่าผู้เขียนไม่คุ้นเอากับที่นี่เสียเลย ปัญหาคือระบบการศึกษาไทยระดับมัธยมนั้นมีความเหลื่อมล้ำต่ำสูงกันมากมาย การใช้ระบบแบบสหรัฐฯไม่น่าจะเป็นเรื่องสะดวกนัก โดยเฉพาะเรื่องการเกลี่ยคุณภาพของโรงเรียนดีและดีน้อยลงมา ในกรุงและนอกกรุง แต่ว่าคงมีคนคิดกันดีแล้วกว่าจะมีการดำเนินงานแบบนี้  ผู้เขียนคงไม่เสนอความเห็นกว่านี้ เพราะไม่มีอำนาจอะไรจะไปคัดง้าง


 


การมีคนสมหวัง ก็ย่อมมีคนผิดหวัง เพราะโลกนี้ในบางมุมคือการมีทรัพยากรที่จำกัด  การเรียนในเมืองไทยนั้น เป็นการแย่งกันเรียนที่ไม่ค่อยยุติธรรมมาตลอด เพราะคนที่อยากเรียนสถาบันที่มีคุณภาพมากหน่อย ก็ยิ่งต้องแย่งกันมาก (อันนี้สหรัฐฯก็เป็น แต่เค้าก็กระจายโอกาสเท่าที่จะทำได้)  การเรียนมหาวิทยาลัยดังๆคือการซื้อหลักประกันอนาคต สำหรับคนๆนั้น เช่นถ้าได้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ก็ถือว่าโอกาสตกงานมีน้อย มีโอกาสในชีวิตมากขึ้นมากกก ไม่ว่าจะเป็นคณะที่คะแนนต่ำๆ ลงมาหน่อยก็ตาม ถือว่าเป็นหางราชสีห์ ซึ่งไงๆ ก็เป็นราชสีห์ ไม่ใช่หัวหมาเพราะไงๆ ก็เป็นหมา คนจึงแห่เข้าสถาบันดังๆ ไว้ก่อน


 


สมัยปี 2531 โดยประมาณ ที่ "สตรีสาร" ผู้เขียนเคยเปิดประเด็นเรื่องสถาบันการศึกษาว่ามีผลในการกำหนดชะตาชีวิตคน หลังจากที่เพื่อนซี้คนหนึ่งไปเปิดประเด็นไว้ตรงนั้นว่าไม่มีส่วน ผู้เขียนแย้งอย่างชัดเจนว่า สถาบันมีส่วนเพราะว่าเป็นเรื่องที่สังคมกำหนดและเป็นเรื่องบริบททางสังคมที่มีผลโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ เช่น ที่กล่าวมาข้างต้น ในสมัยนั้นการศึกษาไม่ได้เปิดกว้างแบบเดี๋ยวนี้ คนจะเข้าปริญญาตรีในสถาบันดังๆได้มีสัดส่วนน้อยมาก ในขณะที่ปัจจุบันง่ายกว่าเดิม แต่กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่ด้อยโอกาสจะมีโอกาสได้เข้าไปง่ายๆ  เพราะเดี๋ยวนี้การเข้ามหาลัยดังๆแบบที่รับตรงก็ต้องใช้เงินมากมายกว่าปกติ คนรวยจึงมีทางเลือกมากกว่า (พูดถึงรับตรงที่หลังจากพลาดหรือรู้ตัวว่าจะพลาดจึงไปรีบเข้าดักไว้ก่อน) อันนี้ไม่ใช่การที่เราเรียกว่าเปิดโอกาสทางการศึกษาเสียเท่าไรนัก เพราะจะเป็นผลดีแก่คนที่มีทรัพยากรมากกว่าเท่านั้น  คนที่โอกาสน้อยกว่าก็ต้องไปสถาบันที่ด้อยลงมา


 


ผู้เขียนได้ผ่านการทำงานในระบบการศึกษามานานเป็นสิบปีแล้ว หลายครั้งก็นึกว่าอยากเดินออกมา ไปทำอย่างอื่นเสียบ้าง ใจก็ไม่กล้าพอเพราะเห็นในหลายครั้งว่าแม้วงการศึกษาจะเลวร้าย แต่ก็ไม่เท่ากับหลายวงการที่ผ่านมา คนในวงการศึกษาที่เลวร้ายเป็นเพราะว่าวงการขาดคนมาทำงาน ทำให้มีการคัดคนเข้ามาอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เร่งผลิตคนในประเทศเองอย่างรวดเร็วด้วย เพราะเอาแค่มีดีกรีแล้วก็เอามาทำงาน จวบกับระบบ "อุปถัมภ์" ในไทยทำให้ระบบคุณธรรมมาใช้ได้ไม่เต็มที่ เราจึงเห็นบุคคลกำมะลอเดินเต็มเมืองไปหมด (ส่วนคนที่เก่งจริงๆ ก็มี ผู้เขียนรู้จักอยู่หลายคน) ครูอาจารย์ที่ตำแหน่งวิชาการสูงๆ แต่ไม่ได้หมุนไปกับวิทยาการที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ   และการที่มีตำแหน่งสูงๆ ทำให้คอแข็งยอมไม่ได้ที่จะบอกว่าไม่รู้หรือยอมรับว่ากระแสใหม่ๆเข้ามาแล้ว หนำซ้ำไม่ค่อยยอมให้คลื่นลูกใหม่จัดการต่อไป


 


เพลงนี้ช่วยทำให้ผู้เขียนมองชีวิตอย่างเข้าใจขึ้นบ้าง มองอาชีพปัจจุบันอย่างใจเป็นธรรมมากขึ้น นึกสงสารเด็กรุ่นใหม่มากกว่าที่เหมือนมีโอกาส แต่ไม่ใช่โอกาสเลย การที่เข้าไปศึกษาในบางสถาบันที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้ต่างกับการไปนั่ง "sit time" ไปให้ครบกำหนด แต่ไม่มีอะไรเติมในหัวสมอง คิดไม่เป็น เขียนไม่เป็น มัวแต่คิดอย่าเดียวว่าเอาปริญญามาแล้วชีวิตฉันจะสมหวัง ก่อนเข้าก็สัญญากับกรรมการคัดเลือกว่าจะเรียนเต็มที่ ไม่กลัวลำบาก แต่พอเข้ามาได้แล้วเป็นอีกเรื่อง เห็นได้บ่อยๆ ผู้เขียนนึกขำอยู่เสมอแล้วก็ผ่านไปเพราะทำอะไรไม่ได้ เพราะสังคมไทยมองเป็นเรื่องนี้ว่าปกติและยิ่งกว่าปกติ


 


ช่วงท้ายของเพลงบอกว่า การที่ทนต่อไป และทำตัวไม่ต่างจากคนโง่ อาจทำให้ชีวิตมีความหวัง และไม่ท้อแท้จนเกินไป ได้เตือนให้ผู้เขียนมองอะไรได้ง่ายขึ้น การเล่นบทคนโง่อย่างมีสติไม่ได้หมายความว่าเราจะโง่จริงๆ แต่อย่างน้อยทำให้คนเราไม่ทุรนทุรายจนกินไปนัก แต่อยู่ได้กับโลกจริงๆ อันไม่น่าพิสมัยเท่าไรนัก


 


Don't give up on us, baby


Lord knows we've come this far


Can't we stay the way we are?


The angel and the dreamer


Who sometimes plays a fool