Skip to main content

ตอนต่อไปของวันพรุ่งนี้

คอลัมน์/ชุมชน

 


 


                                                             


 


                                                       ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


 


 


ตอนนั้น : .. 2542


ด้วยการที่ประเทศไทยได้ลงนามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เมื่อปี พ.. 2535  ซึ่งเป็นอนุสัญญาระดับนานาชาติที่มี 192 ประเทศร่วมลงนาม  ส่งผลให้ทุก 2 ปี  แต่ละประเทศต้องจัดทำรายงานสิทธิเด็กของตนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาด้านสิทธิเด็กและข้อเสนอต่างๆ ต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ


 


ปีนี้เอง, ประเทศไทยได้จัดงานชุมนุมเด็กขึ้น โดยมีการจัดระดับภาค ระดับประเทศ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องสิทธิเด็กและระดมความคิดเห็นของเด็กต่อสถานการณ์ด้านต่างๆ ซึ่งมีเด็กเข้าร่วมกระบวนการกว่าพันคน และจากการจัดชุมนุมนี้  เด็ก ๆ หลายคนมีความต้องการที่จะจัดทำรายงานเรื่องสิทธิเด็กฉบับเด็ก ขึ้นเพื่อเป็น 1 ในรายงานของประเทศไทยที่จะนำเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ พร้อมกับรายงานของรัฐบาลและ NGO


 


คณะทำงานจัดทำรายงานเรื่องสิทธิเด็กฉบับเด็กจึงเกิดขึ้น โดยมีตัวแทนเด็กจากแต่ละภาคจำนวน 29 คน ประกอบด้วยเด็กในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน เด็กในภาวะยากลำบาก อาทิ เด็กไร้บ้าน เด็กพิการ ร่วมกระบวนการในการประมวลสถานการณ์ ข้อเสนอ และร่างรายงานสิทธิเด็กฉบับเด็กขึ้น โดยกระบวนการรวบรวมและจัดทำขึ้นในช่วงปี 2542 – 2543 และมีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ


 


ตอนต่อมา :.. 2543


รายงานสิทธิเด็กฉบับเด็ก เริ่มเป็นรูปร่าง มีเนื้อหาในรายการประกอบด้วย สถานการณ์เด็กในด้านต่างๆ คือ


1)   ด้านการศึกษา ระบุว่าเด็กทุกภูมิภาคมีปัญหาเรื่องการศึกษาค่อนข้างเหมือนกันและพบว่าเป็นปัญหาใหญ่พอสมควร เช่น อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียน พฤติกรรมของครูที่เป็นแบบอย่างที่ไม่ได้ เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ กฎระเบียบของโรงเรียนที่เข้มงวดและเน้นลงโทษเด็กมากเกินไป และสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ที่ไม่เอื้อต่อการเรียนการสอน เรื่องอุปสรรคในการเดินทางไปโรงเรียนในพื้นที่ทุรกันดาร และการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางใช้ไม่ได้จริง เน้นแต่เพียงท่องจำเท่านั้น


2)   ยาเสพติด เด็กทุกภูมิภาคเผชิญกับปัญหายาเสพติดที่ค่อนข้างเหมือนกัน เรื่องนี้ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง และนำไปสู่การก่ออาชญากรรมต่างๆ เช่น การลักทรัพย์ เป็นต้น


3)   ปัญหาอื่นๆ คือปัญหาที่มีเฉพาะในแต่ละพื้นที่ เช่น เรื่องเด็กไร้สัญชาติ เด็กไร้บ้าน เด็กพิการ และเด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศ รวมทั้งการเลือกปฏิบัติต่อเด็กกลุ่มต่างๆ


 


รายงานฉบับนี้ถือว่า ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของสังคมในขณะนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะการจัดทำรายงานมีกระบวนการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากเด็กมัธยมศึกษาทั้งหมด 637 คน และภาพวาดจากเด็กประถมศึกษา 490 คน โดยกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ที่มีการทำงานของกลุ่มเยาวชน


 


ต่อมารายงานเรื่องสิทธิเด็กฉบับเด็ก จึงรอแต่เพียงการจัดพิมพ์และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อส่งมอบต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติผ่านกระทรวงการต่างประเทศของไทย


 


