Skip to main content

สึนามิ (Tsunami)

 


สัปดาห์นี้ขอเล่าถึงคลื่นสึนามิ เพราะยังมีข่าวลือเกิดขึ้นเสมอ ๆ ทุกครั้งที่มีประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา จึงต้องนำมาเขียน ยืนตามหลักวิชาการดังนี้


คลื่นสึนามิ เป็นคลื่นน้ำขนาดใหญ่ ซัดเข้าหาฝั่งและก่อให้เกิดความเสียหาย ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า Tsu หมายถึงอ่าวหรือท่าเรือ สำหรับคำว่า nami แปลว่าคลื่น


สาเหตุการเกิดคลื่นสึนามิ
๑. ภูเขาไฟใต้มหาสมุทรระเบิด
๒. แผ่นดินที่อยู่บนทวีปถล่มลงทะเล
๓. เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในทะเลและมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง
๔. หน้าผาบนภูเขาใต้น้ำถล่ม
๕. อุกาบาตหล่นลงในทะเล


ขอเรียนตามหลักวิชาการที่ได้จาก คุณสมิทธ ธรรมสโรช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ว่า ถ้าเกิดแผ่นดินไหวในทะเลขนาดใหญ่มากกว่า ๗.๔ ริคเตอร์ขึ้นไป และมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของเปลือกโลก จึงจะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ


ต่อไป ถ้าท่านฟังประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา ถ้ามีแผ่นดินไหวในบริเวณเกาะสุมาตรา ขนาดต่ำกว่า ๗.๔ ริคเตอร์ ท่านคลายความกังวลไปได้ ถามว่า ถ้ามีแผ่นดินไหวในทะเลมากกว่า ๗.๔ ริคเตอร์เกิดคลื่นสึนามิหรือไม่


คำตอบคือ ถ้าไม่มีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในแนวดิ่ง ก็จะไม่เกิดคลื่นสึนามิ ถึงแม้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า ๗.๔ ก็ตาม


ถามว่า แตกต่าง ๑ ริคเตอร์ มีขนาดไหน ตามหลักการคำนวณนั้น มีความแตกต่างกว่า ๓๐ เท่า!เพราะฉะนั้น ระหว่าง ๖ ริคเตอร์กับ ๗ ริคเตอร์นั้นความรุนแรงแตกต่างกันสามสิบเท่า

ในมหาสมุทรอินเดีย เคยเกิดแผ่นดินไหวมากกว่า ๘ ริคเตอร์แต่ก็ไม่เกิดสึนามิ เพราะไม่มีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของเปลือกโลก เราก็เลยตั้งอยู่ในความประมาท คิดว่าไม่การเกิดคลื่นสึนามิแถวนี้ก็เลยไม่การติดตั้งสถานีตรวจจับคลื่นสินามิในมหาสมุทรอินเดีย ทั้ง ๆ ที่ในมหาสมุทรแปซิฟิก มีสถานีตรวจคลื่นสึนามิ มากกว่า ๑๕๐ สถานี


ลักษณะของการติดตั้งสถานีเตือนภัยล่วงหน้า มีทั้งทุ่นลอยน้ำเพื่อวัดความเร็วของคลื่นผิวน้ำ และตั้งเครื่องวัดความเร็วของคลื่นใต้น้ำ รวมทั้งมีการส่งสัญญาณไปที่ดาวเทียมเพื่อให้ทราบความเร็วของคลื่นสึนามิ


ในประวัติศาสตร์มีแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า ๙ ริคเตอร์นับตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๐ มีดังนี้


ขนาด (ริคเตอร์)                              ประเทศ                            ปี ค.ศ.                               ผู้เสียชีวิต
    ๙.๕                                          ชิลี                               ๑๙๖๐                               ๕,๗๐๐  
    ๙.๒                                       อลาสก้า                             ๑๙๖๔                                ๑๒๕
    ๙.๑                                       อลาสก้า                             ๑๙๕๗                                  ๐
    ๙.๐                                       รัสเซีย                               ๑๙๕๒                                  ๐
    ๙.๐                                       สุมาตรา                             ๒๐๐๔                            ๑๕๐,๐๐๐


แต่ถ้านับเรียงจากจำนวนผู้เสียชีวิต จะมีประวัติศาสตร์ ดังนี้




























๗.๕   จีน  ๑๙๗๖  ๒๕๕,๐๐๐
๗.๙ จีน๑๙๒๗๒๐๐,๐๐๐
๘.๖จีน๑๙๒๐๒๐๐,๐๐๐
๙.๐สุมาตรา๒๐๐๔ ๑๕๐,๐๐๐
๗.๙ญี่ปุ่น๑๙๒๓๑๔๓,๐๐๐

ขณะนี้รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะตั้งระบบเตือนภัยระหว่างประเทศแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ ซึ่งจะมีการเชื่อมระบบเตือนภัยระหว่างประเทศด้วย

ส่วนในขณะที่ยังไม่มีระบบเตือนภัย เราต้องคอยฟังว่าเมื่อมีประกาศแผ่นดินไหวในสุมาตรามากกว่า ๗.๔ ริคเตอร์ เราก็ต้องทำดังนี้


สังเกตปรากฎการณ์ของชายฝั่ง หากทะเลมีการลดระดับน้ำลงมากหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมา ให้อพยพคนในครอบครัวให้อยู่ห่างชายฝั่งมากและอยู่ในที่สูง


ถ้าอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ในอ่าว ให้รีบนำเรือออกไปกลางทะเล เพราะคลื่นสึนามิพัดเข้าหาฝั่ง คลื่นสึนามิที่อยู่ไกลฝั่งจะมีขนาดเล็ก


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาหลังจากที่เกิดสึนามิ ก็เกิดมีแผ่นดินไหวหลายครั้ง ที่เขาเรียกว่า อาฟเตอร์ช็อค (After shock) ซึ่งมีผู้กังวลกันมากไม่แน่ใจว่าจะมีคลื่นสึนามิหรือไม่ ผมจึงขอเรียนมาให้ท่านทราบตามนี้ ซึ่งมีหลายท่านได้ถามมายังผม ทั้งที่ส่งมาที่ตู้ ป.ณ.๑๕๓ ภูเก็ต หรือโทรมาที่สำนักงาน ๐๗๖-๒๑๑๑๕๐ ขอบคุณมากครับ