Skip to main content

แต่งตัวให้คอมฯ ( ๓ ) - ของฟรีเพื่อสุขภาพ

คอลัมน์/ชุมชน





































































































 

 

แล้วก็สวัสดีอีกครั้งหนึ่งครับ เพื่อน

 

ก่อนอ่านข้อความ ในตอนที่ (๓) นี้ ผมขอเสนอให้เพื่อนอ่านตอนที่ ( ๒ ) เสียก่อน ( หากยังไม่ได้อ่าน ) เพราะข้อความทั้งสองตอน มีความต่อ เนื่องกันโดยตรง

 

ขอแนะนำของฟรีเพื่อสุขภาพ ๓ โปรแกรมที่มีคุณภาพพอใช้ได้ในด้านการค้นหาและทำลายไวรัส คือ

 

๑)  AVG Antivirus 6.0 Free Edition ของ Grisoft ซึ่งจะต้องลงทะเบียนก่อนดาวน์โหลดที่ http://free.grisoft.com/freeweb.php/doc/2/

 
๒) Avast 4 Home Edition
อ่านรายละเอียดได้ที่ http://avast.com/eng/avast_4_home.html
และดาวน์โหลดได้ที่ http://avast.com/eng/down_home.html
 













 












 
 

AVG กับ Avast – Avast
เอ๋ยแม้เธอไม่สวยภายนอกแต่ก็งามภายใน
 

หลังจากดาวน์โหลดและติดตั้งแล้วผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนทางอินเตอร์เน็ตภายใน ๖๐ วัน และจะต้องลงทะเบียนต่ออายุสมาชิกภาพในการ อัพเดท ข้อมูลไวรัส ทุก ๆ ๑๔ เดือน แต่ทั้งนี้จะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และจะไม่ มี การรบกวน ผู้ลงทะเบียน ด้วยการโฆษณาใดๆ

 

๓) AntiVir? Personal Edition
อ่านรายละเอียดได้ที่ : http://free-av.com/
กดคำว่า Download ที่แถบซ้ายมือ แล้วจึงกดที่โลโก้ AntiVir? เพื่อดาวน์โหลด








ชาว Avast ใจดีเพราะบ้านเมืองเขาน่าอยู่
 

เพื่อนรัก ถ้าจะถามผมว่าควรเลือกใช้โปรแกรมชนิดไหนดี ผมคงไม่อยากจะฟันธง เพราะแต่ละโปรแกรมก็มีจุดแข็งจุดอ่อนที่แตกต่างกัน แต่เพื่อนควรจะเลือกมาใช้เพียงแบบเดียวเท่านั้นนะ เพราะการนำโปรแกรมต้านไวรัสสองแบบมาใช้พร้อมกันมักจะก่อให้เกิดปัญหาการตีกันเอง เหมือนกรณีกิ๊กสองคนที่มาหากิ๊กของตนในเวลาเดียวกันและพบว่าเป็นกิ๊กคนเดียวกัน

 

ทั้งสามโปรแกรม ที่แนะนำนี้มีความ สามารถ ในการ ทำงานเหมือนกับโปรแกรมต้านไวรัสทั่ว ๆ ไป นั่น คือ โปรแกรมจะ ทำงานตลอดเวลาที่เปิดคอมฯ โดยจะ คอยตรวจสอบ ไฟล์ต่าง ๆ ที่กำลังจะ เปิดใช้งาน และ นอกจากนี้ผู้ใช้คอมฯ ยังสามารถสั่งให้ โปรแกรมสแกน หา ไวรัสในไฟล์ หรือในโฟลเดอร์ หรือในดิสค์ที่ระบุไว้ ด้วย และเมื่อพบไวรัสแล้ว โปรแกรมจะซ่อมแซมหรือกักบริเวณ หรือลบทิ้งไฟล์ที่ติดเชื้อตามความเหมาะสมของสถานการณ์

 

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากว่าของฟรีทั้งหมายเลข ๑ และหมายเลข ๒ นั้นมาจากประเทศสาธารณรัฐเช็คทั้งคู่

 