ตอนนี้ : .. 2548


เวลาผ่านมาหลายปี รายงานเรื่องสิทธิเด็กฉบับเด็ก ที่รอการนำมอบต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ  ถึงเวลาในการส่งต่อกระทรวงการต่างประเทศ  เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา


 


ตัวแทนเด็กที่เคยร่วมทำรายงานครั้งนั้น บัดนี้ได้กลายสภาพเป็นเยาวชน บางคนรูปร่างเปลี่ยนแปลง บางคนทำงานมีฐานะ บางคนยังเรียนหนังสือไม่จบ แต่ตัวแทนเยาวชน 5 คน ก็ได้มอบรายงานต่อกระทรวงต่างประเทศท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่นและน่าสนใจของสื่อมวลชน


 


"รายงานฉบับนี้ เป็นรายงานฉบับเด็กเล่มแรกของรัฐบาล ซึ่งพวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสะท้อนข้อมูล สถานการณ์ของเด็กไทย พวกเรามีความตั้งใจในการจัดทำ อาจใช้เวลานานกว่าจะมอบแก่กระทรวงฯ แต่ก็ทำให้เราและเพื่อนๆ อีกหลายคนภูมิใจ และเห็นการมีส่วนร่วมของเด็กที่มากขึ้น" ประธานคณะทำงานจัดทำรายงานสิทธิเด็กฉบับเด็ก สะท้อนความรู้สึกระหว่างมอบรายงานฉบับดังกล่าวต่อรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ


 


ขณะที่ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า รายงานเรื่องสิทธิเด็ก ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่เด็กและเยาวชนในประเทศไทยกำลังเผชิญอย่างแท้จริง เพราะเป็นรายงานที่เด็ก ริเริ่ม เขียน รวบรวมและจัดการด้วยตัวเอง โดยผู้ใหญ่เป็นผู้สนับสนุน และบอกต่อว่า รายงานเรื่องสิทธิเด็ก ฉบับเด็ก ที่เด็กจัดทำขึ้น  นอกจากประเทศไทย ยังมีประเทศมาเลเซีย และเวียดนาม ที่เป็นประเทศที่เด็กเข้ามาจัดทำรายงานต่อสหประชาชาติ


 


นอกจากนี้ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถึงกระบวนการจัดส่งรายงานต่อสหประชาชาติว่า ทางกระทรวงฯ จะจัดส่งรายงานของเด็กไปยังสหประชาชาติ และรายงานฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งรายงานที่ประเทศไทยได้ส่งไป ก่อนหน้านี้ 2 ฉบับคือ รายงานสิทธิเด็กฉบับรัฐบาล และรายงานสิทธิเด็กฉบับองค์กรพัฒนาเอกชน และสุดท้ายคณะผู้แทนจากประเทศไทย จะได้รายงานปากเปล่าต่อคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ ในเดือนมกราคม 2549 ต่อไป


 


ตอนหนึ่งของความคิด : ...............


รายงานสิทธิเด็กฉบับเด็ก ฉบับนี้อาจสะท้อนภาพเด็กไทยเมื่อหลายปีที่ผ่านมาและจากข้อมูลดังกล่าว พบว่า สถานการณ์เด็กและเยาวชนหลายเรื่องเปลี่ยนไปมาก เกิดเรื่องราวหลายอย่างในประเทศไทย และผมคิดว่าหากจะมีการจัดทำรายงานเรื่องสิทธิเด็ก ฉบับเด็ก ขึ้นอีก แน่นอนว่า สถานการณ์ที่เด็กเผชิญอาจมีมากขึ้น และหากเด็กได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตตัวเองมากกว่าเดิม อาจทำให้สะท้อนปัญหา สถานการณ์ในเมืองไทยได้อย่างรอบด้านก็ได้


 


ตอนต่อไป : .. 2558


การจัดทำรายงานสิทธิเด็กฉบับเด็ก เกิดขึ้นจากการชุมนุมครั้งใหญ่ของเด็กอีกครั้ง  โดยเด็กทั่วประเทศไทยกว่า แสนคน ได้รวมตัวกันระดมทุน จัดทำรายงานขึ้นเพื่อสะท้อนสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ให้นานาประเทศได้รับรู้และเป็นบทเรียนต่อประเทศของตน โดยมีสถานการณ์ที่ขอยกตัวอย่าง ดังนี้


