Skip to main content

ตุลาการโจร

คอลัมน์/ชุมชน

พฤติกรรมที่เข้าข่ายเรียกว่า "โจร" นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกตำแหน่งอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่อาชีพผู้พิพากษาที่ว่ากันว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ

แต่ผู้พิพากษาก็อาจกลายเป็นโจรไปในทันทีเมื่อสมคบคิดกับกลุ่มโจร คอยรับใช้และปฏิบัติตามคำสั่ง ตามความต้องการของโจรอย่างไม่คำนึงถึงเกียรติภูมิของตนเอง


คำว่าตุลาการโจร มาจากคำปราศรัยอันเผ็ดร้อนของครูประทีป  อึ้งทรงธรรม  ฮาตะ  แกนนำแนวร่วมประชาชนต้านรัฐประหาร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ที่ท้องสนามหลวงว่า


"ตุลาการรัฐธรรมนูญของไทยมาจากโจร   ดังนั้นกลายเป็นตุลาการโจรไปแล้ว แสดงว่าคำวินิจฉัยตัดสินยุบพรรคเป็นคำวินิจฉัยโจรไปด้วย  ดังนั้นในวันที่ 4 มิ.. เวลา 09.00 . เชิญชวนประชาชนเดินทางไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อร่วมนำดอกไม้จันทน์ไปวางและให้เตรียมไข่เน่าไปด้วย คำตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย  และตัดสิทธิกรรมการบริหารบริหาร  111  คน ก็ควรตัดสินให้ตัดสิทธิสมาชิกพรรคไทยรักไทย  14  ล้านคนไม่ต้องลงคะแนนเลือกตั้งไปด้วย  แล้วอย่างนี้จะมาเรียกร้องแนวทางสมานฉันท์ ใครจะไปสมานฉันท์กับแม่มึง" (ไทยโพสต์ 4 มิถุนายน 2550)


ขณะเดียวกันที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการอภิปราย "วิพากษ์คำวินิจฉัย 30 พฤษภาคม 2550" โดยมานิต จิตจันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกาและอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


มานิต กล่าวอย่างชัดเจนว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คนไม่มีสถานภาพเป็นศาลหรือผู้พิพากษาและไม่ได้ทำในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ไม่ใช่ในฐานะศาลเนื่องจากใช้คำว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" ไม่ใช่ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" คำวินิจฉัยจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่จะมีผลใด ๆ กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยไม่ต้องตกใจ เพราะเป็นเพียงเอกสารรายงานการรับจ้างคมช.


ตนรู้สึกเสียใจมาก ๆ ในฐานะผู้พิพากษาเก่าทำงานมากว่า 40 ปี ที่มีรุ่นน้องไม่กี่คนรับจ็อบกบฏ การรับงานคมช. ถือว่าเห็นดีกับการกบฏทำลายล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถือว่าตระบัดสัตย์ ตุลาการทั้ง 9 คนถือว่ามีความผิด ขอเสนอให้ปลดจากตำแหน่งศาลทุกศาล" (ไทยโพสต์ 4 มิถุนายน 2550)


พนัส กล่าวว่า "คำวินิจฉัยของคณะตุลาการตัดสินโดยใช้ความเชื่อ 2 มาตรฐานเป็นหลัก คือมาตรฐานความเชื่อ และมาตรฐานความไม่เชื่อ หรือตัดสินได้แค่ดำกับขาวซึ่งไม่ได้พิจารณาคดีตามพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง


ผมรู้สึกเป็นห่วงว่านอกเหนือจะมีการยึดบรรทัดฐานการตัดสิน โดยยอมรับอำนาจรัฐประหาร ยังมีการวินิจฉัยอีกหลายประเด็นซึ่งยืนยันว่าการปกครองในประเทศไทยอาจมีการสลับฉากโดยการยึดอำนาจรัฐประหารอีกเมื่อไหร่ก็ได้โดยที่มีอำนาจตุลาการคอยรองรับ อาศัยช่องทางศาลไทยและหลักนิติศาสตร์ซึ่งหากให้มีการสืบทอดประเพณีนี้ต่อไปการก่อรัฐประหารในประเทศไทยก็จะไม่มีที่สิ้นสุด และผมรู้สึกสะอิดสะเอียนกับการอ่านคำพิพากษาใน วันที่ 30 ..ที่ผ่านมาเพราะผมเห็นว่าเป็นเรื่องแหกตาประชาชนทั้งสิ้น คงคิดว่าคนไทยโง่และไม่เข้าใจ จึงมาเล่นละครของความชอบธรรมทั้ง ๆ ที่เป็นแค่ละครปาหี่" (ไทยโพสต์ 4 มิถุนายน 2550)


