Skip to main content

การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดย เหมียว












 




" ทำไม...ลูกหมูตัวที่ ๓ ถึงสร้างบ้านได้แข็งแรงที่สุด?" คำถามนี้เด็กๆคนไหนก็คงเคถุกถามหลัจากตั้งใจฟังนิทานจจบ แต่มาถึงวันนี้ ผู้ใหญ่อย่างเราๆคงจะต้องหันกลับมาถามตัวเองด้วยคำถานี้อีกครั้ง เพราะกรสร้างบ้านได้มั่นคงแข็งแรงก็อาจเปรียบเทียบได้กับการพัฒนาย่างยั่งยืนซึ่งมีหลักเดียวกันคือต้องหให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นฐานให้มั่นคงพร้อมที่จะต่อยอดการพัฒนาต่อไปโดยไม่ล้มครืนลงมาง่ายๆ หรือถูกทำลายด้วยกระแสเศรษฐกิจการเมืองเหมือนอย่างที่บ้านของลูกหมูตัวที่ 1 และตัวที่ 2 ถูกทำลายด้วยกระแสลม


หากเราพิจารณาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจทั้ง ๙ แผน ก็จะเห็นได้ว่าเริ่มมีการพัฒนาเศรษฐกิจจากปัจจัยพื้นฐานทั้งถนน เขื่อน การไฟฟ้า การประปา ฯลฯ มาตั้งแต่แผน ๑ เลยทีเดียว แต่ปัญหามันอยู่ที่การพิจารณาวาสิ่งใดคือพื้นฐานที่สำคัญอย่างแท้จริง หรือพูดได้ว่าเลือกลงเสาเข็มได้ถูกที่หรือไม่ ผลสุดท้ายเราก็เห็นแล้วว่าการพัฒนาที่น้นความเจริญทางวัตถุเป็นหลักนั้นไม่สามารถจะสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ จึงต้องหันมาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแผน ๘ และ ๙ ซึ่งจะสายเกินไปหรือไม่นั้นก็ยังต้องลุ้นกันต่อไป


นี่เป็นเพียงตัวอย่างในเชิงนโยบายเท่านั้น ในความเป็น


จริงแล้วเรายังเห็นความแตกต่างระหว่างกรุงเทพฯกับชนบทได้อย่างชัดเจนเช่นกัน ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่าที่ใด " พัฒนาเร็ว" ที่ใด" พัฒนาอย่างยั่งยืน" เรื่องแปลกแต่จริงก็คือชนบทที่เราเห็ว่ายังล้าหลังไม่พัฒนาานั้นกลับมีความเข้าใจในการพัฒนามากกว่า นั่นคือมีการปลูกฝังศีลธรรม และจริยธรรมในการใช้ชีวิตรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรอย่างอนุรักษ์ ทั้งชาวเขา ชาวเลต่างก็รู้จักอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างพอเพียง ไม่เคยคิดจะทุบหม้อข้าวตัวเอง และทรัพยากรธรรมชาติที่จะไม่หมดไปโดยง่ายนี้ก็จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาต่อๆไป แต่ในทางตรงกันข้าม การพัฒนาในกรุงเทพฯ นั้นจะเน้นเอาทรัพยากรมา ใช้สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจการค้าอย่างรวดเร็วโดยไม่มีแนวคิดสร้างเพื่อทดแทน" เพราะกรุงเทพฯดึงเอาทรัพยากรจากชนบทมาใช้ มิได้สร้างเองจึงผลักภาระให้ชนบทเป็นผู้รักษาทรัพยากร จนวันหนึ่งเมื่อทรัพยากรเริ่มลดน้อยลงไปสิ่งที่นำมาผันเป็นเงินเริ่มหมดลง การพัฒนาในเมืองจึงหยุดลงไปด้วย เราจึงไม่สามารถที่จะดูตัวแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากในกรุงเทพฯได้เด็ดขาด


 










เหมียว – - อริสา สุมามาลย์

ไม้ไกล้ฝั่ง เอ่อ...ต้องเรียกว่าซีเนียร์จากอักษรจุฬาฯเอกอิตาเลียน ที่แม้ว่าคณะของเธอจะอยู่ติดถนนอังรีดูนังต์ แต่ความรักในตัวอักษรก็พาเธอมาอยู่ชิดติดถนนพญาไท ณ ชมรม วรรณศิลป์จุฬาฯ


เมื่อไม่กี่คนก่อน เราได้พบฝีมือหนุ่มจากรั้วแม่โดมแล้ว ถึงคราวสาวจากรั้วจามจุรีแสดงฝีมือแล้วสิเหวย...


เหมียว


อริสา สุมามาลย