Skip to main content

ขนมของเด็ก ขุมทรัพย์ของผู้ใหญ่ (ตอน 1)

คอลัมน์/ชุมชน

หลายอาทิตย์ก่อนได้ค้นข้อมูลเรื่องเกี่ยวกับการโฆษณาขนมของเด็กๆ อย่างจริงจัง ได้พบข้อมูลที่น่าตกใจหลายอย่าง 


โฆษณาขนมเด็กๆ ประเภทลูกกวาด ลูกอม ขนมกรุบๆ กรอบๆ ทางโทรทัศน์ในรายการเด็กๆยอดฮิต เช่น ช่อง 9 การ์ตูน ช่วงเวลาประมาณ 7.00-10.00น. ประมาณ 3 ชั่วโมงนี้ มีการโฆษณาตรง (สปอต 15-30 วินาที) มากกว่า 100 ครั้ง ยังไม่นับรวมการโฆษณาแฝงอื่นๆ อีก (น่าจะเกิน 100 ครั้งเช่นกัน)


 


ไม่น่าแปลกใจที่ทำไมเด็กๆ จำโฆษณาสินค้าต่างๆได้ดีกว่าจำ ก.ไก่ ข.ไข่ และเรียกหาขนมต่างๆ มากกว่าอาหารดี มีประโยชน์


 



 


 


เด็กไทยใช้เงิน (พ่อแม่ให้) ในการซื้อขนมโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ปีละ 161,580,000,000 บาท (หนึ่งแสนหกหมื่นหนึ่งพันห้าร้อยแปดสิบล้านบาท !!!! )  เท่ากับคนละประมาณ 9,800 บาท ต่อคน ต่อปี หรือเดือนละ 800 บาทต่อคน ซึ่งมากกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาถึง 3 เท่า !!!!!


 


ลองมาดูตารางเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของเด็กไทยวัยประถมว่าใช้จ่ายเงินกันอย่างไร


ตารางที่ 1 หมวดที่ใช้จ่ายค่าขนม 29 บาท ของเด็กประถมศึกษา


 





























จำนวนเงิน (บาท)


ร้อยละ 


มูลค่าต่อปี (ล้านบาท)


1. ค่าขนม และของเล่น   


44.83   


 142,357


2. ค่าอาหาร, การเรียน ค่ารถ  


24.13 


76,625 


3. เก็บออม  


24.13


76,625


4. เผื่อไว้ใช้ต่อ


6.91 


 21,943


รวม


 100 


317,550


                                               ข้อมูลจาก www.samefamily.net


 


ค่าใช้จ่ายการโฆษณาขนมต่างๆ ทั่วโลก ในช่วงปี 2580-2547 เพิ่มจาก US$ 216 พันล้าน เป็น US$ 512 พันล้าน หรือเพิ่มขึ้น 2.37 เท่า สำหรับประเทศไทย ช่วงปี 2542-2547 ตลาดขนมไทยโตขึ้น 35.7%


 


เด็กไทยประสบปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้น เช่น โรคฟันผุ จากการสำรวจสุขภาพช่องปากเด็ก อายุ 5-6 ปี ในช่วงพ.ศ. 2527-2544 พบเด็กฟันผุเพิ่มขึ้น จาก 4.9 ซี่ ต่อคน เป็น 6 ซี่ ต่อคน พบเด็ก วัย 3 ขวบ ฟันผุ 65.7% นอกจากโรคฟันผุ ยังพบโรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร (ทานแต่ขนม ไม่ทายข้าว) และโรคเรื่อรังอื่นๆเช่น ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสาเหตุที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือขนม!!!


 


การประชุมองค์การอนามัยโลก WHO ปีล่าสุดลงมติว่า "โฆษณา" คือสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กๆ บริโภคขนมหวาน


 



 


ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น??? โฆษณาเป็นผู้ร้ายอีกแล้ว !!!


โฆษณาคือการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อให้เกิดความอยากซื้อสินค้า


ถ้าสื่อสารกับคน (ผู้ใหญ่) ที่รู้ว่าโฆษณามีจุดมุ่งหมายอย่างไร ก็ไม่เป็นไร เพราะจะเปิดรับรับโฆษณาอย่างมีวิจารณญาณ คิด วิเคราะห์ก่อนตัดสินใจซื้อ


แต่ถ้าสื่อสารกับเด็กๆ ล่ะ ?? เด็กๆ จะเปิดรับรับโฆษณาอย่างมีวิจารณญาณ คิด วิเคราะห์ก่อนตัดสินใจซื้อเหมือนผู้ใหญ่หรือเปล่า


คำตอบคือ ไม่


 


เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ จะไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ในโทรทัศน์มีข้อมูล 2 ประเภท คือข้อมูลข่าวสารความบันเทิงทั่วไป และข้อมูลเพื่อการโน้มน้าวใจอย่างโฆษณา เด็กๆ วัยนี้จะคิดว่าสิ่งที่เขาดูในโทรทัศน์ทั้งหมดคือข้อมูลข่าวสารความบันเทิงทั่วไป ดังนั้น เมื่อเห็นพี่หมีพูว์มาแนะนำบะหมี่ พี่ปังปอนด์มาชวนคี้ยวคูก้า ฯลฯ เขาก็คิดว่าคือข่าวสารอย่างหนึ่ง ที่น่าทำตาม แล้วมันยุติธรรมแล้วหรือ ???


 


ส่วนเด็กวัย 5-12 ขวบ พวกเขายังไม่เท่าทันกลยุทธ์การจูงใจของโฆษณาเท่าใดนัก ซึ่งเทคนิคการจูงใจของการโฆษณาก็มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะใช้ตัวการ์ตูนที่เด็กๆ ชอบ ดารานักร้องขวัญใจ การแสดงว่ากินขนมแล้วเก่ง เป็นฮีโร่ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ การเร่งให้ซื้อด้วยการส่งเสริมการขาย ลด แลก แจกแถม ฯลฯ


 


แล้วรู้อย่างนี้ บ้านเมืองเราไม่มีการกำกับควบคุมกันหรืออย่างไร ไว้ติดตาม ตอน 2 ค่ะ