คำตัดสินของคณะตุลาการทำให้อุณหภูมิทางการเมืองร้อนขึ้นจนถึงจุดเดือด เพราะมันแสดงให้เห็นเด่นชัดว่าความยุติธรรมไม่อาจเกิดขึ้นได้ภายใต้ระบอบเผด็จการ คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญใช้ไม่ได้ก็เพราะไปยึดเอาประกาศของคณะรัฐประหารมาใช้


คำว่า "ตุลาการภิวัฒน์" ของนักวิชาการสติแตกจึงกลายเป็นเรื่องตลก เพราะชัดเจนแล้วว่าตุลาการนั้นได้อภิวัฒน์การเมืองย้อนหลังไปสู่ระบอบเผด็จการ ชัดเจนแล้วว่านักนิติศาสตร์ไทยรับใช้ใครก็ได้ที่ขึ้นมามีอำนาจ


ส่วนทางด้าน คมช. ร้อนตัวกลัวภัยที่ตนเองก่อไว้จึงได้ส่งข้อความไปยังโทรศัพท์มือถือระบุข้อความว่า "คมช.ขอให้พี่น้องประชาชนใช้ดุลยพินิจในการเข้าร่วมชุมนุม   และขอให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบอยู่ในกรอบของกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงและส่งผลเสียกับประเทศชาติ"


ความเคลื่อนไหวจากตุลาการเสียงข้างน้อย กิติศักดิ์   กิติคุณไพโรจน์  ผู้พิพากษาศาลฎีกาในกรณีวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คน ให้สัมภาษณ์ทางวิทยุ เอฟเอ็ม  101  เมกะเฮิรตซ์  เกี่ยวกับเหตุผลในการวินิจฉัยไม่ให้นำประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 ข้อ 3 มาย้อนหลังเอาผิดว่า  


"เป็นไปตามหลักนิติศาสตร์ที่มี rule of law คนที่เรียนกฎหมายจะรู้หลักนี้ดีว่ากฎหมายจะไม่มีผลย้อนหลัง   เพราะกฎหมายคือข้อบังคับที่ผู้มีอำนาจจะต้องตราออกมาให้ประชาชนได้รู้ว่ามีสิทธิทำอะไรและห้ามทำอะไรบ้าง เพื่อที่ประชาชนจะได้รู้และไม่ทำผิด


สำหรับที่มีการวิจารณ์ว่าคดียุบพรรค 2 กลุ่มมี 2 มาตรฐาน นายกิติศักดิ์กล่าวว่า ยืนยันว่าเป็นมาตรฐานเดียวกัน   เป็นไปตามที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องเข้ามา ยื่นประเด็นอะไรก็วินิจฉัยไปตามประเด็นนั้น   เช่น กรณีพรรคประชาธิปัตย์ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองยื่นเข้าไป แต่อัยการสูงสุดตัดออกไป ถ้ายื่นประเด็นนี้เข้ามาก็น่าคิดเหมือนกันว่าจะถูกต้องหรือไม่  เพราะในมุมมองของนักนิติศาสตร์หลายคนคิดว่าการที่ไม่ส่งผู้สมัครนั้นต้องมีเหตุขัดข้อง เช่น ไม่มีเงิน  ไม่มีคนพอ จึงไม่ส่ง แต่ไม่ใช่มีความพร้อมที่จะส่ง  แล้วกลับไม่ส่ง และไปทำลายระบบการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นแม่บทของการปกครอง พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งรู้ว่ามีความพร้อมที่จะส่งและถ้าส่งก็ชนะแน่นอน แต่ไม่ส่ง และต้องการล้มล้างนั้น ตรงนี้ก็เป็นมุมมอง  ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะบอกว่ามีสิทธิที่จะไม่ส่งสมัครก็ได้ แต่การใช้สิทธิไม่ส่งก็ต้องมีเหตุจำเป็น  ไม่ใช่ว่ากลัวแพ้ หากอัยการส่งเรื่องนี้เข้ามาก็คงต้องพูดกันเยอะเหมือนกัน


สำหรับการตัดสิทธิเลือกตั้งของ 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยนั้น ตุลาการเสียงข้างน้อยกล่าวว่า การตัดสิทธิ์การเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชน   เป็นสิทธิที่ให้ประชาชนเจ้าของประเทศมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ  สิทธิเลือกตั้งที่เป็นสิทธิที่จะไปหย่อนบัตร และไปลงสมัครให้เลือกเพื่อก้าวไปเป็น ส..และสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อไปตัดสิทธิเสียหมด ก็เหมือนกับว่าประชาชนคนนั้นเป็นเจ้าของประเทศ  แต่ไม่มีส่วนร่วมเสียเลย" (ไทยโพสต์, 5 มิ..2550) 


เหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนจากคำวินิจฉัยยุบและไม่ยุบพรรคการเมือง เป็นเสียงสะท้อนที่แสดงความไม่พอใจต่อของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของตุลาการ ต่อความไม่พอใจในความ อยุติธรรมที่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบเผด็จการ.