ผมมีข้อสังเกตว่าผู้คิดค้นและเผยแพร่โปรแกรมฟรีที่ดีที่สุดในโลกมักจะมาจากประเทศที่สวยงามในแถบยุโรปตะวันออก ( ไม่เชื่อลอง อ่านข้อความประกอบ รูปในคอลัมน์แรก เป็นอีกหนึ่งตัวอย่าง )

 

สาเหตุ คงเป็นเพราะบุคคลเหล่านี้ยัง ไม่สามารถ ปรับตัวเข้ากับระบบทุนนิยม ประกอบกับความสวยงามของถิ่นที่อยู่อาศัยทำให้ พวก เขา เสียความมุ่งมั่น ในด้านการแสวง หาผล กำไร พวกเขา จึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่แบบเรียบง่ายโดยอาศัยรายได้ แค่พอ เพียง จ ากการ จำหน่าย โปรแกรมต้านไวรัส รุ่นใหญ่ให้แก่ ผู้ประกอบกิจการ ธุรกิจต่าง ๆ ในราคาย่อมเยา แ ล้วก็เอาโปรแกรมรุ่นเล็กมา แจกฟรี ให้แก่ คนทั่วไป อย่างเพื่อนกับผม

 

โปรแกรมหมายเลข ๑ ( เอวีจี ) เป็นโปรแกรมต้านไวรัสฟรีที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด แล้วโดยทั่วไปผู้ใช้ก็มีความพึงพอใจกับมัน ดังนั้นหากเพื่อนไม่รู้ว่าจะเลือกโปรแกรมใด ผมว่าลองตัวนี้ก่อนก็ไม่น่าจะเป็นการเดินผิดทาง เพราะ หน้าตาก็สวย การ ใช้ก็ง่าย แต่ก็อาจจะมีข้อด้อยเล็กน้อยด้านการตรวจอีเมล์ คือจะตรวจอีเมล์เข้า - ออก ได้เฉพาะกับโปรแกรมรับอีเมล์บางชนิด เช่น Microsoft Outlook และ Outlook Express ( เฉพาะรุ่นหลัง ๆ )

 

สำหรับผมเองนั้นปัจจุบันได้เลิกใช้นอร์ตั้นแอนตี้ไวรัสรุ่นปี ๒๐๐๑ ( ซึ่งเป็นนอร์ตั้นรุ่นที่ดีที่สุดในความเห็นของผม ) พร้อม กับได้ลาออกจากการเป็น สมาชิกกิตติมศักดิ์ตลอดชีพในการอัพเดทข้อมูลไวรัส และผมได้หันมาทดลองใช้ โปรแกรมหมายเลข ๒ ( อะว้าสท์ ) มาเป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็มก่อนที่จะเขียนบทความนี้

 

ข้อด้อยของอะว้าสท์มีอยู่หลายประการ ประการแรกหน้าตาค่อนข้างจะขี้เหร่ ( เขายังอุตส่าห์แถมสกินที่ ยิ่ง ขี้เหร่ ใหญ่ มาให้เลือกอีกด้วยนะ ) ประการที่สองไม่สามารถสแกนแผ่นแข็ง โดย อัตโนมัติตามวันเวลาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ( แต่สั่งให้สแกนเดี๋ยวนี้ได้เสมอ ) ประการที่สามการเรียนรู้วิธีการตั้งค่าตัวเลือกตลอดจนวิธีใช้งานไม่ง่ายนัก ประการที่สี่โปรแกรมนี้จะใช้งานคอมพิวเตอร์หนักกว่าหมายเลข ๑ ( แต่ยังน้อยกว่านอร์ตั้น )

 

