Skip to main content

แต่งตัวให้คอมฯ ( ๖) - สุขภาพของคอมฯ (ตอนอวสาน)

คอลัมน์/ชุมชน













ประกาศ : เปิดบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาการใช้คอมฯ ที่ http://tinyurl.com/ 7z 8fs





 


สวัสดี ครั้งที่หกครับ เพื่อนทั้งหลาย !


 


วันนี้เป็นวันสุดท้ายจริงๆ ที่จะนำเรื่องสุขภาพของคอมฯ มาเสนอเพื่อน เพราะแม้จะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นก่อนที่จะมาเล่นกับคอมฯ ในด้านอื่นๆ และหากเพื่อนสามารถรักษาสุขภาพคอมฯ ของเพื่อนตามคำแนะนำของผมในตอนที่ ๒-๖ นี้ คอมฯ ของเพื่อนน่าจะทำงานอย่างคล่องแคล่วว่องไวได้ยาวนานโดยไม่เกิดอาการป่วย



ก่อนอื่นผมจะขอสรุปทบทวนมาตรการในการรักษาสุขภาพของคอมฯ เท่าที่ได้นำเสนอไปแล้ว


                ๑. การติดตั้งโปรแกรมป้องกันและกำจัดไวรัส โปรแกรมฟรีที่มีคุณภาพใช้ได้มี AVG 7 Free Edition http://free.grisoft.com/freeweb.php/doc/2/Avast 4 Home Edition http://avast.com/eng/avast_4_home.html และ AntiVir ? Personal Editionhttp://free-av.com/antivirus/allinonen.html ทั้งสามโปรแกรมมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ในกรณีที่เครื่อง ของเพื่อนมีแรม (RAM) หรือหน่วยความจำต่ำกว่า 256MB ผมไม่แนะนำให้ใช้ Avast ซึ่งใช้หน่วยความจำถึง 19 MB ในขณะที่ AVG ใช้เพียง 6MB และ Antivir 1.6MB แต่โดยส่วนตัวผมชอบ Avast มากที่สุดเพื่อนสามารถอ่านรายงานเปรียบเทียบทั้งสามโปรแกรมได้ที่ http://tinyurl.com/ 8c 2ac


               ๒.การติดตั้งกำแพงกันไฟหรือ firewall ถ้าเพื่อนมีหน้าต่างรุ่น XP ก็ให้เปิด firewall ที่มากับวินโดวส์ใช้งานเลย (เปิด Control Panel แล้วเลือก Security Center) แต่ถ้าเป็นหน้าต่างรุ่นก่อน XP เช่น ๙๕ ๙๘ me หรือ ๒๐๐๐ ก็ขอแนะนำให้ใช้โปรแกรมฟรีชื่อ Zonealarm ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ http://tinyurl.com/ 2ckju ก่อนนำ firewall ชนิดใดมาเปิดใช้ควรตรวจและกำจัดโปรแกรมสายลับ spyware เสียก่อนโดยอาศัยโปรแกรมในข้อ ๓.


               ๓.การติดตั้งโปรแกรมป้องกันและกำจัด Adware และ Spyware ได้แก่ Microsoft ? Windows AntiSpyware (Beta) http://tinyurl.com/ 5jhcs (ดีที่สุด) Ad-Aware SE Personal Edition 1.06 http://tinyurl.com/yu 6cm Spybot - Search & Destroy 1.4 http://tinyurl.com/yrwy 2 และ SpywareBlaster 3.4 http://tinyurl.com/g1d9 ( ขอแนะนำให้ใช้ทั้งสี่โปรแกรมควบคู่กันโดยอัพเดทและสแกนเครื่องเป็นประจำ ประมาณสัปดาห์ละครั้ง)


 


มาถึงตอนนี้ผมจะขอแนะนำมาตรการดูแลสุขภาพของคอมฯ เพิ่มเติมอีกสี่ประการ :


                ๔. ใช้โปรแกรม disk defragmenter เป็นประจำสัปดาห์ละครั้งเพื่อเรียงข้อมูลในแผ่นแข็ง (Hard disk) ใหม่ให้เป็นระเบียบ ซึ่งจะทำให้คอมฯ อ่านและเขียนข้อมูลในแผ่นแข็งได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อนที่มีหน้าต่างรุ่น XP สามารถใช้โปรแกรม disk defragmenter ที่มากับวินโดวส์ได้เลย ส่วนเพื่อนที่มีหน้าต่างรุ่นอื่นควรใช้โปรแกรมฟรีที่ชื่อ Diskeeper Lite 7.0 ซึ่งทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรม disk defragmenter ที่มากับหน้าต่างรุ่นก่อน XP โปรแกรมดังกล่าวนี้ดาวน์โหลดได้ที่ http://tinyurl.com/ 6we 8e (แต่ควรรีบดาวน์โหลดในช่วงนี้เลยเพราะเขากำลังจะยกเลิกโปรแกรมที่ไม่เสียเงินรุ่นนี้) ขอแนะนำว่าเวลาใช้ Diskeeper Lite 7.0 แต่ละครั้งอย่าไปสนใจกับหน้าต่าง pop-up ที่มีถ้อยคำอ้อนวอนเกลี้ยกล่อมให้ลองใช้รุ่นที่ต้องเสียเงิน ให้รีบปิดหน้าต่างนั้นไวๆ เลยครับ


