Skip to main content

กระบวนการสร้างสรรค์วรรณคดีลาว

คอลัมน์/ชุมชน

กระบวนการสร้างสรรค์วรรณคดีลาวในทุกวันนี้ สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นกระบวนการที่ดีมาก มีชีวิตชีวา ทว่าหากไม่มองลึกลงไปถึงแก่นแท้ของมัน แต่เมื่อเรายืนที่ตรงจุดเดิม แล้วรู้จักใช้สายตาสอดส่องห่างออกไปจากจุดที่เรากำลังมองอยู่นั้น เราก็จะรู้สึกว่ามีอะไรกำลังเกิดขื้น

จากตรงนี้เราก็ต้องมองที่นโยบายของรัฐบาล หรือการปกครองของพรรค และรัฐบาลลาวที่กล่าวว่า "ทำอย่างไร เราต้องออกแรงรักษาและสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไว้ให้ยืนนาน"


เมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณกรรม ก็คือจุดรวมยอดของวัฒนธรรม เพราะวรรณกรรมสามารถสะท้อนปัญหาให้เห็นได้ชัดเจนกว่า ละเอียดกว่ากับการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านต่างๆ ในชีวิตวัฒนธรรมของระยะประวัติศาสตร์ที่แน่นอน เพราะวรรณกรรมสามารถสะท้อนลักษณะประวัติศาสตร์ได้ละเอียดกว่าประวัติศาสตร์เสียอีก แล้วทุกวันนี้มีอะไรเกิดขึ้นล่ะ?






นโยบายของพรรคและรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว ถูกต้องและเป็นธรรมที่สุดที่ออกแรงปกป้องและสืบทอด มรดกและวัฒนธรรมอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ แต่ในความเป็นจริงนั้น การปกป้องมรดกของบรรพบุรุษนั้นทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะทำได้ เพราะมันแสดงออกในสองด้าน คือ การสืบทอดและการขยาย


ในด้านการสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามที่มีแล้วนั้น พวกเรายังไม่สามารถนำมาเผยแพร่ให้คนรุ่นหนุ่มได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ตัวอย่างวรรณคดีในแต่ละระยะนั้น ล้วนสะท้อนให้ทุกคนเห็นได้ถึงความศิวิไลซ์ของแต่ละยุคของประวัติศาสตร์ของชาติลาว


ในด้านการขยายวรรณกรรมอันเก่าแก่ของบรรพบุรุษนั้น ดูจากอีกมุมหนึ่งแล้ว เหมือนกับว่าเราๆ ทำได้ แต่ เมื่อเรามองให้ละเอียดลงไปอีกรูปหนึ่ง เราจะเห็นว่า เราๆ กำลังเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากีดกั้นความงามวรรณคดีแบบดั้งเดิมไว้


ตัวอย่างที่มีให้เห็น เช่น การถอดความจากหนังสือสินไช ออกมาเป็นคำอ่านในรูปธรรมดาให้คนหนุ่มๆ สาวๆได้อ่านและเข้าใจซึ่งมันเป็นเรื่องที่ดี แต่ทว่าเรามองดูความละเอียดในความงามในด้านวรรณศิลป์ Literature and arts ของผู้แต่งนั้นเสียหาย คุณค่าทางวรรณคดีก็เสื่อมตัวลง


คำถามก็มีอยู่ว่า ทว่าเราไม่แปลเป็นคำอ่านแบบธรรมดาเพื่อคนหนุ่มๆได้อ่านและเข้าใจ เพราะคนหนุ่มๆ สาวๆ ไม่สามารถเข้าใจความหมายของผู้ประพันธ์เลยแล้วเราจะทำอย่างไร? ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นต้องแปลเป็นคำอ่านธรรมดา?






จากคำถามข้างบนนั้น ชักนำผมให้คิดไปต่างๆ นานา และเราก็มีคำถามเผื่อให้ทุกคนได้ช่วยกันตอบว่า เรากำลังวิ่งตามไอ้พวกคนที่ไม่เข้าใจอะไรเลยงั้นหรือ?


หรือว่าเรากำลังหาทางในการศึกษาเขาเหล่านี้ให้เป็นคนที่มีความเข้าใจในรูปวรรณคดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ?


แน่นอน ทุกคนคงตอบข้าพเจ้าว่า เราต้องสอนให้คนหนุ่มๆ สาวๆ เข้าใจสิ เพื่อความคงตัวและขยายตัวทางวัฒนธรรมของชาติ


แต่ก็อาจมีคำถามขื้นมาว่า การที่ทำอะไรให้คนเข้าใจได้ง่ายเกินไปจะดีมั้ย? การเข้าใจอะไรง่ายเกินไปทำให้คนไม่ใส่ใจในการค้นคว้าเล่าเรียน เพราะเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว กวีนิพนธ์และสิ่งอื่นๆ ที่เป็นมรดกที่บรรพบุรุษทิ้งไว้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุดของชาติ สิ่งที่คนรุ่นหลังควรที่จะสืบทอดก็คือ การเรียนรู้ให้เข้าใจด้วยการศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้งถืงแก่นแท้ของวรรณกรรม


อย่างใดก็ดี, ส่วนตัวของข้าพเจ้าไม่มีความสามารถที่จะพูดได้ว่า ทำอย่างนั้นถูก ทำอย่างนี้ผิด แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ วรรณคดี ก็คือวรรณกรรมของชาติ เป็นมรดกของทุกเผ่าพันธุ์ในชาติ เป็นสิ่งที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะมรดกเหล่านั้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความศิวิไลซ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัยในประวัติศาสตร์ที่แน่นอน


ฉะนั้น การสืบทอดและขยายวรรณกรรมเหล่านั้นจึงมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับคนลาวทุกเผ่าพันธุ์