1)   เรื่องการมีส่วนร่วม เกิดสภาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ แต่มีตัวแทนเด็กมาจากเพียงบางกลุ่ม ไม่มีกลุ่มเด็กด้อยโอกาส สภาฯ ถูกใช้เป็นฐานเสียงพรรคการเมือง เอื้อประโยชน์ทางการเมือง และมีการเคลื่อนไหวเพื่อออกกฎหมายควบคุมเด็กซึ่งขัดกับหลักการพื้นฐานของสภาฯ ทั้งนี้อาจเพราะรัฐบาลรีบร้อนจัดตั้งเกิดไป จึงทำให้สภาฯ ไม่เป็นพื้นที่การมีส่วนร่วมของเด็กจริงจัง จนเด็กมีสภาพแค่ร่างทรงของใครบางคนเท่านั้น


2)   การบริโภคด้านต่างๆ ได้แก่ ราคาอาหารที่แพงขึ้น มีอาหารของภาคธุรกิจผูกขาดตลาดมากเกินไป ราคาไฟฟ้าสูงและแพงขึ้นเป็นระดับๆ เนื่องจากการแปรรูป กฟผ. เมื่อปีกลายทำให้นายทุนกำหนดราคาค่าไฟที่แพง รวมทั้งการล่มสลายของร้านค้าเล็กๆ หรือ โชว์ห่วย ที่ถูกห้างต่างประเทศเข้ามาแยกลูกค้า เพราะมีกฎหมายบางตัว ที่แอบทำเงียบๆ เพื่อขยายพื้นที่ของร้านสะดวกซื้อ


3)   เยาวชนติดเชื้อเอดส์มากขึ้น มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสมเป็นตัวเลขมากกว่าล้านคน เพราะรัฐและผู้ใหญ่ ปกปิดข้อมูลเรื่องเอดส์ เพศศึกษาที่รอบด้าน ไม่บรรจุการสอนเพศศึกษาในห้องเรียน ตัดงบประมาณถุงยางอนามัย และยังคงมีทัศนคติว่าเรื่องเพศเป็นการชี้โพรงให้กระรอก ปิดหูปิดตาเด็ก ทำให้เด็กมีข้อมูลไม่รอบด้าน ติดเชื้อเอดส์อย่างไม่รู้ตัว เพียงเพราะเชื่อแนวคำสอนของผู้ใหญ่มากเกินไป จนไม่เชื่อว่าต้องใช้ถุงยางอนามัยเพื่อมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและรับผิดชอบ


4)   ไม่มีสื่อเพื่อเด็ก จากที่มีมติ ครม.เมื่อหลายปี ว่าจะกำหนดพื้นที่สื่อเพื่อเด็ก แต่ไม่เป็นจริง มีรายงานโทรทัศน์ที่เน้นความรุนแรง การเลือกปฏิบัติ การรายงานข่าวไม่เป็นกลาง เนื่องจากสื่อถูกยึด มีการซื้อขายซื้อในตลาดหุ้น และเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจแก่นายทุน ประชาชนสับสนระหว่างข้อมูลจริงกับภาพลวงตาจากสื่อบางประเภท


5)      ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ และ ฯลฯ


 


สถานการณ์เด็กข้างต้นอาจทวีความรุนแรงและขยายวงมากขึ้น เพราะปัญหาที่กระทบต่อเด็กและเยาวชนยังมีอีกมาก เนื่องจากสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบันของสังคมไทยได้ก่อสัญญาแห่งการหมักหมม ปัญหามากมายและยังไม่มีการแก้ไขอย่างเป็นระบบจริงๆ


 


ปัญหาตัวอย่างข้างต้นอาจเป็นเพียงเรื่องสมมติเท่านั้น เพราะเรามิอาจหยั่งรู้อนาคตวันข้างหน้าได้ ทว่าหากเรามองปัจจุบันที่เป็นอยู่ของสังคมไทย อาจพอเห็นภาพร่างๆ ในตอนต่อไปของวันพรุ่งนี้ได้ และหากวันคืนห้วงเวลาผ่านไปอีก 20 ปีข้างหน้า ลูกหลานคนไทยในอนาคตอาจตั้งคำถามว่า


"ที่เป็นแบบนี้ เพราะผู้ใหญ่สมัยนั้นเขาไม่ทำอะไรเลยเหรอ ประเทศเราถึงล่มสลายเป็นของนายทุนไปหมด"


 


ความคิดตอนนี้  


นึกอะไรไม่ออกครับ ใครคิดได้ช่วยบอกด้วย.........