               ๕. ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมชื่อ Starter ที่ http://tinyurl.com/a5twx หรือ http://tinyurl.com/ 9vk 88 เพื่อตรวจสอบและควบคุมบรรดาโปรแกรมต่างๆ ที่ถูกเปิดโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่สตาร์ตเครื่องและเริ่มใช้วินโดวส์ เพราะถ้าโปรแกรมเหล่านี้มีจำนวนมากเกินกว่าที่จำเป็น จะทำให้เครื่องคอมฯ เปิดใช้งานช้าและทำงานอืดอาด ถ้าไม่แน่ใจว่าโปรแกรมไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องเปิดใช้พร้อมกับวินโดวส์ ให้ลองค้นคว้าหาคำตอบ ในเวบไซท์ http://tinyurl.com/8f3uk และ สำหรับโปรแกรมที่คาดว่าไม่จำเป็นต้องเปิดใช้พร้อมวินโดวส์ ให้ลองถอนเครื่องหมายถูกออกจากกล่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อของโปรแกรมนั้นๆ ในหน้าต่างของ Starter เพื่อเป็นการยับยั้งการเปิดโปรแกรมดังกล่าว ซึ่งหากพบในภายหลังว่ามีปัญหาก็ยังสามารถคืนเครื่องหมายถูกนั้นกลับไปใหม่ได้ (ดูภาพประกอบ)



"ภาพแสดงการใช้โปรแกรม starter" 


 


               ๖. ให้ลบแฟ้มที่ไม่จำเป็นออกจากแผ่นแข็งเป็นประจำสัปดาห์ละครั้งโดยใช้โปรแกรม Disk Cleanup ที่มากับวินโดวส์


               ๗. หลีกเลี่ยงการปิดวินโดวส์ในทางที่ไม่ถูกต้อง หากเกิดอุบัติเหตุแล้ววินโดวส์ปิดไม่ถูกต้องอย่าไปแทรกแซงการทำงานของ Scandisk ตอนเปิดเครื่องใหม่ แม้จะต้องรออย่างใจร้อนจนกว่า Scandisk จะเสร็จสิ้นการตรวจสอบความเรียบร้อยของข้อมูลในแผ่นแข็งของเครื่อง


สำหรับเรื่องของสุขภาพคอมฯ ผมมีแค่นี้ครับ


@@@@@@@


 


เว็บไซต์ที่น่าสนใจมาก : สารานุกรมของประชาชนชาวโลก

วิกิพีเดีย (Wikipedia) คือสารานุกรมเสรีบนอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถอ่าน เพิ่มเติมและปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาได้ ซึ่งทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการเพิ่มเติมแก้ไข รวบรวมและดูแลรักษาจากผู้ใช้จำนวนหลายหมื่นคนทั่วโลก ผ่านซอฟต์แวร์มีเดียวิกิ ซึ่งเป็นระบบวิกิแบบหนึ่ง

วิกิพีเดียเริ่มต้นเมื่อ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔ โดยผู้ร่วมก่อตั้งได้แก่ จิมมี เวลส์ แลร์รี แซงเกอร์ และเพื่อน ๆ อีกเพียงไม่กี่คน โดยในขณะนั้นมีฉบับภาษาอังกฤษเพียงฉบับเดียว ด้วยขบวนการที่เปิดกว้างให้แก้ไขเพิ่มเติมอย่างเสรี ทำให้ปัจจุบันวิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้เวลาไม่ถึง ๔ ปีนับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ โดยมีบทความจำนวนกว่า ๖๐๐,๐๐๐ ชิ้น เฉพาะในฉบับภาษาอังกฤษ และมีบทความมากกว่า ๑.๖ ล้านชิ้นในฉบับภาษาต่าง ๆ รวมกันแล้วประมาณ ๒๐๐ ภาษา และมีผู้เข้าไปใช้โดยรวมวันละประมาณ ๖๐ ล้านคน

ผมทราบว่ามีนักวิชาการจำนวนไม่น้อยที่ไม่เห็นคุณค่าของวิกิพีเดียเนื่องจากเห็นว่าไม่มีหลักประกันในด้านความน่าเชื่อถือของเนื้อหา (เพราะผู้เขียนเนื้อหาคือประชาชนธรรมด๋าธรรมดาอย่างพวกเรา) แต่ผมเชื่อว่า วิกิพีเดีย เป็นผลงานที่มาจากแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นั่นคือแนวคิดที่มีความเชื่อมั่นในพลังประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชนทั่วโลก ว่าสามารถที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่า ไม่แพ้สิ่งมหัศจรรย์อื่นของโลก

เพื่อน ๆ สามารถลองเข้าไปอ่านพิเคราะห์ดูและถ้าสนใจที่จะเพิ่มเติมหรือแก้ไขเนื้อหาตามความรู้ของเพื่อน ก็ทำได้ และถ้ามีประวัติเป็นผู้ที่เคยมีส่วนร่วมก็สามารถที่จะร่วมลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งคณะกรรมการของมูลนิธิวิกิมีเดียได้ด้วย


ฉบับภาษาอังกฤษ http://tinyurl.com/878d8

ฉบับภาษาไทย http://tinyurl.com/8atp4