Skip to main content

พื้นที่อันตราย (ตอน 2 รัฐสภา)

คอลัมน์/ชุมชน

ก่อนคุยเรื่องต่อไป ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติม กรณีข้อดีข้อเสียของ  ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกันก่อน เพื่อเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น  


 


ในปี 2535 ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เคยเป็น พ...ที่ดีที่สุด มีประโยชน์ที่สุดฉบับหนึ่ง ณ ช่วงเวลานั้น เพราะในยามนั้นประชาชนคนไทย ไม่มีหลักประกันใดๆ ในการดำเนินชีวิต เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าคดีความมากมาย  บางครั้งเงินที่เก็บออมมาทั้งชีวิต ต้องหมดไปเพียงเพราะเกิดอุบัติเหตุครั้งเดียว   เมื่อมี พ...ฉบับนี้สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น  แต่มาถึงปี 2545 เกิด พ...อีกฉบับ (ผู้เขียนก็เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดขึ้น) นั่นคือ พ...หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักประกันที่คุ้มครองประชาชนคนไทยให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล ทุกโรค และเกือบทุกคน (ยังไม่คุ้มครองโรคไต ซึ่งก็มีการรวมตัวกันเพื่อฟ้องคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฐานเลือกปฏิบัติกรณีไม่คุ้มครองโรคไต)


 


การมี พ...หลักประกันสุขภาพฯ  ทำให้ พ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่เคยเป็น พ...ที่ดีที่สุด กลายเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาพยาบาลของพี่น้องประชาชนคนไทยไป  เพราะหากคนที่มีสิทธิหลักประกัน ไม่ว่าจะเจ็บป่วยอะไรมา จะได้รับการรักษาทันทีโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ (ยกเว้นโรคไต) แต่หากเจ็บป่วยเพราะประสบอุบัติเหตุจากรถ  ไม่ว่าจะเจ็บมากเจ็บน้อย  คุณต้องไปใช้สิทธิ พ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก่อนโดยอัตโนมัติทันที   โดยมีข้อกำหนดว่าต้องไปเบิกจ่าย 15,000  บาทแรกจาก พ...รถ เมื่อหมดแล้วจึงจะไปใช้สิทธิหลักประกันได้  และนั่นคือปัญหา เพราะการจะใช้สิทธิ พ...รถได้  ผู้ประสบเหตุต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ  และต้องมีใบขับขี่  ที่สำคัญคือต้องทำ พ...รถด้วย 


 


ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย  ทำให้เกิดอุปสรรคในการเข้าถึงบริการ  ส่งผลให้ผู้ทำ พ...ไม่ใช้สิทธิ  รถชนก็แจ้งว่าตกต้นไม้บ้าง อื่นๆ บ้าง (มีงานวิจัยบ่งชี้ชัดเจน) ส่งผลให้บริษัทประกันภัย มีกำไรมหาศาลมากกว่า  5,000   ล้านบาท ในแต่ละปี   (กินฟรีโดยไม่ต้องลงทุน) นอกจากนั้น พ...คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  ยังเป็น พ...ที่โหดร้าย ประกันขาด 2 วัน ก็หมดสิ้นการคุ้มครอง เช่นกรณีลุงสวัสดิ์ที่ขอนแก่น ต้องติดคุกแทนค่าปรับเพราะลืมต่อ พ...ไป 2 วัน


 


ดังนั้น การคัดค้านจึงมีที่มาที่ไปที่เป็นเหตุเป็นผล  เพราะการแก้กฎหมาย (ซึ่งแก้ไม่ได้ง่ายๆ) ถ้าแก้แล้วไม่สามารถทำให้ประชาชนพ้นทุกข์จะแก้ไปทำไม  และผลจากการไปคัดค้าน ผู้เขียนก็เลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา  ...ฉบับนี้   และการที่ผู้ทรงเกือกอย่างผู้เขียนเข้าสภา ก็มีเรื่องให้ฮาตรึม   


 


เริ่มตั้งแต่เรื่องการแต่งตัว ที่แน่ๆ ไม่มีสูทใส่แน่นอน  หน้าดำหัวยุ่งสไตล์เรา ก็ยิ่งบ่งชี้ถึงชนชั้น ทำให้ยิ่งย้ำให้เห็นว่ารัฐสภาเป็นพื้นที่อันตรายสำหรับประชาชนจริงๆ เพราะที่นั่นเขาวัดความเป็นคนที่ตำแหน่ง ไม่ใช่การกระทำ เพราะวันไหนเราเข้าไปในฐานะผู้ชี้แจง ก็จะถูกกันไปนั่งข้างหลัง น้ำหรือกาแฟอย่าหวังว่าจะได้เจอ วันไหนเข้าไปในฐานะกรรมาธิการ แต่งตัวอย่างไรก็จะกลายเป็นท่านทันที (ไม่ใช่การปฏิบัติจากท่านผู้ทรงเกียรติแต่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐสภาที่เขาถือปฏิบัติกันมานั่นแหละ) การพิจารณากฎหมายเป็นไปด้วยความสนุกสนาน สนุกอย่างไร มาดูรายชื่อและตำแหน่งกรรมาธิการชุดนี้กันหน่อยนะ  ดูแล้วช่วยคิดตามว่าผู้เขียนที่เป็นเพียงชาวบ้านตัวเล็กมันจะกล้ามีปากมีเสียงมั้ย 


 


อยากรู้ว่ามีใครบ้าง และการคัดค้านจะมีผลอย่างไร  อย่าลืมติดตามตอนหน้านะจ๊ะ