แม้จะมีข้อด้อยดังกล่าวแต่ผมก็ชักจะชอบโปรแกรมนี้มากทีเดียว ( มากกว่าโปรแกรมหมายเลข ๑ ซึ่งผมก็เคยลองใช้ ) สิ่งที่ผมชอบที่สุดคือ โปรแกรมนี้จะทำงานแบบเงียบ ๆ ไม่รบกวนสมาธิของคนใช้คอมฯ ทั้งยังอัพเดทข้อมูลไวรัส โดย อัตโนมัติเกือบทุกวันเมื่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ต แต่ จะ ใช้เวลา อัพเดท เพียงประมาณ ๑ นาทีเท่านั้น ( ที่ระดับการเชื่อมความเร็วต่ำ ) แถมยังอัพเกรดตัวเองโดยอัตโนมัติได้ด้วย นอกจากนี้ อะว้าสท์ มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบอีเมล์ได้หลายรูปแบบทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อความที่ส่งผ่านโปรแกรมชนิด Messenger ได้อีกด้วย

 

เมื่อ อะว้าสท์ พบไวรัสในอีเมล์มันจะไม่ร้องแร่แห่กระเชอไปทั่ว แต่จะกำจัดไวรัสโดยอัตโนมัติโดยการถอนพิษแล้วนำไปเก็บไว้ในห้องขังพิเศษ และเมื่อถึงเวลาเปิดอ่านอีเมล์ก็จะพบข้อความเล็ก ๆ ด้านล่าง ที่ รายงานเหตุการณ์โดยสังเขป

 

สำหรับเจ้า แอนตี้เวียร์ โปรแกรมฟรีหมายเลข ๓ นั้น ผมไม่มีประสบการณ์เลย แต่เขาว่ากันว่าเป็นตัวที่ตรวจจับไวรัสได้มากชนิดที่สุด ผลิตจากประเทศเยอรมันนี ถ้าเพื่อนจะลองใช้ดู ขอให้ ช่วยเขียนมาบอกหน่อยนะว่า ใช้ได้ ดีไม่ดีอย่างไร

 

ก่อนที่จะปิดคอลัมน์วันนี้ผมขอแนะนำบทบัญญัติห้าประการในการป้องกันไวรัส

 

๑)  ติดตั้งโปรแกรมต้านไวรัส และอัพเดทข้อมูลไวรัสเป็นประจำ


๒)  ถ้าจะนำไฟล์จากที่อื่นมาเก็บหรือมาใช้ในคอมฯ ให้สแกนตรวจสอบด้วยโปรแกรมต้านไวรัสเสียก่อนทุกครั้ง


๓)  ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมทางอินเตอร์เน็ตเฉพาะในกรณีที่มาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และให้สแกนทุกครั้งเมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้ว


๔)  ให้เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์เฉพาะในกรณีที่รู้สาเหตุที่มาและประโยชน์การใช้งานของไฟล์ดังกล่าวโดยชัดแจ้ง และต้องการที่จะนำไฟล์นั้นมาใช้จริง (ไม่ใช่เพียงสงสัยว่ามันคืออะไร) กรณีอื่นให้ลบทิ้งหมด เช่น แม้จะรู้จัก ผู้ส่ง อีเมล์ แต่ ถ้า ไม่มีคำอธิบาย ชัดเจนเกี่ยวกับ ไฟล์ที่แนบมาด้วย ให้สันนิษฐาน ไว้ก่อน ว่า อาจ เป็นไวรัส


๕)  ให้ถือว่าไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่มีข้อความประเภท " ของขวัญเพื่อคุณ " ไฟล์ที่มีนามสกุล .exe หรือ . bat หรือ . scr ไฟล์ที่มีนามสกุลแปลกๆ ที่ไม่รู้จัก หรือที่ มี นามสกุลสองท่อน ( เช่น happybirthday.doc.pif ) มีโอกาสเป็นไวรัสถึง ๙๙ % จึงควรลบทิ้ง ( ไฟล์ที่ไม่ใช่ไวรัสมักเป็นไฟล์ชนิดที่ใช้กับสำนักงาน เช่น .doc .xls .ppt หรือไม่ก็เป็นไฟล์ชนิดอัดแน่น .zip หรือ .rar)

 

เพียงปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ห้าประการนี้ โดยเคร่งครัด แล้วโอกาสที่ เพื่อนจะ ถูกไวรัสเล่นงานก็แทบ ไม่มี

 

... จาก จอน อึ๊งภากรณ์